++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551

การพัฒนาสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนต่อการป้องกันมะเร็งเต้านม


Participatory Health Development of Woman in Community to Preventive Breast Cancer



สมใจ วินิจกุล
Somjai Vinijkul
อรวรรณ แก้วบุญชู
Orawan Kaewboonchoo



การพัฒนาสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม เป็นกลวิธีในการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยของสตรีในชุมชน โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มสตรีได้เกิดการเรียนรู้ถึงสภาพปัญหาและค้นหา แนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้สามารถดูแลตนเองและพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้ โดยเฉพาะปัญหามะเร็งเต้านมซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์และพบมา กเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูกและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในสตรีไทย แต่ก็เป็นโรคที่รักษาได้และมีอัตราการรอดชีวิตค่อนข้างสูงถ้าตรวจพบในระยะเร ิ่มแรก ดังนั้น การส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ สู่การปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นวิธีหนึ่งในการตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ใน ชุมชน มีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมที่ถูกต้อง สามารถดูแลตนเองได้อย่างสม่ำเสมอ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพสตรีในชุมชนอย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีวัยเจริญพันธุ์ในชุมนหลังวิทยาลัยสารพัดช่างธนบุรี แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร จำนวน 71 คน รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า



1. สตรีกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ และการปฏิบัติเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 6.35, SD = 1.65) และ (X = 2.21, SD = 0.26) แต่มีทัศนคติอยู่ในระดับดีมาก (X= 2.53, SD = 0.24)


2. ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติ เพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3. โครงการพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพสตรีในชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรมการจัดนิทรรศการสุขภาพอนามัยของสตรี และการอบรมความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองให้กับตัวแทนสตรี เป็นผลสืบเนื่องมาจากตัวแทนสตรีที่เข้าร่วมสนทนากลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็น ค้นหาสาเหตุและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีในชุมชน


4. ผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพสตรีในชุมชน มีสตรีเข้าร่วมในกิจกรรมนิทรรศการสุขภาพ 68 คน จากจำนวนสตรีวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด 109 คน คิดเป็นร้อยละ 62.39 มีความพึงพอใจในกิจกรรมที่จัดร้อยละ 89.71 ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.44 และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 91.80 ตัวแทนสตรีที่ได้รับการอบรม 2 ใน 4 คน สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้การดูแลด้านสุขภาพกับสตรีในชุมชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง


ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นแนวทางที่ควรได้รับการส่งเสริม เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนเกิดความตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดการยอมรับและค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาของตนเอง ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพอนามัยของสตรีที่ยั่งยืนต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น