++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระเบียบการ งานประชันกลอนสด ชิงชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖

ระเบียบการ
งานประชันกลอนสด ชิงชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ณ ห้องประชุมเธียเตอร์ อาคาร ๓๔ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖
จัดโดย สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ร่วมกับ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
………………………………………………………………………………………………………………………………
ประเภทการประกวดและการแข่งขัน
การประชันกลอนสด แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทมัธยมศึกษา และประเภทอุดมศึกษา
๑. ประเภทมัธยมศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่๔-๖ และนักศึกษาสายอาชีวศึกษา ไม่เกินระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แต่ละโรงเรียนจะส่งนักเรียนเข้าสมัครประชันกลอนสดได้โรงเรียนละ ไม่เกิน ๑ กลุ่ม
๒. ประเภทอุดมศึกษา ได้แก่ นิสิต นักศึกษาในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย

ลักษณะการประชันและการประกวด
๑. การประชันกลอนสดประเภทมัธยมศึกษา จะจัดประชันเป็นกลุ่ม ๆละ ๓ คนไม่จำกัดเพศ ชาย-หญิง
๒. การประชันกลอนสดประเภทอุดมศึกษา จะจัดประชันเป็นกลุ่ม ๆละ ๓ คน ไม่จำกัด เพศชาย-หญิง

กิจกรรมการประชัน
๑. การประชันกลอนสด ทั้งประเภทมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ดำเนินการประชันโดยจัดให้มีการประชันเพียงรอบเดียว เพื่อชิงรางวัลชนะเลิศ ๑ รางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ๑ รางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ๑ รางวัล และรางวัลชมเชย ๒ รางวัล
๒. คำประพันธ์ที่ใช้ในการประชัน ทั้งประเภทมัธยมศึกษาและประเภทอุดมศึกษา กลอนที่จะใช้ในการแข่งขันมี ๓ ประเภท คือ กลอนสุภาพ กลอนสักวา และกลอนดอกสร้อย ผู้ประชันต้องเขียนกลอนประเภทละ ๑ ญัตติ ความยาวญัตติละ ๒ บท โดยในแต่ละญัตติ ประเภทมัธยมศึกษาให้เวลา ๑๐ นาที ประเภทอุดมศึกษาให้เวลา ๘ นาที

กติกาการตัดสิน
๑. บทกลอนที่ผิดฉันทลักษณ์สำคัญต่อไปนี้ กรรมการจะไม่นำไปตรวจให้คะแนน
๑.๑ ไม่มีสัมผัสนอก
๑.๒ เสียงท้ายวรรคผิด (อาทิ กลอนสุภาพ ท้ายวรรคที่หนึ่งใช้ได้ทุกเสียง ท้ายวรรคที่สองห้ามใช้เสียงสามัญและเสียงตรี ท้ายวรรคที่สามและท้ายวรรคที่สี่ใช้ได้เฉพาะเสียงสามัญและเสียงตรีเท่านั้น)
๑.๓ ใช้เสียงสั้นสัมผัสกับสระเสียวยาวเป็นสัมผัสบังคับ (เช่น ใช้ “ใจ” สัมผัสกับ “กาย” )
๑.๔ เขียนไม่ครบบทตามที่กำหนด

๒. บทกลอนที่ไม่ผิดฉันทลักษณ์สำคัญ กรรมการจะนำไปตรวจให้คะแนน โดยมีหลักเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
๒.๑ ฉันทลักษณ์และอักขรวิธี (๑๐ คะแนน)
๑) ถ้าเขียนตัวสะกดการันต์ผิด หักคะแนนคำละ ๑ คะแนน
๒) ถ้าบทกลอนที่เขียนมีสัมผัสซ้ำ หักคะแนนตำแหน่งละ ๕ คะแนน
๓) ถ้าในบทกลอนที่เขียนมีสัมผัสเลือน หักคะแนนตำแหน่งละ ๒ คะแนน
๒.๒ ความคิดและเนื้อหา (๒๐ คะแนน)
พิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
๑) ตรงประเด็นหรือตีญัตติแตก หมายความว่าผู้เขียนจะต้องใช้ญัตติที่กำหนดให้เป็นแก่นเรื่อง
๒) เสนอแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ หมายความว่าเนื้อหาที่ผู้เขียนเสนอนั้นให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน เช่น แง่คิดในการดำรงชีวิต การเข้าสังคม การปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมฯลฯ
๓) เสนอแนวคิดที่แปลกใหม่ หมายถึงแนวความคิดที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง เป็นแนวคิดที่มีเหตุผลและอยู่ในขอบเขตของญัตติ
๒.๓) กวีโวหาร (๒๐ คะแนน)
๑) มีสัมผัสราบรื่น อ่านแล้วเกิดความไพเราะ
๒) การใช้โวหารต่าง ๆ ส่งเสริมเนื้อหาให้มีความหมายลึกซึ้งกินใจ เช่น การกล่าวเปรียบเทียบและการใช้บุคลาธิษฐาน เป็นต้น
๓) การเล่นสระและอักษรหรือเล่นคำที่ช่วยให้คำประพันธ์มีความไพเราะยิ่งขึ้น
กรรมการตัดสินแต่ละชุดในแต่ละญัตติมี ๒ คน กรรมการแต่ละคนรับผิดชอบให้คะแนนทั้งหมดตามกติกา

การรับสมัคร
ผู้เข้าร่วมประชันกลอนสดทุกประเภท ต้องเขียนใบสมัครส่งไปที่ ผศ.สุทัศน์ วงศ์กระบากถาวร สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อ.เมือง จ.มหาสารคาม ๔๔๐๐๐ ภายในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โดยระบุชื่อโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย และแจ้งชื่อนักเรียนที่จะเข้าแข่งขันได้เพียง ๑ กลุ่ม (ส่งรายชื่อได้กลุ่มละ ๕ คน)
ติดต่อหรือส่งใบสมัครได้ที่ E-mail : thas16@hotmail.com โทรศัพท์ ๐๘๙-๖๗๘๒๐๕๖
โทรสาร ๐๔๓-๗๔๒๖๒๒

หมายเหตุ บทกลอนทุกประเภท ที่ผู้เข้าแข่งขันเขียนส่งเข้าประกวด ถือเป็นลิขสิทธิ์ของทางสมาคมนักกลอนแห่ง ประเทศไทย
รางวัล
การประชันกลอนสดทั้งประเภทมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา มีรางวัลดังนี้
๑. ประเภทมัธยมศึกษา
๑) รางวัลชนะเลิศ
- เงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท และโล่รางวัลจากสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
๒) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ๑
- เงินรางวัล๓,๐๐๐บาท และโล่รางวัลจากสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
๓) รางวัลรองชนะเลิศอันอับ๒
- เงินรางวัล๒,๐๐๐ บาท และโล่รางวัลจากสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
๒. ประเภทอุดมศึกษา
๑) รางวัลชนะเลิศ
- เงินรางวัล๕,๐๐๐ บาท และโล่รางวัลจากสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
๒) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ๑
-เงินรางวัล๓,๐๐๐บาท และโล่รางวัลจากสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
๓) รางวัลรองชนะเลิศอันอับ๒
- เงินรางวัล๒,๐๐๐ บาท และโล่รางวัลจากสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น