++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

ผลกระทบของสารหนูต่อปลาช่อนที่อาศัยในแหล่งน้ำปนเปื้อนสารหนู

สิริพร เหลืองสุชนกุล-1, วิชัย เอกทักษิณ-2, กันทิมาณี พันธุ์วิเชียร-3 และพรสวรรค์ วิสุทธิวิเศษ-1

1-คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2-คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล, 3-คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วัตถุประสงค์
- เพื่อตรวขจหาการสะสมของสารหนูและผลกระทบของสารหนูต่อปลาช่อน สกุล
Channa striata (Bloch,1797) ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนสารหนูจาก ต.ร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช (ความเข้มข้นสารหนู 680+6.51 และ 976.4 + 3.21 มิลลิกรัมต่อลิตร) เปรียบเทียบกับปลาช่อนจากแหล่งน้ำที่ไม่มีประวัติของการปนเปื้อนสารหนูจากแม่น้ำสุพรรณ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี (ความเข้มข้นสารหนู 14.9 + 0.15 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร)

วิธีการวิจัย
- โดยทำการเก็บตัวอย่างปลาช่อน ขนาดอายุ 8 เดือน ถึง 1 ปี จากทั้งสามแหล่งน้ำ นำมาแยกเป็นอวัยวะต่างๆ คือ เหงือก ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะอาหาร ไส้ติ่ง และกล้ามเนื้อ มาวิเคราะห์หาสารหนูด้วยเครื่อง
HG-AAS และนำมาตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อ และตรวจหาเอ็นไซม์ Ethoxyresorufin –O- deethylase (EROD), Superoxide dismutase (SOD) and Glutathione –S-Tranferases (GST) ในตับ

ผลการศึกษา
- พบว่ามีการสะสมสารหนูสูงสุดในกล้ามเนื้อและตับของปลาช่อนจากแหล่งน้ำปกติ ซึ่งตรงข้ามปลาช่อนที่มาจากแหล่งน้ำที่มีสารหนู ที่พบว่ามีการสะสมสารหนูสูงสุดในตับเท่านั้น ผลการตรวจหาพยาธิสภาพในอวัยวะต่างของปลาช่อน มีความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างปลาช่อนจากแหล่งน้ำที่มีสารหนูและไม่มีสารหนู ตับปลาช่อนจากแหล่งน้ำที่มีสารหนู มีการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อรุนแรงที่สุด และตรวจพบว่าปริมาณเอนไซม์จากตับปลาช่อนที่มาจากแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนสา รหนู มีระดับสูงกว่าจากตับปลาช่อนจากแหล่งน้ำที่ไม่มีการปนเปื้อนสารหนู

สรุป
- ปัจจัยที่มีผลต่อการสะสมสารหนูคือ ความเข้นข้นของสารหนูในน้ำและระยะเวลาที่ได้รับสารหนู วึ่งมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพ การเพิ่มขึ้นของระดับเอนไซม์สามารถบอกได้ถึงสภาวะการทำงานตับที่ยังคงอยู่
- งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการบัณฑิตฝึกอบรมและวิจัยด้านวิทยาศาสต ร์ เทคโนโลยี และบริหารสิ่งแวดล้อม และทุนสนับสนุนวิทยานิพนธ์บางส่วนจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น