++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ผลการใช้ปัญหาปลายเปิดพัฒนาเมตาคอกนิชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

The Effects of Using Open – Ended Problems to Develop Metacognition for Mathayomsuksa III Students

แสงจันทร์ พิชญานุรัตน์ (Saengjan Pitchayanurat)*

ดร. ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข (Dr. Thanomwan Prasertchareonsuk)**

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการใช้ปัญหาปลายเปิดพัฒนาเมตาคอกนิชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เลือกเรียนวิชาเพิ่มเติมคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาวะถีพิทยาสรรพ์ ตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต1 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยมี 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเมตาคอกนิชันโดยการฝึกแก้โจทย์ปัญหาปลายเปิดวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 6 แผนการจัดการเรียนรู้ 16 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติคือ แบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียน แบบบันทึกพฤติกรรมการสอนของครูและแบบทดสอบวัดเมตาคอกนิชันท้ายวงจร 3) เครื่องมือในการประเมินผลการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดเมตาคอกนิชันและแบบวัดเมตาคอกนิชัน ที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.89 และ 0.96 ตามลำดับ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 วงจรปฏิบัติ ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เพิ่มเติมคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเมตาคอกนิชันโดยการฝึกแก้โจทย์ปัญหาปลายเปิดวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นสอน 3 ขั้น คือ 1) ขั้นวางแผนแก้ปัญหา 2) ขั้นกำกับและตรวจสอบการแก้ปัญหา และ 3) ขั้นการประเมินการแก้ปัญหา

ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนร้อยละ 80.95 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีผลการทดสอบวัดเมตาคอกนิชัน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม และผลการวัดเมตาคอกนิชันของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 2.96 แสดงว่านักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับเมตาคอกนิชันในระดับดี

ABSTRACT

The purpose of this action research was to develop Mathayom Suksa III students’ metacognition by means of organizing open-ended problem solving activities.

The target group was consisted of 21 grade-9 students who enrolled in the supplementary mathematics course in Sawathee Pittayason School during the first semester of the 2006 school year. The school is under the Office of Khon Kaen Educational Service Area 1. Three types of tools were used for the study, 1) the experimental tool which was consisted of 6 lesson plans on the topic of “The Surface Area and Volume” which covered mainly open-ended problems solving activities and took 16 teaching hours to finish, 2) the reflection tool which was consisted of a teacher’s teaching behavior observation form, a students’ studying behavior observation form, and an end-of-spiral quiz on the students’ metacognition, and 3) the evaluation tool which was a test on metacognition which had reliabilities of 0.86 and 0.96, respectively.

The research comprised 3 action spirals in which the 6 lesson plans were put into use. The instruction was conducted in 3 steps, i.e. the first step of planning for problem solving, the second step of supervising and verifying problem solving, and the third step of evaluating problem solving.

The results showed that 80.95% of the students passed the metacognition test criterion of 50% of the full marks. They also made a mean score of 2.96 on the test which showed that the students had experienced a “good” level of metacognition practice.


* นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น