++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

“ร.ร.สอนเล่นเกม” รับมือโจ๋ติดเกม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
       เป็นเวลาหลายปีม าแล้วที่ “ปัญหาเด็กติดเกม” ยังคงเป็นหนามยอกอกของเหล่าผู้ปกครองแทบจะทุกครอบครัว ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาก็ยังไม่อาจหาต้นสายปลายเหตุได้ ซึ่งในช่วงวันเด็กประจำปี 2552 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปนั้น กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และด้วยความร่วมมือกันของภาคเอกชนได้มอบของขวัญชิ้นโตให้แก่เยาวชนโดยการจัด “มหกรรมเด็กเล่นเกม ครั้งที่ 3 (Thailand Game Show 2009)” ขึ้น โดยงานที่จัดขึ้นนี้หลายฝ่ายต่างหวังให้เป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์สำหรับปัญหาสำคัญที่เกิดกับเยาวชน
      

   

      
#        เข้าใจเกมสิ่งที่ผู้ปกครองควรมี

      
       ทั้งนี้ หากมองไปที่สถานการณ์เรื่องเด็กติดเกมนั้น ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการกลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ให้ข้อมูลไว้ว่า ตอนนี้สิ่งที่พบคือผู้ปกครองยังไม่เข้าใจเรื่องคอมพิวเตอร์ และตัวเด็กเองไม่ได้เล่นเพื่อการพัฒนาสมอง หรือเพื่อการบันเทิง นี่จึงเป็นที่มาที่ทำให้เด็กไทย และผู้ปกครองไม่สามารถเดินไปด้วยกันได้ ซึ่งเด็กเล่นเกมต้องมีที่ปรึกษาที่ดี นั่นก็คือพ่อแม่นี่เอง
      
       “ จริงๆ แล้วคนที่สร้างเกมขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ทางด้านการบันเทิง ความเพลิดเพลิน โดยไม่มีเจตนาที่จะต้องการทำให้เด็กมาฆ่ากัน และหากคนดูแลใกล้ชิดอย่างผู้ปกครอง ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดด้านลบทันที ดังนั้น การเปิดพื้นที่สำหรับเรื่องดีๆ ในงานมหกรรมเด็กเล่นเกมที่เกิดขึ้นจึงเหมือนเป็นการเสนอทุกแง่มุมของเกม ทั้งยังมีการนำเกมฝีมือคนไทยมาโชว์ ก็หวังให้เป็นการสร้างแรงบันดารใจให้เด็กเล่นเกมเพื่อที่อนาคตพวกเขาเหล่านี ้อาจได้ก้าวขึ้นไปเป็นโปรแกรมเมอร์นำเกมมาพัฒนาในสิ่งที่ดีๆ ได้” ผอ.กลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมแจง

อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์
   
       เช่นเดียวกับ อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์ จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลเช่นเดียวกันว่า ที่เห็นได้ชัดว่าเด็กติดเกมคือจากจำนวนชั่วโมงในการเล่นเกมแต่ละครั้งในเชิง ปริมาณจะพบว่า เด็กมีการเล่นในปริมาณที่สูงขึ้นโดยแต่ละวันจาก 2 ชั่วโมง เป็น 3 ชั่วโมง และหากเฉลี่ยทางการแพทย์แล้วก็จะเห็นว่าเป็นภาวะของการติดเกม แต่ขณะเดียวกันก็ต้องดูด้วยว่าเด็กสูญเสียการควบคุม การทำงานอื่นๆ ด้วยหรือไม่ และสถานการณ์ที่ต้องดู ณ ตอนนี้ คือ 1.เด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเล่นเกมมากน้อยแค่ไหน 2.เด็กเลียนแบบพฤติกรรมจากเกมมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่น่าห่วง และน่าจับตาอย่างยิ่ง
      
      
#         “ร.ร.สอนเล่นเกม” สร้างความเข้าใจภายในครอบครัว

      
       แน่นอนว่า นอกจากภายในงานจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ในการสร้างความเข้าใจในทุกแง่มุมเกี่ยว กับเกมระหว่างเด็กและผู้ปกครองแล้วนั้น ยังมีการเปิดหลักสูตร “โรงเรียนสอนเล่นเกม Game School Eureka” ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในไทยอีกด้วย

   
ศักดิ์ศิริ จามพันธุ์
       ในส่วนรายละเอียดของโรงเรียนสอนเล่นเกมนั้น ศักดิ์ศิริ จามพันธุ์ ผู้พัฒนาหลักสูตรโรงเรียนสอนเล่นเกม Game School Eureka อธิบายว่า ภาพรวมของหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ผ ู้ปกครอง เด็ก และนักพัฒนาเกม โดยในความเป็นจริงแล้วผู้ปกครองต้องเข้าใจเด็ก ตัวเด็กเองต้องเข้าใจเกม และพัฒนาตัวเองไปสู่นักพัฒนาเกมที่ดี ส่วนนักพัฒนาเกมเองก็ต้องรู้ว่าผู้ปกครองต้องการอะไร แต่ตอนนี้ทั้ง 3 ส่วนไม่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งหัวใจของหลักสูตรคือต้องทำให้ 3 ส่วนนี้มาเชื่อมกันให้ได้
      
       สำหรับหลักสูตรนั้นจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองเป ็นส่วนใหญ่ การที่จะทำให้เด็กเข้าใจเกม และ ทำให้นักพัฒนาเกมเข้าใจผู้ปกครองนั้นเป็นเรื่อง่าย แต่การทำให้ผู้ปกครองเข้าใจเด็กเป็นเรื่องที่ยากมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ปกครองไม่พยายามทำความเข้าใจ อ้างว่าเกินวัยที่จะต้องเข้าใจเรื่องเกม ซึ่งตรงนี้จะนำมาสู่ปัญหา
      
       ศักดิ์ศิริ บอกอีกว่า ตลอดช่วงของงานมหกรรมเด็กเล่นเกมนั้นในส่วนของพื้นที่โรงเรียนสอนเล่นเกมได้ รับความสนใจมากเป็นพิเศษ ที่มีผู้ปกครองจูงมือลูกเข้ามาร่วมฟังบรรยายเป็นจำนวนมาก ซึ่งแ ต่เดิมภายในหลักสูตรมีการแบ่งแยกห้องในการบรรยายอย่างชัดเจน กล่าวคือ 1.ห้องของผู้ปกครอง จะเน้นไปที่เรื่องของ การทำความเข้าใจเกมออนไลน์, ข้อดีและข้อเสียของเกมประเภทต่างๆ, การดูแลและการแก้ปัญหาของเด็กติดเกมแต่ละประเภท 2.ห้องของเด็ก จะเน้นการแนะนำวิธีเล่นเกมอย่างไรถึงจะเรียกว่าเล่นเกมเป็น วิธีการแบ่งเวลาเล่นเกมอย่างมืออาชีพ, ช่วยเพื่อนเล่นอย่างถูกวิธี, การอยู่ร่วมกันในสังคมเกมอย่างมีความสุข, เกมเมอร์รุ่นพี่สู่เกมเมอร์รุ่นน้อง ที่เข้ามาแนะนำแนวทางถึงอาชีพของคนเกมสำหรับการต่อยอดในอนาคต และ 3.ห้องของนักพัฒนาเกม จะเน้นในเรื่องการเริ่มต้นสร้างเกม, การคิดสร้างเกมอย่างนักพัฒนามืออาชีพ, ตัวอย่างการสร้างเกมที่ประสบความสำเร็จ โดยแต่ละห้องนั้นใช้เวลาบรรยาย 1 ชั่วโมง 30 นาที
      
       แต่ความจริงแล้วกลับไม่เป็นไปตามที่คาด เนื่องจากทั้งพ่อ แม่ ลูก และผู้ประกอบการ ผู้พัฒนาเกม กลับมานั่งฟังในห้องเดียวกันอย่างสนใจ ซึ่งนี่เองก็ถือเป็นอีกมิติใหม่ที่ทุกคนต่างก็เห็นว่าเรื่องเด็กติดเกมไม่ใช ่เพียงแค่ปัญหาเล็กๆ อีกต่อไป แต่ทุกคนต่างต้องการที่จะร่วมมือกันทุเลาปัญหาดังกล่าวนี้ ทำให้ต้องมีการปรับในส่วนของเนื้อหา มีการยกตัวอย่างที่ง่ายต่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ใช้ภาษาง่ายเพื่อความเข้าแก่ผู้ปกครอง

       ผู้พัฒนาหลักสูตรฯ เล่าต่อว่า คำถามยอดฮิตที่เกิดขึ้นระหว่างการบรรยายคือ เกมอะไรที่จะเลือกให้ลูกเล่น? ซึ่งคำแนะนำที่ดีที่สุด ก็คือ ควรเลือกจากบุคลิกของลูกเอง ให้เหมาะกับเขา ซึ่งตัวผู้ปกครองเองจะเป็นคนรู้ดีที่สุด และอีกคำถามคือ ระยะเวลาในการเล่นเกมของลูกเท่าไหร่ถึงจะพอ? ซ ึ่งคำถามนี้หากเทียบจากผลวิจัยในต่างประเทศก็จะอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 20 นาที แต่สำหรับในไทยอาจเพิ่มเป็น 1 ชั่วโมง 40 นาที แต่ก็ใช่ว่าตัวเลขจะคงที่เสมอไป
      
       “ อยากฝากเป็นข้อสังเกตให้แก่ผู้ปกครองไว้ว่า เมื่อเด็กเล่นเกมใดๆ แล้วยังเกิดการพัฒนา ต่อยอดไปได้เรื่อยๆ เกมให้ความรู้ใหม่ๆ เปลี่ยนบริบทใหม่ๆ สำหรับเขาแล้วเล่นนานเท่าไหร่ก็ไม่ใช่ประเด็นปัญหา แต่หากผู้ปกครองสังเกตพบว่า เด็กเล่นเกมอย่าง ซ้ำแล้ว ซ้ำอีกนานๆ โดยไม่เปลี่ยนหน้าจอเลย เห็นกี่ครั้งก็ยังอยู่ที่หน้าเกมเดิมๆ นี่เองที่เป็นตัวบอกได้ว่าการพัฒนาความรู้ใหม่ของเขาได้สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อเล่นต่อไปก็จะมีแต่ความเครียด กดดัน เมื่อผู้ปกครองเห็นอย่างนี้ก็ต้องให้ลูกพักบ้าง เปลี่ยนเกม เปลี่ยนวิธีการเล่น หรือดึงดูดความสนใจอื่นๆ ให้ลูกออกมาจากเกมนั้นโดยไม่ใช้วิธีการห้าม จะเป็นการดีที่สุด ทั้งนี้การจะทำให้เด็กเชื่อผู้ปกครองได้นั้น ผู้ปกครองเองก็ต้องเข้ามาอยู่ในโลกเดียวกับเขา ก็จะทำให้เขาเชื่อใจ และยอมรับมากขึ้นด้วย” ศักดิ์ศิริ แนะนำ
      
       ถึงตรงนี้ ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า จ ากภาพรวมการจัดหลักสูตรโรงเรียนสอนเล่นเกมแล้วนั้น หากดูจากแบบสอบถามที่ได้รับมาจะพบว่าหลายคนต้องการให้มีการจัดเช่นนี้เกิดขึ ้นอีก บ้างบอกว่า ทำไมประเทศไทยถึงเพิ่งมีหลักสูตรเช่นนี้เกิดขึ้น หลายคนอยากให้มีการผลักดันให้ตั้งเป็นสถาบันสอนเล่นเกม แต่สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเพียงแนวนโยบายของ กระทรวงวัฒนธรรมที่อนาคตอาจจะเกิดขึ้นได้ แต่สิ่งที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ต้องการให้เกิดขึ้นโดยเร็วคือ การขยายงานมหกรรมเด็กเล่นเกม ให้เกิดขึ้นในทั่วทุกภูมิภาค เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัญหาของเด็กในเมืองเป็นอย่างเดียว แต่ได้ลุกลามเป็นปัญหาของเยาวชนทั้งประเทศไปแล้ว

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000006166

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น