++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

การยอมรับบทบาทของผู้นำสตรีในองค์กรภาครัฐ

ภชดา ทัตภากร
สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต


วัตถุประสงค์
1. ศึกษาการบริหารงานของผู้นำสตรีในองค์กรภาครัฐ และการสนับสนุนทางสังคมของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
2. การยอมรับบทบาทการบริหารงานของผู้นำสตรีในองค์กรภาครัฐ
3. การยอมรับบทบาทการบริหารงานของผู้นำสตรีในองค์กรภาครัฐ จแนกตามลักษณะส่วนบุคคล การบริหารงานของผู้นำสตรีในองค์กรภาครัฐ และการสนับสนุนทางสังคมของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

ก ลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการพลเรือนที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาระดับ 1-7 ในส่วนกลางของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษรตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกตามขนาดของแต่ละกระทรวง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน

ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรในองค์กรภาครัฐส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุไม่เกิน 30 ปี และอายุระหว่าง 31-40 ปี ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุราชการไม่เกิน 5 ปี ระดับตำแหน่งอยู่ในช่วง ซี 3-5 และมีสถานภาพโสด บุคลากรในองค์กรเห็นว่า การบริหารงานของผู้นำสตรีในองค์กรภาครัฐด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการสั่งการหรือการนำ และด้านการควบคุม อยู่ในระดับปานกลาง การสนับสนุนทางสังคมของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้านข้อมูลข ่าวสาร ด้านวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความรู้ ความสามารถ และด้านอารมณ์จิตใจ อยู่ในระดับปานกลาง บุคลากรในองค์กรภาครัฐยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในการบริหารงานในองค์กรภาครัฐ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการสั่งการหรือการนำ และด้านการควบคุม อยู่ในระดับปานกลาง บุคลากรในองค์กรภาครัฐที่มีอายุแตกต่างกันยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในการบริหารง านในองค์กรภาครับด้านการวางแผน และด้านการสั่งการหรือการนำแตกต่างกัน บุคลากรในองค์กรภาครัฐที่มีอายุราชการแตกต่างกันยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในการบ ริหารงานองค์กรภาครัฐในด้านการควบคุม แตกต่างกัน บุคลากรที่สังกัดกระทรวงแตกต่างกันยอมรับบทบาทของผู้นำสตรีในการบริหารงานด้ านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการสั่งการหรือการนำ และด้านการควบคุม แตกต่างกัน การบริหารงานของผู้นำสตรีในองค์กรภาครัฐด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการสั่งการหรือการนำ และด้านการควบคุม มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในการบริหารงานองค์กรภาคร ัฐ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการสั่งการ หรือการนำ และด้านการควบคุม การสนับสนุนทางสังคมของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความรู้ความสามารถ และด้านอารมณ์จิตใจ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในการบริหารงานในองค์กรภา ครัฐ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการสั่งการหรือการนำ และด้านการควบคุม



จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น