ความเป็นไปของบ้านเมือง "สร้างภาพลักษณ์ ส่งเสริมความรุนแรง และแนวโน้มการสูญเสียอธิปไตย"
1. ระยะนี้มาตรการประดิษฐสร้างภาพลักษณ์ของรัฐบาลด้วยการสร้างเหตุการณ์อย่างหวือหวาจะมีเพิ่มขึ้นและดำเนินการอย่างเข้มข้น อย่างเช่น งาน smart lady อันเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้คนให้เบนไปจากความล้มเหลว และความเน่าเฟะของรัฐบาล
งบประมาณจำนวนมากถูกโยนทิ้งไปกับเรื่องราวที่ไร้แก่นสาร ขณะที่เรื่องราวความเดือดร้อนของประชาชน เกษตรกรที่ประสบกับราคาผลผลิตตกต่ำ และภัยธรรมชาติ กลับไม่ได้รับการใส่ใจเท่าที่ควร
2. การนิรโทษกรรมผู้ก่อการจลาจลและผู้ก่อการร้ายเสื้อแดง ก็ได้รับการผลักดันเข้าสู่สภา อันเป็นการจุดชนวนความขัดแย้งที่รุนแรงเกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพราะผู้คนในสังคมจำนวนมากเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดแย้งกับหลักนิติรัฐ นิติธรรม และความยุติธรรม ทั้งยังเป็นการส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมการใช้ความรุนแรงให้แพร่กระจายและซึมลึกในสังคมไทยมากขึ้น
กระแสคัดค้านจะมาจากทั่วทุกสารทิศ และหากรัฐบาลดื้อรั้นยืนยันผลักดันต่อไป รวมทั้งใช้ความรุนแรงในการปราบปรามทำร้ายผู้คัดค้านดังที่เคยทำมาในอดีต สถานการณ์ก็อาจพัฒนาไปสู่ภาวะที่ทำให้รัฐบาลต้องล้มลงไปได้
3. สำหรับการเจรจากับBRN ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้สถานภาพขององค์การณ์นี้ในสากลสูงขึ้น มีอำนาจต่อรองมากขึ้น และสถานะและอิทธิพลในท้องถิ่นก็เข้มแข็งขึ้นเช่นกัน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ที่เคยร่วมมือกับรัฐ ต้องทบทวนบทบาทของตนเอง เพราะเกิดความหวั่นเกรงมากขึ้น รัฐจะสูญเสียแนวร่วมจากงานนี้จำนวนมหาศาล ซึ่งจะทำให้โอกาสสูญเสียดินแดนและอธิปไตยมีสูงขึ้น
เรียกได้ว่ารัฐบาลนี้ ทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางสากล และ เพิ่มอำนาจความน่าเกรงขามในระดับท้องถิ่นให้แก่ BRN สูงขึ้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น