++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

การใช้ประโยชน์จากกากตะกอนน้ำเสียโรงงานฟอกย้อมในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

ตรีประดับ นิมโรธรรม, นิภาพรรณ กังสกุลนิติ – คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สมพงษ์ ธงไชย – คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์
- เพื่อนำกากตะกอนน้ำเสียจากกระบวนการฟอกย้อมเส้นใยธรรมชาติและสังเคราะห์เพื่ อมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ แม้ pH ของน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการฟอกย้อมมีค่าระหว่าง 10.5-11.5 แต่ทว่าตะกอนจากกระบวนการบำบัดน้ำเสียนี้จำเป็นต้องเติมเฟอริกคลอไรด์ก่อนทำ การรีด จึงทำให้กากตะกอนภายหลังการรีดมีสภาพเป็นกรด กากตะกอนมีความเป็นไปได้ในการใช้เป็ยปุ๋ย เนื่องจากผลการวิเคราะห์พบว่า มีธาตุอาหารหลักของปุ๋ยอินทรีย์คือ ไนโตรเจนค่อนข้างสูง คือ 8.69% นอกจากนี้โลหะหนักในกากตะกอนไม่เกินมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์

วิธีการวิจัย
- ใช้ผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นพืชทดสอบ โดยนำปูนขาวมาใช้ในการปรับสภาพกรดด่าง และดินชุดสมุทรปราการเป็นวัสดุผสม ในการทดสอบมีการตรวจปริมาณโลหะหนักในผักกาดเขียวกวางตุ้ง เพื่อดูความปลอดภัยจากการสะสมของโลหะหนักในลำต้นและใบ และตรวจสอบน้ำหนักแห้งของผักกาดเขียวกวางตุ้ง 35 วัน หลังทำการเพาะปลูก

ผลการศึกษา
- พบว่า การใช้กากตะกอน 8 กรัม ใช้ดิน 2.5 กิโลกรัมโดยไม่จำเป็นต้องใช้ปูนขาว สามารถผลิตเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพดีที่สุดในการทดลอง โดยมีการสะสมของโลหะหนักไม่เกินมาตรฐานโลหะหนักในการบริโภค

สรุป
- กากตะกอนน้ำเสียจากกระบวนการฟอกย้อมมีความเป็นไปได้ในการนำมาเป็นผลิตเป็นปุ ๋ยอินทรีย์ในการปลูกพืชผักกินใบได้ การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก โครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 30-31 มกราคม 2550
ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น