++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

รูปแบบผลลัพธ์ของการศึกษาในโรงเรียนนิติบุคคล

A Model of Education Outcomes in Legal Entity School
ดร.สรายุทธ โตนอก (Dr.Sarayuth Tonok)*
ดร.สำเริง บุญเรืองรัตน์ (Dr. Samrerng Boonruangrutana)**
ดร.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (ราชบัณฑิต) (Dr. Sermsak Wisalaporn)**
ดร.สงวนพงศ์ ชวนชม (Dr. Sanguanpong Chuanchom)***
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เ พื่อศึกษาระดับการเป็นคนเก่งการเป็นคนดีและการมีความสุขของนักเรียน โดยใช้เกรดเฉลี่ยและการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ใช้คุณธรรมจริยธรรม และใช้ความฉลาดทางอารมณ์เป็นตัวบ่งชี้ ตามลำดับ (2) เ พื่อศึกษารูปแบบอิทธิพลการบริหารแบบยึดโรงเรียนเป็นฐาน การพัฒนาครู คุณภาพการสอนของครู พฤติกรรมการเรยนและการใช้เวลาในการเรียนของนักเรียนที่มีต่อเกรดเฉลี่ย การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ คุณธรรมจริยธรรม ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนในโรงเรียนนิติบุคคล กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้น ม. 3 ของโรงเรียนนิติบุคคล สังกัด สพฐ. ในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัมย์และชัยภูมิ รวม 2,032 คน และศึกษาข้อมูลจากครู 59 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน 33 คน เครื่องมือที่ใช้มีแบบบันทึกเกรดเฉลี่ย แบบทดสอบการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ แบบทดสอบความฉลาดทางอารมณ์ แบบประเมินคุณธรรมจริยธรรม แบบสอบถามการใช้เวลาในการเรียนของนักเรียน พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน คุณภาพการสอนของครู การพัฒนาของครูและการบริหารแบบยึดโรงเรียนเป็นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์พหุระดับของการวิเคราะห์วิถี พบว่า (1) นักเรียนมีเกรดเฉลี่ยอยู่ในระดับดี มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบปานกลาง มีคุณธรรมจริยธรรมมากและมีความฉลาดทางอารมณ์มาก (2) โรงเรียนมีการบริหารแบบยึดโรงเรียนเป็นฐานในระดับเกิดผลจากการปฏิบัติงานนั้นแล้ว (3) ครูได้รับการพัฒนาปานกลาง มีคุณภาพการสอนดี (4) นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนดี มีการใช้เวลาในการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (5) ก ารบริหารแบบยึดโรงเรียนเป็นฐานมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการพัฒนาครูและพฤติ กรรมการเรียนของนักเรียน มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ คุณธรรมจริยธรรมและการใช้เวลาในการเรียนของนักเรียน มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อเกรดเฉลี่ยและความฉลาดทางอารมณ์ของ นักเรียน (6) การพัฒนาครูมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน (7) ค ุณภาพการสอนของครูมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อเกรดเฉลี่ย การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ คุณธรรมจริยธรรม ความฉลาดทางอารมณ์และการใช้เวลาในการเรียนของนักเรียน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน (8) พ ฤติกรรมการเรียนของนักเรียนมีอิทธิพล ทางตรงเชิงบวกต่อการใช้เวลาในการเรียน เกรดเฉลี่ย การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน (9) การใช้เวลาในการเรียนของนักเรียนมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน
ABSTRACT
AAAAThis dissertation aimed to study the level of students’ intelligence as indicated by their grade point average and their ability in systematic problem solving, students’ good deeds as indicated by the moral quotient variable, students’ happiness as indicated by the emotional quotient variable and to study the effects of the variables namely School Based Management, teacher development, the quality of teaching instruction, students’ learning behavior and time spent in learning affecting their grade point average, systematic problem solving, moral and emotional quotient. The samples consisted of 2,032 Mathayom 3 students in 59 classrooms of 33 legal entity schools of Nakhonrachasima, Khonkaen, Burirum and Chaiyaphum province. The total teacher samples were 59. The samples of administrator were 33. The research instruments were grade point average recording form, systematic problem solving test, students’ moral quotient test, students’ emotional quotient test, the questionnaires concerning students’ time spent in learning, students’ learning behavior, the quality of teacher instruction, teacher development and School Based Management. The statistical methods used in data analyses were basic statistics and multi level of path analysis.
AAAAThe research findings were (1) students had good grade point average, moderate ability in systematic problem solving, high moral quotient, high emotional quotient, good learning behavior, moderate time spent in learning (2) The legal entity schools operated School-Based Management in the level of result in practice. (3) The teachers had a moderate development, and good quality of instruction. (4) School Based Management affected as follows: (4.1) It positively and directly affected teacher development and students’ learning behavior (4.2) It positively and indirectly affected students’ systematic problem solving, students’ moral quotient, students’ time spent in learning (4.3) It indicated both direct and indirect positive effects on students’ grade point average, the students’ emotional quotient. (5) Teacher development positively and directly affected students’ moral quotient. (6) The quality of teacher instruction affected as follows: (6.1) It positively and indirectly affected students’ grade point average, students’ ability in systematic problem solving, students’ moral quotient, students’ emotional quotient and students’ time spent in learning. (6.2) It positively and directly affected students’ learning behavior. (7) Student learning behavior affected as follows: (7.1) It positively and directly affected students’ time spent in learning, students’ grade point average, students’ ability in systematic problem solving and students’ moral quotient (7.2) It indicated both direct and indirect positive effects on students’ emotional quotient. (8) Students’ time spent in learning positively and directly affected students’ emotional quotient..
*ดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
**ศาสตราจารย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
***อาจารย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น