DECISION MAKING IN PURCHASING AND DECORATED THING OF CONSUMERS AT INDEX LIVING MALL, IN BANGKOK
ภมนพร จันทร์วัฒนะ
สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
วัตถุประสงค์
1. ศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านของลูกค้าตามปัจจัยก ารตลาด ซึ่งประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจำหน่ายและบริการ รวมทั้งด้านการส่งเสริมการตลาด
2. เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านของลูกค้าจำแนกตามป ัจจัยส่วนบุคคลของลูกค้า ประกอบด้วย อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน
3. ศึกษาการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านของลูกค้าในลักษณะต่างๆกัน
ก ลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านที่ INDEX LIVING MALL ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การคำนวณค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test และ F-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. ลูกค้ามีการตัดสินใจซื้อสินค้าตามปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจำหน่ายและบริการ และด้านการส่งเสริมการตลาดในระดับมาก
2. ลูกค้าที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง บ้าน ตามปัจจัยด้านราคาและด่านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยพบว่าลูกค้าที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีการตัดสินใจซื้อสินค้าตาม ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดมากกว่าลูกค้าที่สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษ า ระดับปริญญาตรีและระดับสูงกว่าปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และลูกค้าที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีการตัดสินใจซื้อตามปัจจัยด้านร าคามากกว่าลูกค้าที่สำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการจัดจำหน่ายและบริการ ไม่แตกต่างกัน
3. ลูกค้าที่มีอาชีพต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้านตามปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่ายและบริการ และด้านการส่งเสริมการตลาด ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
4. ลูกค้าที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านตามปัจจัยด้านราคาแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยพบว่าลูกค้าที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท มีการตัดสินใจซื้อสินค้าตามปัจจัยด้านราคามากกว่าลูกค้า ที่มีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่ายและบริการและการส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกัน
5. ลูกค้าที่มีเพศ และอายุแตกต่าง มีการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ตามปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่ายและบริการ และด้านการส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
6. ลูกค้าส่วนมากจะซื้อเฟอร์นิเจอร์โดยมีเหตุผลที่สำคัญคือ คุณภาพของสินค้า ความหลากหลายของสินค้า ความเชื่อถือในตลาดสินค้า รูปทรงและสีสันของสินค้า และความแข็งแรงของสินค้า โดยใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้า
จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น