++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนเกษตรกรรมยั่งยืนของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จังหวัดฉะเชิงเทรา

THE MANAGEMENT MODEL OF SUSTAINABLE AGRICULTURAL FUND OF ALTERNATIVE AGRICULTURE’S NETWORK IN CHACHOENGSAO PROVINCE

พลูเพ็ชร สีเหลืองอ่อน
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมและสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ว ัตถุระสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนเกษตรกรรมยั่งยืน ของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมจากกลุ่มประชากรที่ศึกษา 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้นำหรือเกษตรกรที่เป็นกรรมการกองทุน 25 คน โดยแบบสัมภาษณ์ และ 2) เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนแล้ว 75 คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมและประชุมกองทุน

ผล การวิจัย พบว่า กลุ่มประชากรที่ศึกษามีความเชื่อมั่นว่า รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนเกษตรกรรมยั่งยืนโดยผู้นำหรือตัวแทนเกษตรกรเป็น รูปแบบการบริหารจัดการที่มีความยั่งยืน มีองค์ประกอบที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มความยั่งยืน คือ 1) กรรมการและสมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมกองทุนอย่างสม่ำเสมอ มีความเชื่อ ความรู้ ทักษะ และเป็นผู้มีความสามารถทำเกษตรกรรมยั่งยืนได้ด้วยตนเอง 2) มีองค์กรพันธมิตรทำงานส่งเสริมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง มีเครือข่ายช่วยเหลือเกื้อกูลกันหลายรูปแบบ 3) รูปแบบการบริหารกองทุนโดยผู้นำหรือตัวแทนเกษตรกร สร้างความพอใจแก่สมาชิก ทั้งการสนับสนุนทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำสำหรับการทำเกษตรยั่งยืน ควบคู่กับการสนับสนุนการออมของสมาชิก มีกระบวนการเสริมการเรียนรู้ การติดตามงาน มีการสื่อสารภายใน และมีการวางระบบตรวจสอบกันได้ และ 4) มีตัวชี้วัดแนวโน้มความยั่งยืน อันได้แก่ การชำระทุนคืนต่อเนื่อง การขยายสมาชิก การมีอาหารปลอดภัยบริโภคอย่างเพียงพอ สามารถลดรายจ่าย สร้างรายได้จากผลผลิตในแปลง มีการออมอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่สามารถลดหนี้สินได้ มีการเกื้อกูลกันในชุมชน สภาพแวดล้อมของแปลงเกษตรมีความหลากหลายของพันธุ์พืชและมีสภาพที่สมดุลขึ้น

จ ากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อกองทุนเกษตรกรรมยั่งยืนฯ ในการพัฒนาแปลงต้นแบบเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อขยายผลเชิงปริมาณควบคู่กับคุ ณภาพสมาชิก และพิจารณาขยายผลกองทุนเกษตรกรรมยั่งยืนสู่กองทุนเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรท้องถิ่นน่าจะได้นำรูปแบบการบริหารจัดการกอ งทุนโดยผู้นำหรือตัวแทนเกษตรกรไปปรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือแนวทาง ในการริเริ่มก่อตั้งกลุ่มใหม่ด้วย


จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น