++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

จังหวะก้าวของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในภารกิจ "ดับไฟใต้"

จังหวะก้าวของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในภารกิจ "ดับไฟใต้" นับว่าน่าตื่นตาตื่นใจสมราคาที่แฟนๆ รอคอย...

เ ริ่มจากการประกาศเข็นกฎหมายจัดตั้งองค์กรใหม่ที่ชื่อ สำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ สบ.ชต.ขึ้นมากำกับดูแลหน่วยงานระดับปฏิบัติทุกหน่วยทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน เพื่อสร้างเอกภาพและจัดการปัญหาแบบบูรณาการ

ตามด้วยการตั ้ง คณะกรรมการรัฐมนตรีพิเศษในพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ "ครม.ดับไฟใต้" ลักษณะคล้าย "ครม.เศรษฐกิจ" เพื่อกระชับการบังคับบัญชาในส่วนของงานพัฒนาให้ลงสู่พื้นที่อย่างรวดเร็ว ภายใต้ยุทธศาสตร์ "พัฒนานำความมั่นคง"

และปิดท้ายที่การส่งสัญญาณโดย นายกรัฐมนตรีในท่วงทำนองที่ตีความได้ว่า อาจยกเลิกการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ "พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ" ในสามจังหวัดด้ามขวาน หลังจากต่ออายุมาทุกๆ 3 เดือนถึง 14 ครั้ง แต่ยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม

ทุกนโยบายที่ประกาศออกมา ทำเอานักสังเกตการณ์สถานการณ์ความไม่สงบอยู่ในอาการเสียวไส้ เพราะอาจถึงคราวที่ "รัฐบาลเทพประทาน" จะถึงกาลต้องขัดแย้งกับ "สีเขียว" ด้วยมูลเหตุ "ชิงการนำ" และการแบ่งสรรงบประมาณก้อนโตไม่ลงตัว กลายเป็นโหมไฟความรุนแรงให้หนักข้อขึ้นไปอีก

กระแสความห่วงใยต่อสถาน การณ์ดังกล่าวไม่ได้ถูกมองเลยผ่านสายตาของ จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยลงพื้นที่ติดตามปัญหา กระทั่งนำมาสู่ "ข้อเสนอดับไฟใต้" อันลือลั่นเมื่อปี 2548 ทว่า จาตุรนต์ วิเคราะห์ลึกไปกว่าความขัดแย้งระหว่างทหารกับรัฐบาล เพราะเขามองว่ายุทธศาสตร์ดับไฟใต้จนถึงวันนี้ยังไม่มี "แนวทาง" ที่ทุกฝ่ายยอมรับว่าถูกต้องเลยเสียด้วยซ้ำ

และแม้จะไม่มีหลักฐานยืนย ันว่า การที่เมฆหมอกแห่งความไม่สงบยังไม่คลายตัวลงนับจากปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เป็นเพราะการ "โยนทิ้ง" ข้อเสนอของ จาตุรนต์ อย่างไม่ใยดีหรือไม่ แต่เสียงขานรับจากทุกฝ่ายกับ "แนวทาง" ที่เขาเสนอในห้วงเวลานั้น ก็ทำให้ความเห็นของเขาได้รับการเงี่ยหูฟังเสมอ

โ ดยเฉพาะเมื่อเขานำสาระจากข้อเสนอในวันเก่า มาเรียบเรียงเป็นหนังสือที่ชื่อ "จาตุรนต์ บนทางดับไฟใต้" ซึ่งเพิ่งแถลงเปิดตัวพร้อมจัดงานเสวนาเล็กๆ เมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

"จากประสบกา รณ์ของผม เรื่องการจัดองค์กรก็สำคัญ แต่เรื่องใหญ่มากกว่านี้คือแนวทาง" จาตุรนต์ เริ่มต้นที่ท่าทีของรัฐบาลประชาธิปัตย์ซึ่งกำลังสาละวนเรื่องการจัดตั้งองค์ กรใหม่ดับไฟใต้

"ผู้รับผิดชอบส่วนใหญ่ใน 5 ปีมานี้ยังไม่เข้าใจว่าการจะแก้ปัญหาใหญ่ขนาดนี้ต้องมีแนวทางที่ชัดเจน ที่ผ่านมาอย่าว่าแต่แนวทางจะผิดหรือถูกเลย แต่แนวทางคืออะไรยังไม่รู้ ฉะนั้นมันมีปัญหาเรื่องแนวทางอยู่ การจะแก้ปัญหาจึงต้องมีแนวทางเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยมาถกกันว่าแนวทางที่ถูกต้องคืออะไร"

จาตุรนต์ บอกว่า การที่รัฐบาลให้ความสนใจเรื่องการจัดองค์กร ทั้ง สบ.ชต. และการตั้ง ครม.ชุดพิเศษ ถือเป็นมิติที่น่ายินดี แต่เขาเห็นว่าเรื่ององค์กรไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่สุด เพราะ "แนวทาง" น่าจะสำคัญกว่า และเขาเองก็เคยมีประสบการณ์ในอดีตในลักษณะ "ติดกับดัก" ในโครงสร้างองค์กรมาแล้ว เมื่อครั้งที่ กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กอ.สสส.จชต. ยังเป็นหน่วยนำในภารกิจแก้ไขปัญหาความไม่สงบ

"เวลา กอ.สสส.จชต.ประชุมกัน มีรัฐมนตรีเข้าร่วมหลายคน ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่จำนวนรัฐมนตรียังไม่มากเท่า ครม.พิเศษที่ตั้งในยุคนี้ ตอนนั้นก็ประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์กับหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ตอนเช้าเริ่มประชุม หน่วยปฏิบัติก็รายงานสถานการณ์เหมือนกับที่หนังสือพิมพ์ฉบับเช้าวันนั้นลง ซึ่งผมหาอ่านได้ในหนังสือพิมพ์อยู่แล้ว"

"พอหน่วยปฏิบัติรายงานจบ รัฐมนตรีก็แสดงความคิดเห็นกันไป โดยต่างคนต่างแสดงความเห็น ไม่มีกรอบแนวทางที่ชัดเจน พอจะหันไปสั่งการหน่วยปฏิบัติ ปรากฏว่าหัวหน้าหน่วยไปแล้ว เขาก็ไปทำงานในพื้นที่ของเขา การสั่งการก็ทำได้ไม่ถนัดนัก เพราะแต่ละกระทรวง ทบวง กรม ก็มีหน่วยงานของตัวเองในพื้นที่ หน่วยงานเหล่านั้นก็รายงานตรงมายังอธิบดี ปลัด หรือรัฐมนตรีของตนเอง"

ส่วนแนวทาง "การเมืองนำการทหาร" ที่กลายเป็นคาถาดับไฟใต้ของหลายคน จาตุรนต์ วิจารณ์ว่า แม้จะมีคนพูดกันมากก็จริง แต่มักไม่มีใครรู้ความหมายว่าที่แท้คืออะไร

" การเมืองนำการทหารไม่ใช่ฝ่ายการเมืองต้องคุมเองทั้งหมด แต่หมายถึงเรื่องที่เราจะรบ จะต่อสู้ จะจับกุม ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนด้วย ปัญหาสามจังหวัดเป็นปัญหาระหว่างสังคม 2 สังคม สังคมหนึ่งมีเอกลักษณ์ของตัวเอง และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยที่มีเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง เป็นสังคมเล็กที่อยู่ในสังคมใหญ่ ถ้าจัดการดีก็จะอยู่กันไปได้ แต่ถ้าจัดการไม่ดี จะมีความรุนแรงรูปแบบต่างๆ เพื่อแยกดินแดนตั้งรัฐใหม่ ซึ่งถ้าคนส่วนใหญ่เห็นด้วย ก็จะกลายเป็นการแยกดินแดนได้จริงๆ"

"ฉะนั ้นเราต้องจัดการให้ดี สังคมไทยต้องเข้าใจสังคมสามจังหวัด แต่ตอนนี้ยังไม่เข้าใจ ต้องคิดว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกันได้ ทำให้คนในสังคมเล็กรู้สึกว่าเป็นเจ้าของประเทศไทยร่วมกัน ถ้าทำได้ เรื่องแยกดินแดนก็จะเป็นเรื่องของคนส่วนน้อย แม้จะไม่หมดไป แต่คนส่วนใหญ่จะไม่เอาด้วย นี่คือโจทย์ข้อสำคัญ"

อดีตรองนายกรัฐมนตร ี ชี้ด้วยว่า ข้อมูลที่ปรากฏ ณ วันนี้ คือรัฐบาลทุ่มงบไปมากกว่า 1 แสนล้านบาท และมีกำลังทหารกว่า 50,000 นายอยู่ในพื้นที่ แต่คำถามที่อยากรู้และควรจะต้องรู้ก็คือ ประชาชนในสามจังหวัดคิดอย่างไร?

" เรายังไม่มีคำตอบตรงนี้เลย ฉะนั้นการจะแก้ปัญหาได้หรือไม่ ต้องย้อนกลับไปถามว่าเราเข้าใจปัญหาจริงๆ หรือไม่ การจะเข้าใจหรือไม่ต้องตอบให้ได้ก่อนว่ามีแนวทางหรือไม่ และปฏิบัติตามแนวทางนั้นหรือยัง"

ปราบกลุ่มป่วนใต้ไม่ใช่จับโจรปล้นทอง

ย ้อนกลับไปที่ข้อเสนอที่ถูกปฏิเสธของ จาตุรนต์ เมื่อปี 2548 เขาชี้ว่าสังคมไทยโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงต้องปรับทัศนคติกันขนานใหญ่หากจะเอ าชนะในสงครามความคิดที่ชายแดนใต้ครั้งนี้

“ตอนนั้นมีความคิดว่าต้องเ ปลี่ยนแปลงมากๆ ในแนวทางการแก้ไขปัญหาภาคใต้ ประเด็นสำคัญที่ต้องเปลี่ยนคือ ความคิดที่ว่าจะจับผู้ก่อความไม่สงบ เหมือนกับจับโจรปล้นร้านทอง”

เขาเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า วิธีการจับโจรปล้นร้านทอง สมมติว่ามี 7 คนก็จับให้หมดหรือฆ่าให้หมดก็จบ แต่ถ้ามองแบบนี้แล้วคิดว่าในภาคใต้มีโจร 1 พันคน ฆ่าให้หมดก็จบ แต่ความจริงมันไม่ใช่

“ช่วงนั้นคิดว่าจะจัดทีมเล็กๆ ลงไปรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ แล้วนำมาประมวลเป็นแนวทาง โดยทุกเวทีจะตั้งคำถามเดียวคือ ทำอย่างไรให้ภาคใต้เกิดสันติสุข ผมก็ไปเสนอนายกฯทักษิณ ท่านก็อนุญาตให้ทำได้ ผมได้พบกับคนหลากหลายมาก จัดเวทีอย่างน้อย 7 ครั้ง ได้ข้อเสนอส่งให้นายกฯ (พ.ต.ท.ทักษิณ) พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงในสมัยนั้น) และ สมช. (สภาความมั่นคงแห่งชาติ)

ข้อเสนอหลักๆ ก็คือพยายามลดเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความไม่สงบ เสนอให้เคารพยอมรับอัตลักษณ์ของพี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยอมรับความหลากหลายแตกต่าง เสนอให้เจ้าหน้าที่รัฐคุ้มครองประชาชนในพื้นที่แทนที่จะมุ่งไล่ล่า ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาตามมา พร้อมทั้งให้พัฒนาประชาชน โดยประชาชนได้ประโยชน์จากการพัฒนาและมีส่วนร่วมมากที่สุด รวมทั้งให้มีความยุติธรรม เป็นธรรมอย่างแท้จริง”

แน่นอนว่า การเป็นรองนายกฯพลเรือน แต่กลับไปเสนอยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาภาคใต้ซึ่งเป็นปัญหาความมั่นคง ในที่สุดย่อมถูกปฏิเสธ

“ ทีแรก สมช.เขาก็ฟัง ก็เออๆ ออๆ กันไป มันก็แปลกดี เมื่อเข้าไปคุยกับนายกฯทักษิณ ท่านบอกว่าท่านพร้อมจะเปลี่ยน 180 องศา แต่ 2 วันต่อมาก็ถูกค้านหนักจากเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจในส่วนกลาง ทั้งๆ ที่ข้อเสนอถอนกำลังทหารนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดและตำรวจในพื้นที่ชายแดนภาคใต้เสนอเอง เมื่อถูกค้าน ปัญหาก็ดำเนินเรื่อยมา จากข้อเสนอให้ถอนทหารเมื่อปี 2548 ปัจจุบันมีทหารอยู่ในพื้นที่มากกว่า 50,000 นาย”

“ผมเชื่อว่าแนวทางแ บบนี้ แค่ประกาศก็สำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว ประกาศว่าเรายอมรับอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของคนไทยในพื้นที่ซึ่งเป็นเพื่อนร่ว มชาติเดียวกัน”

บทสรุปของ จาตุรนต์ ณ ปี 2552 ในวาระ 5 ปีไฟใต้ก็คือคำถามที่ว่า เราเข้าใจปัญหาจริงๆ หรือยัง การจะเข้าใจปัญหาหรือไม่ต้องตอบให้ได้ก่อนว่ามีแนวทางหรือไม่ และได้ปฏิบัติตามแนวทางนั้นหรือยัง?
อีกที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น