ส.ว.กว่า 100 คนลุกฮือประกาศจุดยืน 3 ข้อเสนอ “หมัก” เน้นเจรจาสันติวิธียุติวิกฤตการเมือง ชี้หากไม่สำเร็จคืนอำนาจกลับสู่ ปชช. สอนจริยธรรมผู้นำหากบริหารประเทศไม่ได้ต้องเสียสละ อย่าอ้างมาจากการเลือกตั้ง
วันนี้ (5 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกวุฒิสภากว่า 100 คน ซึ่งมีทั้ง ส.ว.เลือกตั้ง และส.ว.สรรหา นำโดย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ได้เสนอทางออก 3 ข้อให้แก่รัฐบาลถึงกรณีเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น โดย พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ส.ว.ทุกคนตระหนักถึงปัญหาความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้นในสังคมจนก่อให้เ กิดความรุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้มีผู้บาดเจ็บกว่า 100 คนแล้ว และมีสียชีวิต 1 คน นอกจากนี้ ปัญหาดังกล่าวยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ หากสถานการณ์ยืดเยื้อและยาวนานยิ่งจะทำให้ยากแก่การเยียวยา
ดังนั้น ส.ว.ส่วนใหญ่ได้มีการหารือกันถึงสถานการณ์ดังกล่าว และปรารถนาให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองทราบจุดยืน จึงขอเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1.ขอให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกฯ และรัฐบาลเร่งรัดแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองด้วยสันติวิธี ด้วยการเข้าไปเจรจากับทุกฝ่ายเพื่อให้ยุติปัญหาที่เกิดขึ้น โดยขอให้รีบเร่งทำในระยะเวลาที่สั้นที่สุด 2.หากไม่สามารถยุติปัญหาด้วยการเจรจาได้ ขอให้นายกฯ เลือกใช้หนทางแก้ไขตามระบอบประชาธิปไตย คือ การคืนอำนาจให้แก่ประชาชนและให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะไม่มีใครแพ้และชนะ
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวอีกว่า 3.เมื่อนายกฯ ดำเนินการแล้วก็ขอให้ประชาชนทุกคนยุติการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย และยุติการหยุดงานประท้วง เพื่อมาช่วยกันตรวจสอบการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และช่วยกันตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลให้เกิดความโปร่งใส ซึ่ง ส.ว.ก็จะร่วมมือกับประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่นี้อย่างเต็มความสามารถ ขอยืนยันว่าการออกมาเรียกร้องครั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาอื่นใดแอบแฝง หรือต้องการกดดันกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่บ้านเมืองที่จะได้รับผลกระทบที่จะ ตามมาและเราก็ไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ต้องการให้บ้านเมืองพัฒนาไปได้
เมื่อถามว่าจะมีการล่ารายชื่อ ส.ว.เพื่อเสนอไปยังรัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรฯ หรือไม่ พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า เราจะรับฟังความเห็น แต่เรายังไม่ได้ดำเนินการอะไรอย่างเป็นทางการ ซึ่งข้อเสนอของเราไม่ได้คาดหวังว่านายกฯ หรือกลุ่มพันธมิตรฯ จะต้องฟัง แต่ทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของความหวังดี ซึ่งเชื่อว่ากลุ่มพันธมิตรฯ และรัฐบาลเองก็มีความหวังดีต่อประเทศชาติเช่นเดียวกัน เพียงแต่ยังหาจุดที่ตรงกันไม่ได้ ดังนั้น ไม่ควรยึดติดอดีตหรือมองว่าใครถูกใครผิด ไม่เช่นนั้นเราก็หาทางออกไม่ได้ และเชื่อว่านายสมัครคิดไม่ต่างกับพวกตนเอง แต่คงต้องรอเวลาที่ดำเนินการ ซึ่งหากมีการแก้ไขปัญหาช้าก็ยิ่งจะเกิดปัญหามากกว่านี้ เช่นในหลายประเทศที่นายกฯ เลือกลาออกเพราะเขาทำงานไม่ได้ และเขาก็ไม่ได้ผูกมัดว่าคนที่เลือกเขาเข้ามาจะมากหรือน้อย แต่เมื่อทำงานไม่ได้เขาก็พิจารณาลาออกแล้ว เพราะในฐานะผู้นำประเทศ หากทำงานไม่ได้ก็ควรเสียสละ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น