++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ศรีสะเกษแหล่งผลิตใหญ่จัด “เทศกาลหอมแดง”-ช่วยเกษตรกรกระตุ้น ศก.ท้องถิ่น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   

ศรีสะเกษ - อำเภอวังหิน ศรีสะเกษ แหล่งผลิตหอมแดงใหญ่สุดของไทย จับมือท้องถิ่น-เกษตรกร จัดงาน “เทศกาลหอมแดง” เพื่อส่งเสริมการผลิต และช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในด้านการตลาดและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น
      
       วานนี้ (31 ม.ค.) ที่วัดบ้านขุมคำ ต.บุสูง อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ นายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธาน งาน เทศกาลหอมแดงอำเภอวังหิน ครั้งที่ 22 ประจำปี 2552 ซึ่ง อำเภอวังหิน นำโดย นายฉัทธนาตย์ เทียนขาว นายอำเภอวังหิน ร่วมกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเกษตรกรชาวอำเภอวังหินผู้ปลูกหอมแดง จัดขึ้น เพื่อส่งเสริมการผลิต ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงด้านการตลาดในภาวะหอมแดงราคาตกต่ำ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น
      
       ทั้งนี้ ศรีสะเกษ เป็นจังหวัดแหล่งผลิตหอมแดงใหญ่ที่สุดของประเทศ และอำเภอวังหิน ถือเป็นอีกหนึ่งอำเภอของ จ.ศรีสะเกษ ที่มีการผลิตหอมแดง พริก กระเทียม มะเขือ คุณภาพ มีพื้นที่ปลูกหอมแดง ทั้งอำเภอ ประมาณ 2,322 ไร่ มีผลผลิตรวมไม่ต่ำกว่า 1,000 ตัน ต่อปีทำรายได้ให้กับเกษตรกรปีละหลายล้านบาท ส่งจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะหอมแดงอำเภอวังหิน มีคุณภาพสามารถเก็บไว้ได้นาน และมีลักษณะเด่น คือ “ใหญ่ แห้ง แดง มัน และ คอเล็ก”
      
       นายฉัทธนาตย์ เทียนขาว นายอำเภอวังหิน กล่าวว่า เดิมทีการผลิตหอมแดงของเกษตรกรในอำเภอวังหิน ผลิตไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน และได้พัฒนามาเป็นผลิตเพื่อการค้า ตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา แต่ก็มีปัญหาด้านการตลาด เกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาได้ด้วยตัวเอง ถูกพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ ทำให้เกษตรกรขาดทุนมาตลอด แต่เกษตรกรก็ผลิตหอมแดงทุกปี โดยปลูกพืชอื่น เพิ่มเติม เช่น พริก กระเทียม จนมีการพัฒนาพันธุ์หอมแดง และวิธีการผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตหอมแดงได้หัวใหญ่ตามที่ตลาดต้องการ โดยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยชีวภาพ ในการผลิต
      
       ในปี 2530-2532 หอมแดง จ.ศรีสะเกษ ประสบวิกฤตอย่างหนัก มีการเดินขบวนไปยังหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ นำหอมแดงมาเผา เนื่องจากไม่มีพ่อค้ารับซื้อ ทำให้หอมแดงเน่าเสียเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกษตรกรชาวอำเภอวังหินก็ได้รับผลกระทบด้วย ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงได้รวมกลุ่มกันในรูปแบบของสหกรณ์ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี ทำให้สามารถกำหนดราคาหอมแดงได้เองมากขึ้น
      
       ดังนั้น จึงได้มีมติร่วมกัน ให้มีการจัดงานเทศกาลหอมแดงขึ้นในปี 2531 เป็นต้นมา และได้รับความสนใจจาก พ่อค้าจากต่างประเทศ และในประเทศ มาดูงานหอมแดง และเกิดความประทับใจในคุณภาพของหอมแดง ของอำเภอวังหิน เป็นที่ต้องการของตลาด นายฉัทธนาตย์ กล่าว

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000011502

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น