++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชา ภาษาล้านนาเบื้องต้น หน่วย พท้นฐานภาษาล้านนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4

กัลยา กุหลาบขาว
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างและพัฒนาพร้อมทั้งหาประสิทธิภาพหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาภาษาล้านน าเบื้องต้น หน่วยพื้นฐานภาษาล้านนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4

วิธีการวิจัย
ศ ึกษาความต้องการความจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายสร้างและหาประสิทธิภาพของหลักสูต ร กลุ่มทดลองได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนลองวิทยา อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการทดลองจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หลักสูตรท้องถิ่นรายวิชา ภาษาล้านนาเบื้องต้น หน่วยพื้นฐานภาษาล้านนา และแบบประเมินโครงร่างหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชา ภาษาล้านนาเบื้องต้น หน่วย พื้นฐานภาษาล้านนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ในการหาประสิทธิภาพของหลักสูตร

ผลการวิจัย
- พบว่า ค่าความสอดคล้องในองค์ประกอบของหลักสูตรมีความสอดคล้องกัน และผลการทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนกลุ่มทดลอง พบว่า เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนใหญ่มีความเหมาะสม และกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้จัดให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับภาษาล้านนา โดยภาพรวมนักเรียนมีความสุข สนุกสนานในการเรียนรู้ เห็นคุณค่าของภาษาพื้นเมือง (ล้านนา) ซึ่งเป็นภูมิปัญญาทางภาษา สนใจที่จะนำความรู้พื้นฐานนี้ไปศึกษาเกี่ยวกับภาษาล้านนาในระดับสูง

สรุป
- ผลการศึกษาแสดงว่าหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาภาษาล้านนา มีประสิทธิภาพสูงและเป็นที่พึงพอใจของนักเรียนในระดับมาก


จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น