++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เมื่อลูกชายอยากรู้เรื่องเพศ

โดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน    
       ใครว่ามีลูกผู้ชายแล้วเบาใจได้..!!
      
       ดิฉันมักจะได้ยินผู้คนพูดเสมอว่า “โชคดีเนอะมีลูกชายสองคน ไม่ต้องห่วงมาก เบาใจได้กว่ามีลูกสาว”
      
       เรียกว่าฟังทุกครั้งก็ไม่ได้ออกความเห็นยินดี หรือโต้เถียงประการใด เพราะรู้ดีอยู่ว่าสุดแท้แต่คนจะมอง เพราะอย่างไรก็ลูกเรา

   
       ตอนนี้เจ้าจอมซนของดิฉันทั้งสองอยู่ในวัยประถมปลาย กำลังเข้าสู่วัยก่อนเข้าสู่วัยรุ่น (Preteen) ครอบครัวของเราเตรียมตัวรับมือด้วยการทำความเข้าใจเรื่องวัยรุ่นกันตามสมควร
      
       นอกเหนือจากความสนใจเรื่องสรีระร่างกาย ทางด้านอารมณ์ ก็คือ เรื่องเพศ
      
       ยิ่งทั้งสองคนอยู่โรงเรียนประจำด้วยแล้ว เรื่องนี้เร็วแน่...!!
      
       ครอบครัวของเราค่อนไปทางใกล้ชิด และคุยกันทุกเรื่อง จนกระทั่งจู่ๆ ไม่นานนี้ เจ้าลูกชายเริ่มมีอาการกระซิบกระซาบกับพ่อ และพูดกับแม่เมื่อถามว่าคุยอะไรกัน
      
       “มันเป็นเรื่องของผู้ชายคุยกันครับ”
      
       ทีแรกแม่ก็เหวอและมึนเหมือนกัน แต่นั่นเท่ากับเขากำลังส่งสัญญาณว่าเขาเริ่มแบ่งเพศ และมีบางเรื่องที่เขาคิดว่าไม่เหมาะที่จะคุยกับแม่
      
       แล้วจะมีเรื่องอะไรไปได้ ถ้าไม่ใช่เรื่องเพศ.. !!
      
       โชคดีที่ครอบครัวของเรา ทำความเข้าใจกันมาก่อนระหว่างพ่อแม่ว่า พ่อต้องเป็นตัวช่วยในการคุยเรื่องเพศกับลูกเมื่อถึงวัย เพราะโดยธรรมชาติเด็กผู้ชายจะเกิดความสงสัยมากมายเกี่ยวกับเพศ และโดยธรรมชาติอีกนั่นแหละ เขาคิดว่าเรื่องนี้ต้องคุยกับพ่อเท่านั้น และไม่กล้าคุยกับแม่
      
       ฉ ะนั้น พ่อต้องทำหน้าที่เป็นเพื่อนและโค้ชในการพูดคุยกับเขาถึงสรีระร่างกาย ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยให้รู้สึกว่าเป็นธรรมชาติ อย่าทำเป็นเรื่องปิดบัง ซ่อนเร้น หรือเป็นเรื่องทะลึ่ง ไม่ยอมพูดถึง หรือบอกลูกว่าเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ ไม่ใช่เรื่องของเด็ก
      
       รับประกันว่า ลูกจะต้องไปหาคำตอบข้างนอกบ้านอย่างแน่นอน
      
       ส่วนคนเป็นแม่ ก็อย่าคิดว่านี่เป็นเรื่องน่ารังเกียจ ตรงกันข้าม ถ้าแม่สามารถพุดคุยกับลูกให้ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ เหมือนคุยเรื่องอื่นๆ ในชีวิต ลูกก็จะไม่รู้สึกขัดเขิน และพร้อมที่จะเล่าให้แม่ฟังด้วยเช่นกัน
      
       ดิฉันเองก็ต้องอาศัยลีลาลูกอ้อนว่า แม่ก็อยากรู้ว่าผู้ชายคุยอะไรกัน เพราะเมื่อก่อนแม่ก็อยู่โรงเรียนผู้หญิงล้วน และก็จูงใจบอกว่าแล้วแม่จะเล่าเรื่องผู้หญิงบ้างว่าเขาคุยอะไรกัน
      
       เมื่อเจ้าจอมซนเห็นแม่อยากรู้จัดล่ะมั้งว่าคุยอะไรกับพ่อ ก็เล่าให้ฟัง แต่ก็พยายามดูท่าทีปฏิกิริยาของแม่ด้วยเหมือนกันว่าเป็นอย่างไร ดิฉันเองก็ตั้งใจฟังด้วยท่าทีปกติ แม้ในใจจะตะลึงตึงๆ แค่ไหน แต่ก็ทำประหนึ่งเป็นเรื่องปกติ โดยมีพ่อคอยให้ความรู้ อบรมสั่งสอน
      
       เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปได้ด้วยดี 2-3 ครั้ง ลูกสามารถเล่าได้โดยไม่ตะขิดตะขวงเขินแม่ หลังจากนั้นเขาก็พูดโดยไม่สนใจว่าจะมีแม่ด้วยหรือไม่ จนท้ายสุดก็กลายเป็นเรื่องเล่าปกติในครอบครัว ที่เขาสามารถพูดได้ทุกเรื่องเหมือนเดิม และแม่ก็เริ่มมีส่วนร่วมในหัวข้อนั้นๆ ได้ด้วย
      
       เรื่องสอนลูกเรื่องเพศ เป็นเรื่องที่ต้องเริ่มจากทัศนคติของคนเป็นพ่อแม่ก่อน ว่า เป็นเรื่องที่ต้องให้ข้อมูลความรู้แก่ลูกตั้งแต่เล็ก อย่าคิดว่าลูกเล็กเกินไป หรือเป็นเรื่องน่ารังเกียจไม่ควรพูด เพราะปัจจุบันต้องยอมรับว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่เด็กเรียนรู้ได้เร็ว และมีสื่อที่เข้าถึงตัวเด็กได้อย่างชนิดที่คนเป็นพ่อแม่ก็คาดไม่ถึงมากมาย

   
       ถ้าคนเป็นพ่อแม่ สามารถทำให้ครอบครัวกลายเป็นแหล่งความรู้ ที่ลูกสามารถค้นหาคำตอบและพูดคุยกับลูกได้ทุกเรื่อง เรื่องเพศก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เขาจะสามารถไว้เนื้อเชื่อใจพ่อแม่
      
       อย่าลืมว่าถ้าลูกออกไปแสวงหาความรู้เรื่องเพศนอกบ้าน คนเป็นพ่อแม่อาจต้องมีบทเรียนราคาแพงตามมาได้
      
       ส่วนเรื่องว่าควรจะให้เรียนรู้ตั้งแต่เมื่อไร เป็นเรื่องที่คนเป็นพ่อแม่ต้องสังเกตความเป็นไปของลูกอย่างใกล้ชิด เพราะเงื่อนไขและปัจจัย รวมถึงการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนเป็นพ่อแม่ต้องรู้ให้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และต้องยอมรับว่าสังคมเปลี่ยนไปแล้วจริงๆ บางเรื่องก็ไม่สามารถใช้มาตรฐานเมื่อครั้งที่ตัวเองเป็นวัยรุ่นมาเป็นบรรทัด ฐานในการรู้เรื่องเพศของรุ่นลูกได้
      
       ยิ่งปัจจุบัน สื่อเป็นสิ่งสำคัญมากที่ทะลักเข้ามาถึงตัวลูกได้ตลอดเวลา สิ่งที่ดีที่สุดคือให้ความรู้ที่ถูกต้องกับลูก เราจะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลัง
      
       ปัญหาเรื่องการสอนลูกเรื่องเพศ ไม่ใช่เฉพาะประเทศเราเท่านั้น
      
       เมื่อเร็วๆ นี้ ที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ได้ทำการสำรวจพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวน 19,000 ครอบครัว เกี่ยวกับทัศนคติในการให้ความรู้เพศศึกษาแก่ลูกๆ พบว่า มีเพียง 2,893 รายเท่านั้น ที่บอกว่ามีการพูดคุยเรื่องนี้กับลูก ทั้งที่พ่อแม่ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้ความรู้เรื่องเพศกับลูกๆ ตั้งแต่ลูกยังเล็ก และพร้อมที่จะพูดคุยเรื่องนี้กับลูก
      
       การสำรวจพบว่าพ่อแม่ที่มีพื้นฐานการศึกษาดี มักจะสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ดี
      
       “ เราพบว่าคนเป็นแม่ราว 60% ที่มีลูกเล็กในวัยประถมมีความพยายามที่จะคุยเรื่องเพศศึกษากับลูก พร้อมที่จะตอบคำถามเมื่อลูกเกิดสงสัยและถามขึ้นมา ซึ่งเป็นแม่ที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีถึง 81%”
      
       เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ เชื่อว่า การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกหลานมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับเพศสัมพัน ธ์ โดยมากกว่า 80% เห็นด้วยว่าควรจะสอนลูกเรื่องคุมกำเนิดก่อนที่พวกเขาจะถึงวัยแต่งงาน และบอกว่าเพศศึกษาสามารถช่วยให้เด็กๆ มีความรับผิดชอบในเรื่องเซ็กส์ และ 75% ไม่เชื่อว่าหากลูกรู้เรื่องเพศศึกษาแล้วจะนำไปสู่การมีกิจกรรมทางเพศมากขึ้น
      
       นอกจากนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยว่าพวกเขาควรจะเป็นครูสอนเรื่องเพศศึกษา คนแรกของลูก โดย 46% บอกว่าเพศศึกษาในครอบครัวควรจะเริ่มต้นเมื่อลูกอยู่ในวัยประถม ขณะที่ 21.6% คิดว่าเมื่อลูกเรียนชั้นมัธยมจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด
      
       ปัญหาของพ่อแม่ชาวจีนก็คล้ายกับบ้านเราแหละค่ะ และเรื่องทัศนคติของพ่อแม่และผู้ใหญ่ในสังคมก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมโลก ที่ผลักให้เด็กออกไปเผชิญโลกอยากรู้ภายนอกลำพัง มีเด็กจำนวนมากที่สามารถเผชิญโลกลำพังผ่านช่วงชีวิตวัยรุ่นไปได้ชนิดหวาดเสี ยวก็มีไม่น้อย แต่ก็มีวัยรุ่นจำนวนมากมิใช่หรือที่เดินหลงทางจนทุกวันนี้
      
       เราจะเลือกให้ลูกของเราเป็นวัยรุ่นแบบไหนอยู่ที่พ่อแม่ค่ะ

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000006763

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น