++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ยุทธศาสตร์พัฒนาสองข้างทางรถไฟ

โดย สิริอัญญา    
หลังจากบทความเรื่อง “ยุทธศาสตร์รถไฟ…ปรับยุทธศาสตร์ประเทศ” ได้ลงตีพิมพ์ไปแล้วได้ก่อให้เกิดความคิดเห็นจำนวนมากในทางสร้างสรรค์ อันจะเป็นประกายความคิดให้แก่การพัฒนากิจการรถไฟของประเทศไทยให้เป็นไปตามพร ะราชประสงค์และพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      
       ดังนั้นในวันนี้จะขอชูธงชัยแห่งพระบรมราโชบายของพระมหาราชเจ้าพระองค ์นั้นเพื่อเป็นแนวคิดในการพัฒนาฟื้นฟูการรถไฟของประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรือง และอำนวยประโยชน์สุขแก่พี่น้องผองไทยต่อไป
      
       ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่าขณะนี้จีนซึ่งเหมาเจ๋อตงอดีตประธานพรรคคอมมิวนิ สต์แห่งประเทศจีนได้ประกาศยุทธศาสตร์รถไฟหลังรัชสมัยของพระองค์ท่านเกือบร้อ ยปี ได้พัฒนาการรถไฟไปถึงระยะที่ 7 ที่มีความเร็วเฉลี่ย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีโครงการนำร่องที่เดินรถไฟด้วยความเร็วสูงระดับ 450 กิโลเมตรต่อชั่วโมงไปหลายสาย ทั้งได้ปรับสองข้างทางรถไฟให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของแต่ละเมืองจนเลื่องช ื่อลือชาไปทั่วโลกแล้ว
      
       ในขณะที่ประเทศไทยของเรา กิจการรถไฟยังถอยหลังอย่างไม่หยุดยั้ง จนทำให้ความเร็วมาตรฐานระดับ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในครั้งกระโน้น ต่ำต้อยถอยลงเหลือแค่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสองข้างทางรถไฟก็ชำรุดทรุดโทรม ยกเว้นแต่ที่ดินบางแปลงที่แย่งชิงฉ้อฉลหาประโยชน์ตนกันอึกทึกครึกโครม
      
       จ ึงถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล ชาวการรถไฟฯ ทั่วทั้งประเทศ ตลอดจนพี่น้องผองไทยจะได้ร่วมใจกันคิดอ่านผลักดันให้มีการฟื้นฟูพัฒนาการรถไ ฟครั้งใหญ่ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ประเทศไทยในอนาคตด้วย
      
       วันก่อนได้นำเสนอเบื้องต้นเพื่อให้สืบสานพระบรมราชปณิธานของล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ 5 ให้รัฐบาลประกาศนโยบายกำหนดให้รถไฟเป็นหลักในการคมนาคมทางบก ให้สร้างรถไฟรางคู่ในระบบสแตนดาร์ดเกตขยายเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปทั่วทุกภาค เพื่อลดรายจ่ายพลังงานที่สูงเป็นลำดับหนึ่งของรายจ่ายของชาติลง และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน ตลอดจนเชื่อมโยงราชอาณาจักรนี้ให้ไปมาหาสู่ถึงกันได้โดยสะดวกและทั่วถึง
      
       แ ละในยามนี้ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะดำเนินการดังกล่าวโดยจำเริญรอยตามพระบรมราโ ชบายของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพยายามไม่ใช้การลงทุนโดยตรงของรัฐ แต่จะใช้วิธีการให้สัมปทานแทน ก็จะก่อให้เกิดการลงทุนและเกิดการจ้างงานอย่างขนานใหญ่ทั่วประเทศ อันจะมีผลต่อการรับมือกับวิกฤตทางเศรษฐกิจของโลกที่มีผลกระทบต่อไทยในครั้งน ี้ด้วย
      
       วันนี้จะกล่าวถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาสองข้างทางรถไฟ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่อยู่ในคลองพระเนตรของพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นมาแต่ครั้งกร ะโน้นแล้ว และทรงจัดแจงเผื่อการข้างหน้ามาถึงวันนี้ด้วยแล้ว นั่นคือการพระราชทานที่ดินสองข้างทางรถไฟข้างละ 10-40 เส้น เพื่อเตรียมการขยายให้เป็นรางคู่ การจัดตั้งสถานีให้เป็นศูนย์กลางการค้าการพาณิชย์ของแต่ละเมือง การจัดตั้งสถานีขนถ่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทั่วถึงทั้งประเทศ ตลอดจนการพัฒนาที่ดินสองข้างทางรถไฟที่สอดคล้องกับสภาพทำเลและภูมิประเทศ
      
       พระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นได้จัดแจงเตรียมการทั้งปวงไว้พร้อมหมดแล้ว เหลือไว้แต่คนรุ่นหลังจะได้สืบสานพระบรมราชปณิธานให้เป็นจริงและสอดคล้องกับ สภาวการณ์เพื่ออำนวยประโยชน์สุขให้แก่พสกนิกรซึ่งเป็นลูกหลานของพระองค์ท่าน เท่านั้น
      
       เรามาดูกันว่าในปัจจุบันนี้เขาพัฒนาสองข้างทางรถไฟกันอย่างไร ก็ขอยกตัวอย่างจากประเทศจีน ซึ่งมีความเป็นเอกในด้านกิจการรถไฟในโลกมาเป็นตัวอย่าง
      
       เรื่องแรก เป็นเรื่องการปรับสถานีรถไฟให้เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ของแต่ละเมืองที่รถไฟผ่าน
      
       ในอดีตสถานีรถไฟเป็นแค่สถานีขายตั๋วรถไฟ และเป็นสถานีขึ้น-ลงของผู้โดยสาร และอาจมีจุดขนถ่ายสินค้าบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้ผู้คนแบกหาม ทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และเสียแรงงาน ตลอดจนทำให้ต้นทุนสูง ทำให้ผู้คนหันไปนิยมใช้รถสิบล้อในการขนส่งแทน ซึ่งเพิ่มภาระและปัญหามหาศาลให้กับชาติบ้านเมือง
      
       ปัจจุบันนี้สถานีรถไฟหมดสภาพที่ว่านั้นไปนานแล้ว ได้กลายเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ขนาดใหญ่ของแต่ละเมือง และประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สมบูรณ์แบบ
      
       ตัวสถานีจะมีอาคารสถานที่เหมือนกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ โดยมีรถไฟวิ่งผ่านด้านข้างหรือตรงกลาง มีห้องขายตั๋วโดยสาร มีจุดคนขึ้น-ลงแบบเดียวกับรถไฟใต้ดินในฮ่องกง ผู้โดยสารลงแล้วหากประสงค์จะชอปปิ้งก็จับจ่ายใช้สอยสินค้าในห้างสรรพสินค้าภ ายในสถานีได้ตามใจ หากไม่ประสงค์จะชอปปิ้งก็เดินลงอีกชั้นหนึ่งไปยังที่จอดรถหรือที่รับส่งผู้โ ดยสาร
      
       ภายในศูนย์กลางการพาณิชย์นี้จะมีมุมแสดงสินค้าที่ผลิตของเมืองนั้นๆ เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยว ตลอดจนชาวต่างประเทศได้เยี่ยมชมผลผลิตของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งสะดวกต่อการนำเข้า-ส่งออก หรือการซื้อส่งขายส่ง กลายเป็นศูนย์แสดงสินค้าประจำของแต่ละเมือง เท่ากับเปิดตลาดสินค้าท้องถิ่นออกสู่ทั่วประเทศและทั่วโลก และยังมีศูนย์อาหารขนาดใหญ่ที่เพียงพอรองรับผู้คนทั้งหลาย รวมทั้งมีร้านค้าเต็มไปหมด และยังรวมไปถึงสำนักงานการท่องเที่ยว สาขาธนาคาร และอื่นๆ อีกมากมาย
      
       ถ ัดออกไปจากศูนย์กลางการพาณิชย์อันเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟก็จะเป็นสถานีขนถ่ายส ินค้า ซึ่งมีทั้งคลังสินค้าประจำท้องถิ่น มีเครื่องมืออุปกรณ์ทันสมัยในการขนถ่าย ไม่ต้องใช้แรงงานคนแบกหามอีกต่อไป อุปกรณ์เครื่องมือในการขนถ่ายก็คล้ายๆ กับอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าทางเรือ เป็นแต่มีขนาดเล็กกว่า และมีขนาดตู้คอนเทนเนอร์ที่เล็กกว่าแต่จะพอดีกับโบกี้ขนส่งรถไฟ ซึ่งประมาณว่าสองคอนเทนเนอร์รถไฟจะเท่ากับหนึ่งคอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งทา งเรือ
      
       เรื่องที่สอง เป็นส่วนคลังสินค้า มีทั้งคลังสินค้าผลิตผลทางการเกษตรที่รอการขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายไปยังเมื องอื่น และคลังสินค้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับส่งไปขายต่างเมืองหรือส่งออกอีกด้วย
      
       เรื่องที่สาม เป็นส่วนของการท่องเที่ยว ซึ่งมีการก่อสร้างโรงแรมชั้นดี บ้างก็ห้าดาว บ้างก็สี่ดาว บางแห่งก็ตั้งอยู่ในศูนย์กลางการพาณิชย์ บางแห่งก็แยกส่วนตั้งต่างหาก
      
       เรื่องที่สี่ เป็นเรื่องการบริหารจัดการที่ดินสองข้างทางรถไฟ ซึ่งบริหารจัดการโดยสอดคล้องกับสภาพทำเลและภูมิประเทศของที่ดินสองข้างทางรถ ไฟนั้นอย่างสอดคล้องกลมกลืนและก่อเกิดประโยชน์อย่างสมบูรณ์
      
       ลักษณะแรก จัดทำเป็นศูนย์อาหารหรือไนท์บาซาร์เพื่อให้เกิดการค้าขายในท้องถิ่นต่างๆ เรียกว่าเปิดถนนคนเดินหรือตลาดประชาชน สำหรับประชาชนใช้จับจ่ายใช้สอยในราคาประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าสถานที่รา คาแพง มีทั้งสินค้าและอาหาร ตลอดจนผลิตผลท้องถิ่น
      
       ลักษณะที่สอง จัดทำเป็นสวนสนุกหรือสถานที่ออกกำลังกาย หรือสถานที่เลี้ยงเด็ก หรือสถานที่พักผ่อนของคนชรา โดยมีระบบป้องกันแยกส่วนไม่ให้เกิดอันตรายจากการเดินรถไฟ
      
       ลักษณะที่สาม การปลูกพืชผลและพันธุ์ไม้ตามสภาพของท้องที่และสภาพภูมิอากาศ
      
       พื้นที่ใดเป็นเขตท่องเที่ยวหรือเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวก็จะปลูกไม้ดอก ที่เต็มไปด้วยสีสันต่างๆ สองข้างทางรถไฟ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปชม มีความสวยสดงดงามราวกับแดนสวรรค์
      
       พื้นที่ใดปลูกไม้ผลก็ให้ปลูกไม้ผลเป็นรายได้ของชุมชนในท้องถิ่นหรือว ิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น และปลูกตามสภาพความจริงที่เหมาะสมกับพืชพันธุ์นั้นๆ บางพื้นที่ปลูกแอปเปิ้ล ปลูกลูกพลับ ปลูกส้มและอะไรต่อมิอะไร จนสองข้างทางรถไฟกลายเป็นแหล่งผลิตผลไม้ชั้นยอด ที่เป็นพื้นฐานในการส่งเข้าโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรของท้องถิ่นได้อย่ างเพียงพอ
      
       พื้นที่ใดปลูกไม้ทางเศรษฐกิจก็ปลูกเป็นป่าไม้เขียวชอุ่มครึ้มไปทั้งส องข้างทางรถไฟโดยให้ชุมชนเป็นผู้ปลูก และแบ่งผลประโยชน์ให้กับการรถไฟ เพราะเมื่อครบกำหนดระยะเวลาก็สามารถขายไม้สำหรับทำกิจการต่างๆ ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ กลายเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรที่มีคุณค่า
      
       ด้วยลักษณะเหล่านี้ สองข้างทางรถไฟของเขาจึงเป็นเงินเป็นทองเป็นแหล่งผลิตเป็นแหล่งรายได้ของประ ชาชน และก่อให้เกิดความสะดวก ความสวยงาม ไม่รกร้างว่างเปล่าและชำรุดทรุดโทรมเหมือนกับที่เป็นอยู่ในบ้านเรา
      
       มาพิจารณายุทธศาสตร์พัฒนาสองข้างทางรถไฟกันบ้างก็ท่าจะดี!

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000004759

1 ความคิดเห็น: