++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สอนลูกใช้เงิน “เป็น” ต่างจากใช้เงิน “ได้”

โดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน    
       เ มื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยชิ้นหนึ่งเขียนถึงเรื่องการใช้เ งินของเด็กส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพ่อแม่ โดยเฉพาะคนเป็นแม่มีผลต่อพฤติกรรมของลูกมากที่สุด
      
       ความจริงก็เป็นเรื่องปกติ เพราะลูกมักจะได้รับอิทธิพลการใช้ชีวิตหรือพฤติกรรมมากมายจากบุคคลที่ใกล้ชิ ด และส่วนใหญ่บุคคลที่ใกล้ชิดลูกมากที่สุดก็คือแม่นั่นแหละ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนอื่นๆ ไม่มีส่วนนะคะ แต่อยู่ที่เงื่อนไขและปัจจัยอื่นที่ทำให้เด็กๆ ได้รับอิทธิพลรองลงไป
      
       งานวิจัยที่ว่าเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยสมาคม Skipton Building Society ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 ราย ในการซื้อของใช้ประจำวัน รวมถึงการเลือกซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ พบว่าหลายคนยอมรับว่ามีสไตล์การใช้เงินเหมือนพ่อแม่ โดย 24% บอกว่าได้นิสัยการใช้เงินมาจากแม่ 15% ถอดแบบมาจากพ่อ ส่วนอีก 2% ได้มาจากปู่ย่าตายาย ในขณะที่ 45% ยืนยันว่ามีสไตล์การใช้เงินเป็นของตัวเอง

 จากสถิติดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่าผู้เป็นแม่มีอิทธิพลต่อลูกในเรื่องการใช้จ่ายมากที่สุด
      
       ดร. ลิซ มิตเชลล์ นักจิตวิทยา กล่าวว่าพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นต้นแบบสำคัญในการพัฒนานิสัยและพฤติกรรมในด้านต่างๆ ของเด็ก
      
       “เมื่อเป็นเด็กเล็ก พวกเขาจะค่อยๆ เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากพ่อแม่ และนำไปสู่การพัฒนานิสัยและพฤติกรรมในด้านต่างๆ ซึ่งจะแสดงออกมาเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว”
      
       เ รื่องการใช้เงินกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในยุคนี้ไปซะแล้ว เรียกว่าตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมา เราก็ต้องเผชิญกับการใช้เงินทั้งการเดินทาง อาหารในแต่ละมื้อ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายซื้อของใช้อย่างอื่นทั้งที่จำเป็น และเพื่อความสวยงามอื่นๆ อีกต่างหาก เรียกว่าค่าใช้จ่ายจิปาถะเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ ตามความจำเป็นของแต่ละคน
      
       ย ิ่งครอบครัวที่มีลูก ค่าใช้จ่ายจะงอกเพิ่มพูนชนิดตั้งตัวไม่ทันเหมือนกันถ้าไม่รับมือให้ดี เพราะค่าใช้จ่ายจะเพิ่มตามอายุลูกที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ
      
       และสำหรับคนเป็นพ่อแม่ โปรดอย่าลืมว่าการใช้เงินของคุณในแต่ละวันนี่แหละ ที่อยู่ในสายตาของลูก และซึมซับเข้าไปในตัวลูกโดยไม่รู้ตัว
      
       เรื่องสอนลูกให้ใช้เงินเป็น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
      
       ความจริงเรื่องพฤติกรรมการใช้เงินของดิฉันเอง ก็ไม่ได้หนักใจ เพราะส่วนตัวเป็นคนระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย และไม่ค่อยซื้อของที่ไม่จำเป็น เรียกว่าคนในครอบครัวรู้อยู่ และลูกเองก็รู้ดี ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่แม่จะยอมซื้อของที่ไม่จำเป็น
      
       แต่ดิฉันเองก็กังวลเรื่องการใช้เงินของลูกเหมือนกัน เพราะไม่เคยให้เงินลูกไปโรงเรียน เนื่องเพราะเมื่อครั้งที่เขาอยู่ระดับอนุบาล โรงเรียนก็มีอาหารกลางวัน อาหารว่างอยู่แล้ว และโรงเรียนที่เจ้าจอมซนอยู่ก็ไม่มีนโยบายขายขนมในโรงเรียนให้พ่อแม่ได้ปวดก ระดองใจ ก็เลยไม่เป็นปัญหา จนกระทั่งเขาอยู่ระดับประถมต้น ก็ยังไม่ได้ให้เงินเขาไปโรงเรียนอยู่ดี เพราะพ่อแม่ก็ไปรับไปส่งอยู่แล้ว หลังโรงเรียนเลิก ถ้าเขาหิว พ่อแม่ก็แวะซื้ออาหารให้รองท้องก่อนถึงบ้าน ทำให้เจ้าจอมซนทั้งสองไม่มีโอกาสได้ใช้เงิน
      
       ยังจำได้ว่า ตอนวัยประถมต้นเขาทั้งสองก็เริ่มเรียกร้องที่จะขอเงินไปโรงเรียนบ้าง เพราะเห็นว่าเพื่อนบางคนได้เงินไปโรงเรียน แต่พออธิบายให้เขาได้รู้ด้วยเหตุและผล ก็ไม่มีปัญหา จนถึงทุกวันนี้เขาก็ยังไม่ได้เงินไปโรงเรียนแม้จะอยู่ประถมปลายในโรงเรียนแห ่งใหม่ เพราะโรงเรียนของเขาก็มีอาหารกลางวัน และอาหารว่าง เหมือนโรงเรียนเดิม และนโยบายโรงเรียนก็ไม่มีขนมขบเคี้ยวอื่นๆ ไว้ล่อตาล่อใจเด็กๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนเป็นพ่อแม่ส่วนใหญ่ก็ชื่นชอบและเห็นด้วย เพราะก็รู้กันอยู่ว่าบรรดาขนมขบเคี้ยวทั้งหลายเป็นภัยต่อเด็กๆ อย่างไร
      
       คำถามที่ตามมา จากบรรดาเพื่อนๆ คุณแม่ด้วยกัน ก็คือ เมื่อไม่เคยให้เงินลูกใช้เลย แล้วลูกจะใช้เงินเป็นเหรอ
      
       อ ืมม์...เมื่อครั้งที่เจ้าลูกชายทั้งสองอยู่วัยประถมหนึ่งและประถมสอง เคยไปทัศนศึกษานอกโรงเรียน แล้วคุณครูอนุญาตให้นำเงินติดตัวไปได้คนละ 20 บาท ดิฉันก็ให้ทั้งสองคนพกไว้ แต่ก็ไม่ลืมที่จะบอกว่า ถ้าไม่เจอของถูกใจไม่จำเป็นต้องซื้อก็ได้นะครับ เอากลับมาหยอดกระปุกก็ได้
      
       แหม...อ้อยเข้าปากช้างขนาดนั้น มีหรือที่แม่ให้เงินแล้วจะไม่ใช้...
      
       พอกลับมาบ้าน ทั้งสองคนมาพร้อมหน้ากากคนละอัน ดิฉันก็ซักไซ้ไล่เรียงหมายจะรู้ว่าลูกมีวิธีใช้เงินอย่างไร ปรากฏว่าฟังเจ้าลูกชายเล่าแล้วลมแทบจับ
      
       “คุณแม่ครับ หาซื้อของที่ราคา 20 บาท ไม่มีเลยครับ มีแต่หน้ากากอันนี้ที่ราคา 20 บาทพอดี ก็เลยซื้อมาคนละอัน”
      
       ก็เป็นอันว่าเจ้าลูกชายทั้งสอง เดินหาซื้อของราคาพอดีกับเงินที่พกไป อืมม์...ใช้เงินเก่งจริงๆ ลูกเรา แต่เมื่อย้อนคิดแล้วก็สมควรอยู่ เพราะดิฉันนั่นเองที่ไม่เคยสนใจและใส่ใจเรื่องการใช้เงินของลูกเลย ก็แหม คิดว่าลูกอยู่กับเรา ก็ไม่ต้องใช้เงินอยู่แล้ว พ่อแม่จัดให้
      
       จากนั้นเป็นอันว่า ดิฉันก็เลยต้องใส่ใจเรื่องการใช้เงินของลูก ให้เขาได้เรียนรู้ว่า “ค่าของเงิน” มีความหมายอย่างไร เงินมีความแตกต่างกันอย่างไร และเมื่อซื้อของก็ต้องคิดคำนวณเรื่องเงินทอน เรียกว่าขั้นตอนที่ว่าและบวกลบเลขแล้วล่ะก็ ไม่เป็นปัญหา เด็กไวกว่าที่เราคิด
      
       แต่ที่คิดว่าเป็นปัญหา และต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ ก็คือการสอนให้ลูกใช้เงิน “เป็น” ซึ่งต่างจากการใช้เงิน “ได้”
      
       การใช้เงินเป็น เป็นเรื่องที่ต้องสอนและปลูกฝัง รวมถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กด้วย ทุกวันนี้เด็กส่วนใหญ่ใช้เงินได้ แต่มักใช้เงินไม่เป็น ซึ่งวิธีการใช้เงินเป็น ก็ไม่มีในตำราเรียน ไม่มีสูตรสำเร็จชัดเจนในการบอกว่าต้องใช้วิธีอย่างนี้สิถึงจะคุ้มค่า เพราะความจำเป็นและคุ้มค่าของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
      
       ฉะนั้น การจะสอนให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องการใช้เงินเป็น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ทำให้เห็น เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด โดยใช้จากสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวันของคนเป็นพ่อแม่นี่แหละค่ะ เป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ยิ่งถ้าเขาอยู่ในช่วงวัยเด็ก การเรียนรู้และซึมซับจะเป็นได้มาก
      
       เพราะเมื่อเขาโตขึ้น เขาจะมีวิถีและวิธีการใช้เงินของเขาเงิน แต่อิทธิพลของแบบอย่างยังคงอยู่
      
       สิ่งที่ควรคำนึงและระลึกเสมอก็คือ ทุกขณะที่เราใช้เงิน เรากำลังเป็นบทเรียนให้ลูกอยู่ทุกเมื่อ ส่วนใหญ่ทุกคนรู้ดีอยู่แล้วว่าอะไรควรไม่ควร อะไรจำเป็นหรือไม่จำเป็น และพฤติกรรมการใช้จ่ายของเรา ล้วนแล้วอยู่ในสายตาของลูก และลูกพร้อมที่จะก็อปปี้พฤติกรรมของเรา ฉะนั้น ช่วงเวลาใช้เงินจึงเป็นช่วงเวลาสอนลูกได้เป็นอย่างดี เราอยากให้ลูกของเราใช้เงินเป็นแบบไหน สามารถออกแบบได้ โดยเริ่มจากตัวเราก่อนนั่นแหละค่ะ
      
       ถ ้าสอนให้ลูกเรียนรู้คุณค่าของเงิน คุณค่าของสิ่งของ ที่ไม่ใช่ให้เรียนรู้ค่าของเงินให้รูปแบบมูลค่าอย่างเดียว แต่เน้นเรื่องสำนึกของคุณค่า ก็จะทำให้มีเด็กมีสำนึกในเรื่องอื่นๆ ต่อยอดได้ด้วยค่ะ

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000003743

1 ความคิดเห็น: