สิรภพ แก้วไกรสิน
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ก ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจที่มาของจินตนาการและวิธีการสื ่อสารเชิงสัญลักษณ์ภาพที่เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของตัวละครอมนุษย์ในละครจักรๆวง ศ์ๆ ทางโทรทัศน์ และเพื่อให้ทราบถึงแก่นจินตนาการในละครจักรๆวงศ์ๆ ในการรับรู้ของผู้ชมที่เป็นเด็ก โดยใช้แนวคิด ทฤษฎีการลู่เข้าเชิงสัญลักษณ์และแนวทางการศึกษาแก่นจินตนาการ แนวคิดเรื่องสัมพันธบท และแนวทางการศึกษาโดยการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ตัวละครจักรๆวงศ์ๆทางโทรทัศน์ 3 เรื่อง คือ เรื่องเทพสามฤดู โกมินทร์ และสิงหไกรภพ ซึ่งออกอากาศในช่วงปี 2546-2548 และการสัมภาษณ์แบบกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาจำนวน 4 กลุ่มเพื่อศึกาแก่นของจินตนาการในการรับรู้ของเด็ก
ผลจากการวิจัยพบว ่า วิธีการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ภาพที่เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของตัวละครอมนุษย์ในละ ครจักรๆวงศ์ๆทางโทรทัศน์ มีวิธีการที่สำคัญ ได้แก่ 1) การนำเสนอด้วยภาพที่มีลักษณะภาพตามแบบบแผนของจิตรกรรมไทยแนวประเพณี 2) การสื่อความหมายแฝงจากภาษาภาพโทรทัศน์ 3) การสร้างบริบทเพื่อกำกับความหมายอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวละคร 4) การสร้างสัมพันธบท 5) การประยุกต์ใช้รหัสภาพการ์ตูน ในแง่ของที่มาของจินตนาการเกี่ยวกับตัวละครอมนุษย์ในการรับรู้ของเด็กประกอบ ด้วย 1) งานจิตรกรรมและงานประติมากรรมในศาสนสถาน 2) งานวรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน 3) งานสื่อสารมวลชน และ 4) กระบวนการจัดเกลาทางสังคมจากครอบครัวและโรงเรียน สำหรับแก่นจินตนาการของผู้ชมที่เป็นเด็กที่มีต่อละครจักรๆวงศ์ๆประกอบด้วย 1) แก่นจินตนาการที่เน้นความถูกต้องเป็นจริง 2) แก่นจินตนาการที่เน้นค่านิยมทางสังคม 3) แก่นจินตนาการที่เน้นประโยชน์ทั้งส่วนบุคคลและทางสังคม
จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น