ธิดารัตน์ สุขแสงเปล่ง, ศิริวุฒิ สุขขี, สุมาลี พฤกากร และคณะ
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นที่ทราบกันดีว่าแลคโตบาซิลลัสผลิตแบคเทอริโอซินเพื่อการประยุกตใช้เชิงสุขภาพของคนได้ เมื่อเร็วๆนี้ผู้เสนอได้รายงานถึง Lactobacillus paracasei subsp paracasei 3 ไอโซเลท ได้แก่ B282 B63/8 และ B85/4 แสดงฤทธิ์ต้านจุลชีพที่ดีต่อเชื้อที่ก่อโรคปริทันต์ porphyronomus gingivalis W50
วัตถุประสงค์
- เพื่อแยกสารแบคเทอริโอซินจากเชื้อข้างต้นให้บริสุทธิ์บางส่วน และวิเคราะห์สารดังกล่าว
วิธีศึกษา
- เตรียมแบคเทอริโอซินหยาบได้จากน้ำเลี้ยงเชื้อปราศจากเซลล์ ศึกาน้ำหนักโมเลกุลและประจุ ทำให้บริสุทธิ์บางส่วนด้วยคอลัมภ์โครมาโตกราฟีชนิดแลกเปลี่ยนประจุ และตรวจวัดผลผลิตและแบคเทอริโอซินแอคติวีตีของแต่ละส่วนแยก ซึ่งพบว่าแบคเทอริโอซินหยาบสามารถแยกได้จากการตกตะกอนด้วย 40% แ อมโมเนียซัลเฟต ปั่นแยกที่ 4200 รอบต่อนาที และกรองแบบอุลตร้าฟิวเตรชั่นตามลำดับ มี น้ำหนักโมเลกุลระหว่าง 35-90 กิโลดาลตัน และมีประจุควบคุมทั้งบวกและลบ ส่วนแยกโปรตีนจากคอลัมภ์ประจุลบของไอโซเลท B85/4 แสดงผลผลิและแบคเทอริโอซินสูงสุด มีน้ำหนักโมเลกุลระกว่าง 40-80 กิโลดาลตันและค่า pI ระหว่าง 4-5
สรุป
- แบคเทอริโอซินของ Lactobacillus paracasei subsp. Paracaei ส ามารถเตรียมและแยกให้บริสุทธิ์ได้ตามลำภดับวิธีข้างต้น แฃะส่วนแยกจากคอลัมภ์ประจุลบที่แสดงฤทธิ์ มีน้ำหนักโมเลกุลระหว่าง 40-80 กิโลดาลตัน อย่างไรก็ตามแบคเทอริโอซินนี้ยังต้องแยกให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีเจล ฟิลเตรชั่น และวิเคราะห์ในระดับโปรทีโอ-มิคต่อไป
- อย่างไรก็ตามแบคเทอริโอซินนี้ ยังต้องแยกให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีเจล ฟิลเตรชั่น และวิเคราะห์ในระดับโปรทีโอ-มิคต่อไป
- การจัยนี้ได้รับทุสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น