++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบพฤติกรรมผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกับควา มพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานท้องถิ่นในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ณรงค์ฤทธิ์ พาณิชย์ศะศิลวัฒน์
สาขาวิชาผู้นำทางธุรกิจ สังคมและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ว ิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยายโดยใช้เทคนิคการสำรวจเพื่อบรรยายความสำพันธ์ระหว ่างรูปแบบพฤติกรรมผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กับความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานท้องถิ่นในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบพฤติกรรมผู้นำท้องถิ่นจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลและเขตการปกค รองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานของผู้นำแต่ละเขตการปกครองท ้องถิ่น 3) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบพฤติกรรมผู้นำท้องถิ่นกับเขตการปกครองท้องถิ่นแตกต่า งกัน 4) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานของผู้นำท้องถิ่น และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบพฤติกรรมผู้นำกับความพึงพอใจของประชาชน ต่อการบริหารงานของผู้นำท้องถิ่น

การรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยใช้แบบ สอบถาม 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบพฤติกรรมของนายก อบต. โดยให้เจ้าหน้าที่ประจำในหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ตอบคำถาม ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานท้องถิ่น โดยให้ประชาชนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสถิติพื้นฐานและทดสอบสมมติฐานด้วย t-test, F-test (ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอย (Linear Regression Analysis)

ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ผลการวิจัยรูปแบบพฤติกรรมผู้นำท้องถิ่น พบว่า อบต.คลองสาม อบต.คลองสี่ อบต.คลองหก อบต.คลองเจ็ด มีรูปแบบพฤติกรรมแบบมุ่งความสำเร็จมากที่สุด ส่วน อบต.คลองห้ามีรูปแบบพฤติกรรมผู้นำแบบให้การสนับสนุนมากที่สุด

2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานของผู้นำแต่ละเขตการปกครองท ้องถิ่นพบว่า ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานท้องถิ่นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองห้า ตำบลคองหก ตำบลคลองเจ็ด และตำบลตลองสาม ตามลำดับ และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ตำบล ได้แก่ตำบลคลองสี่

3. ผลการเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบพฤติกรรมผู้นำท้องถิ่นกับเขตการปกครองท้องถิ่ น พบว่า รูปแบบพฤติกรรมของนายก อบต. ด้านผู้นำแบบให้การสนับสนุน และด้านผู้นำแบบมีส่วนร่วม ไม่แตกต่างกัน แต่ด้านผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน

4. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานของผู้นำท้องถิ่น พบว่า ประชาชนที่อยู่ในเขตการปกครองท้องถิ่นที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของผู้นำท้องถิ่นในด้านการบริหารงานสาธารณะ, ด้านสาธารณสุข , ด้านการศึกษา และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

5.ผลการศึกษาพบว่าโดยภาพรวม ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบพฤติกรรมผู้นำไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของ ประชาชนต่อการบริหารงานท้องถิ่น จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
.

จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น