++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

การผลิตยางขัดผิวชิ้นงานตัวเรือนเครื่องประดับจากยางคลอโรพรีน

วชิราภรณ์ เอื้อชัยสิทธิ์, จันทร์ฉาย ทองปิ่น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตยางขัดผิวตัวเรือนเครื่องประดับที่ทำจากโลหะเงิน หรือทอง จากยางคลอโรพรีน โดยมีการเติมสารตัวเติมที่มีสมบัติในการขัดถู

วิธีการวิจัย
- ระบบการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยง ด้วยแมกนีเซียมออกไซต์และใช้ซิลิกอนคาร์ไบด์เป็นผงขัดในยางคลอโรพรีน ทำการผสมสูตรคอมพาวด์ด้วยเครื่องบดผสมยางสองลูกกลิ้ง และทำการทดสอบคุณลักษณะการเชื่อมโยงด้วยเครื่อง หลังจากนั้นทำการเชื่อมโยงด้วยเครื่อง ขึ้นรูปแบบอัดและทำการทดสอบสมบัติการต้านทานการขัดถู ทดสอบสมบัติการผิดรูปอยู่ตัวของยาง (Compression set) ทดสอบสมบัติความแข็ง ทดสอบสมบัติการต้านทานต่อแรงดึง และศึกษาสัณฐานวิทยาของชิ้นงานด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด (SEM) ทั้งหมดนี้เพื่อหาสูตรยางที่เหมาะสมในการผลิตยางขัดผิวชิ้นงาน

ผลการศึกษา
- พบว่า การเพิ่มปริมาณแมกนีเซียมออกไซต์และซิลิกอนคาร์ไบด์จะส่งผลให้เกิดการเชื่อม โยงที่ช้าลงในการขึ้นรูปของยางขัด รวมถึงมีคุณสมบัติเชิงกลที่ดีขึ้นยกเว้นค่าความต้านทานต่อการผิดรูปอยู่ตัวข องยางซึ่งจะมีค่าเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณแมกนีเซียมออกไซต์ และจากภาพถ่ายกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด จะแสดงให้เห็นโครงสร้างปิดซึ่งมีรูพรุนน้อยในยางขัด ดังนั้น ยางขัดจึงมีความเหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้ในงานขัด

สรุป
- งานวิจัยนี้สูตรยางที่เหมาะสมคือ มีปริมาณซิลิกอนคาร์ไบด์ 80% และปริมาณแมกนีเซียมออกไซต์ 7phr


จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 30-31 มกราคม 2550
ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น