Effect of piperine on the mutagen-induced chromosome aberrations in rat bone marrow cells
สรียา วงษ์พา
วม.ท (พิษวิทยา)
ไ พเพอรีนเป็นสารอัลคาลอยด์ให้กลิ่นฉุนและรสชาติเผ็ดร้อน ที่สกัดจากผลของพริกไทยดำและพริกไทยเอเชีย พริกไทยทั้งสองสายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมบริโภคกันมากในหลายประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังนิยมใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในตำรับยาแผนโบราณในหลายประเทศแถบทว ีปเอเชีย จึงน่าสนใจที่จะศึกษาถึงความเป็นพิษของมัน โดยเฉพาะความเป็นพิษต่อพันธุกรรม ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาผลของไพเพอรีนที่มีต่อโครโมโซมหนูแรทขาวผู้ พันธุ์วิสตาร์ (Wistar rat) หนูแรทเพศผู้พันธุ์วิสตาร์ได้รับไพเพอรีนขนาด 100,400 และ 800 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หลังจากนั้น 24 ชั่วโมง ฆ่าหนูและเก็บเซลล์ไขกระดูกจากกระดูกต้นขา เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์โครโมโซม ผลของการศึกษาพบว่าไพเพอรีนในขนาดที่หนูได้รับไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่ อโครโมโซมเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามไพเพอรีนในขนาดที่หนูได้รับมีผลทำให้ค่า Mitotic index ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งบ่งชี้ว่าไพเพอรีนอาจมีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ไขกระดูกเมื่อได้รับในปริมา ณสูง
นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาผลของไพเพอรีนที่มีต่อ cyclophosphamide (CP) และ mitomycin C (MC) ที่ชักนำให้เกิดความเสียหายต่อโครโมโซมในหนูแรทขาวเพศผู้พันธุ์วิสตาร์โดยหน ูแรทเพศผู้พันธุ์วิสตาร์ได้รับสารไพเพอรีนขนาด 100, 400 และ 800 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะได้รับ CP หรือ MC ในขนาด 50 หรือ 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตามลำดับ หลังจากได้รับ CP หรือ MC ไปแล้ว 24 ชั่วโมง ฆ่าหนูและนำเซลล์ไขกระดูกมาวิเคราะห์โครโมโซม จากการศึกาพบว่าไพเพอรีนขนาด 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สามารถยับยั้งความเสียหายของโครโมโซมที่เกิดจากการชักนำของ CP สำหรับความเสียหายที่เกิดจากการชักนำของ MC พบว่า ไพเพอรีนขนาด 800 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สามารถยับยั้งความเสียหายของโครโมโซมได้
โดยสรุป ไพเพอรีนทุกขนาดที่ไม่ทำให้โครโมโซมเสียหาย นอกจากนี้ไพเพอรีนในขนาด 100 และ 800 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สามารถลดความเสียหายของโครโมโซมที่เกิดจากการชักนำของ CP และ MC ตามลำดับ การประเมินความปลอดภัยสำหรับการบริโภคไพเพอรีนในมนุษย์ และกลไกที่อาจเป็นไปได้ของมันในการช่วยลดความเสียหายของโครโมโซมที่ชักนำโดย CP และ MC ถูกอภิปรายต่อไป
จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น