เรื่องสมุนไพรเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งจะเป็นรอง
ก็แต่อาหารการกิน ตระกูลพืชนั้นเป็น มารดาผู้ให้กำเนิดโดยเสียสละตนเองเป็นทั้ง
อาหารและแปรเป็นสมุนไพรช่วยเสริมบำรุงรักษาอาการผิดปกติด้วย
สมุนไพรนั้น ก็มิได้รับการยกเว้นจากการใช้หลัก ปรัชญาหยิน-หยาง เพื่อวินิจฉัยและปรับปรุง
คุณสมบัติให้เหมาะสมกับผู้ป่วยด้วยหลักการ ของวงจรการแปรรูปพลังทั้ง 5 ธาตุ 2 ขั้วเช่นกัน
บางครั้ง การปรุงยาส่วนใหญ่จะมีตัวยาหลายตัว ที่ใช้เป็นส่วนผสมทั้งจากตระกูลพืช ตระกูลสัตว์
และตระกูลสสารอินทรีย์ธาตุในดิน เพื่อให้ได้มาถึงซึ่งสรรพคุณที่สูงสุดและปลอดภัย
ไร้ผลข้างเคียง การคำนึงอัตราส่วนหยิน-หยาง จึงจำเป็นและถือเป็นหัวใจสำคัญ
1:7 คือมาตรฐานของธรรมชาติ การจัดลำดับความสำคัญของตัวยาสมุนไพรจึงอาจแบ่งเป็น เอก โท ตรี จัต
รา เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ แพทย์จีนเรียก กัง-ชิ้ง-จ่อ-ไซ้ หรือ Lord Miniter Assistance Servent
หรือนายกฯ รองนายกฯ รัฐมนตรี ผู้ช่วยฯ หากเราต้องการยาที่เป็นหยิน เราต้องเริ่มปัจจัยหลัก
ด้วยสมุนไพรที่เป็นหยินสัดส่วน 7 แต่หยิน อย่างเดียวไม่พอ ไม่เหมาะสมต้องเติมหยาง 1 ส่วน
เพื่อช่วยให้หยินออกฤทธิ์ได้เต็มที่เหมือนกับ
การรับประทานผลไม้แล้วใช้จิ้มเกลือ นิดหน่อยช่วยขับรสออกมาเต็มที่ กลมกลืน
และในขณะเดียวกัน เพื่อป้องกันการเกิดเศษส่วน หรือมลพิษส่วนเกินอันจะก่อให้เกิดผลข้างเคียง
ถึงการเพิ่มปัจจัยหยิน-หยาง อันดับรองเป็น กันชนหรือแม่สื่อ เพื่อรองรับอีกระดับหนึ่งก็คือ
หยิน-หยางในปัจจัยรองอีก 1 คู่ 1:7 เช่นกัน
คือ 1:7 กับ 1:7 รอง แต่ในขณะที่ถ้าต้องการปัจจัยยาให้เป็นหยางนั้น แทน
ที่จะเพิ่มตัวยาสมุนไพรให้เป็นหยาง 7 ส่วน และหยิน 1 ส่วน เรากลับต้อง
ใช้หยางที่เป็น ตัวยาเพียง 5 ส่วน แต่เพิ่มการปรุงโดยการเคี้ยวไฟ
อันเป็นปัจจัยหยางแทนการใช้ยายืดเวลาต้มนานขึ้น ใช้ไฟแรงขึ้น ลดปริมาณน้ำน้อยลง หรือต้มจนน้ำเกือบ
แห้ง ทั้งนี้เพราะปัจจัยหยางนั้นเป็นปัจจัยใกล้เคียงกับ ธรรมชาติของคน
เลือดอุ่น เลือด (หยาง) เวลากลางวัน (หยาง) -ความอุ่น (หยาง) ผู้ชาย (หยาง)
อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มิควรเพิ่มตัวยาหยางมากเกิน และหากพลังหยางเกิน
ไปจะแก้ยากกว่าพลังหยินเกินในร่างกาย นี่คือภูมิปัญญาขั้นพื้นฐานของแพทย์จีน
ปรัชญาแพทย์ทิเบต ทิเบตนอกจากจะเป็นประเทศสำคัญแห่งหนึ่งของ
พุทธศาสนาแล้ว ยังมีมรดกโลกสำคัญทางด้านการแพทย์พื้นบ้าน สมุนไพรอันเป็นผลรวมจาก
อิทธิพลทั้ง 3 ขั้วของโลกคือ จีน อินเดียและตะวันออกกลาง
หลักการของวิชาแพทย์พื้นบ้านของทิเบตตั้งอยู่บนความเชื่อทางพุทธศาสนา และทางธรรมชาติของโลก
ของปรัชญาทางพุทธศาสนา และทางธรรมชาติของโลก
ทางปรัชญาหยิน-หยาง รวมกับเรื่องธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
จากคัมภีร์อายุรเวทของอินเดียโดยการมองคนเป็นส่วนรวมของกาย จิต วิญญาณ
และจุดจักราต่างๆ ทั้ง 7 อันเป็นศูนย์รวมพลังลมปราณของร่างกาย
คัมภีร์แพทย์ทิเบตมีความสำคัญในอดีตกว่า 2,000 ปี และมีการบันทึกเป็นภาพที่น่าสนใจ
สมควรแก่การศึกษา เพื่อเสริมภูมิปัญญาต่อทัศนะของชีวิตเพื่อปรับประยุกต์
มาใช้กับชีวิตประจำวันของเราในสังคมปัจจุบัน การได้ถือกำเนิดเป็นมนุษย์บนโลกนี้ ถือเป็นบุญอันประเสริฐสุด เป็นโอกาส
หนึ่งในร้อยล้าน โชคดีของการเกิดเป็นคนก็คืออยู่ระหว่างภูมิลำเนาของพลัง
ทั่วโลก 2 ขั้วคือ สุขและทุกข์ ผสมกลมกลืนกัน
ทั้งสองขั้วเป็นพื้นฐานของการทดสอบภูมิปัญญา
และเป็นตัวกลางของการพัฒนาเข้าสู่โลกคลื่นกระแสจิตและวิญญาณเริ่มต้น
จากวินาทีของการปฏิสนธิ พลังดึงดูดของขั้วบิดา-มารดาเปิดประตู
ของการลงมาจุติของจิตกระแสที่อยากจะเกิด โดยแรงผลักดันจากกฎแห่ง
กรรม ตามหลักกายภาพของทิเบต รูปนั้นถูกประกอบขึ้นด้วย ธาตุทั้ง 5 (ซึ่งได้รับอิทธิพลจากจีน)
ธาตุดินของโลก เปรียบดั่งฐานโรงงานการผลิตรูปร่าง
หาก ขาดธาตุน้ำ กายจะไม่สัมพันธ์และงอกเงย หากปริศจากธาตุไฟ กายจะไม่มีกำลังและไม่เติบโต ปราศจากธาตุลม พลังจะไม่มีการหมุนเวียน ธาตุดินของแพทย์ทิเบตคือ กระดูก ผิวหนัง
เล็บ ผม ธาตุน้ำหมายถึง ของเหลวต่างๆ ในร่างกาย
ธาตุไฟหมายถึง ระบบการสังเคราะห์สารอาหารและการขับถ่าย ธาตุลม คือ
การขับดันสิ่งที่เบากว่าหมุนเวียนและควบคุมโลหิต
ธาตุอากาศคือตัวกลางขับเคลื่อนคลื่นจิตกระแส
ความผิ ดดุลของกายกับสิ่งแวดล้อมภายนอกมาเป็น
สาเหตุแห่งการเกิดโรค เมื่อกายดับ จิตกระแส ก็จะกระจายและคลุกเคล้าปะปนกับบรรยากาศ
การฝึกสมาธิหรือรวมพลังจิตจึงเป็นวิธีการรักษาโรค
ชนิดหนึ่งที่คอยป้องกันมิให้กระแสจิตหลงระเริง โดยการกำหนดกระแสจิตให้รวมกันเป็นดวงจิตที่สุกใส
ในแง่ของกระบวนการจุติตั้งครรภ์และกำเนิดทารก
คัมภีร์แพทย์ทิเบตได้บันทึกเป็นภาพไว้อย่างละเอียด
ถึงขั้นตอนการแปรรูปและพัฒนาการของมนุษย์
โดยเริ่มต้นจากหญิง-ชายสมสู่ ธาตุขาวคืออสุจิของบิดา และธาตุสีแดงคือ ไข่และเลือดในมดลูกมารดา
เมื่อตัวอ่อนเริ่มก่อตัวธาตุดินประกอบเป็นโครงกระดูก
กล้ามเนื้อ ผิวหนังและตา
ธาตุน้ำเริ่มสร้างของเหลวเป็นน้ำเหลือง และสายเลือด
รวมไปถึงน้ำลายซึ่งเป็นผัสสะแห่งการลิ้มรส
ธาตุไฟรวมเอาความร้อนในกายและสายตา
ธาตุลมรวมเอาการหายใจเข้า-ออกถึงการสูดดม
และการรับเสียงผ่านทางหู ในภาพจะแสดงการเข้าเริ่มจุติของดวงวิญญาณเป็น
ประจุแรกอันเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ต่อมา ช่วงแรกตัวอ่อนถือรูปร่างของปลาในน้ำเป็นต้นแบบ
ต่อมาพัฒนาเป็นเตาคล้ายจระเข้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
และในระยะหลังพัฒนาเป็นหมูป่าตระกูล สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ภาพบรรยายรายละเอียดถึงขั้นตอนการทำคลอด
การอยู่ไฟและการเลี้ยงลูก ด้วยนมอย่างละเอียดเป็นขั้นตอน
ที่ง่ายต่อความเข้าใจและน่ามหัศจรรย์ที่แพทย์ในอดีต
นับพันปีสามารถเข้าใจและมองเห็นวิวัฒนาการของมนุษย์ ด้วยวิจารณญาณที่
ปราศจากเครื่องมือทันสมัยหรือกล้องจุลทรรศน์ใดๆ
ภาพที่เขียนถ่ายทอดเหล่านี้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวิชาการ ตะวันตกว่า
ใกล้เคียงความจริงกับการวิจัยพิสูจน์ด้วยเทคนิคแพทย์สมัยใหม
่อย่างสมบูรณ์
ส่วนตอนบนสุดซ้ายมือเป็นภาพพระพุทธประธาน ซึ่งเป็นองค์พระไภษัชยคุรุ
ที่ถือเป็นศาสดาแห่งแพทย์ทิเบต
โดยคุณ : ภูมิปัญญาตะวันออก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น