STRATEGIC MANAGEMENT OF WATER RESOURCE IN BANGPAKONG-PRACHINBURI RIVER BASIN
บุษบงก์ ชาวกัณหา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมและสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
ค วามมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงสถานการณ์การจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำบางปะกง-ปราจีนบ ุรีพร้อมทั้งวิเคราะห์ศักยภาพการจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำของชุมชนท้องถิ่น ในลุ่มน้ำบางปะกง-ปราจีนบุรี วิธีการดำเนินการศึกษาในครั้งนี้มีทั้งการวิเคราะห์เอกสาร การเก็บข้อมูลภาคสนาม การสนทนากลุ่ม ซึ่งเนื้อหาการศึกษามีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์นโยบายการจัดการทรัพยากร และศักยภาพของการจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำของชุมชนท้องถิ่น พร้อม SWOT Analysis เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ในการจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำบางปะกง-ปราจีนบุรี
ผ ลการศึกษาพบว่า ลุ่มน้ำบางปะกง-ปราจีนบุรี ทั้งบริเวณต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของพื้นที่ลุ่มน้ำหลัก ได้แก่ บางปะกงและปราจีนบุรี มีความหลากหลายในการใช้พื้นที่ ทั้งเป็นแหล่งเกษตรกรรม ชุมชนและอุตสาหกรรม การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย ยังไม่เพียงพอ การตัดสินใจในการใช้และจัดการทรัพยากรน้ำยังไม่ชัดเจนทั้งในระดับโครงสร้างแ ละระดับปฏิบัติในพื้นที่ ก่อให้เกิดความสับสนและความไม่ไว้วางใจระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเนื ่องจากแตกต่างกันในมุมมองและผลประโยชน์ มีความขัดแย้งในตัวเองด้านของการพัฒนานโยบายกับการจัดการทรัพยากร ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับบทบาทการพัฒนาจังหวัดในระดับภูมิภาค ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการในระดับลุ่มน้ำมีการรวมตัวกันเพื่อการจั ดการในรูปแบบที่หลากหลายและมีความไม่ลงรอยกับการจัดการในเชิงขอบเขตการปกครอ งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามแผนและงบประมาณ ขาดความเชื่อมโยงที่ใกล้ชิด
ยุทธศาสตร์ในการจัดการฯ ควรที่หน่วยงานทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ต้องเน้นการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่นในการรักษาระบบนิเวศและป่าต้นน้ำ พื้นที่ลุ่มชุมน้ำ รวมทั้งระบบนิเวศปากแม่น้ำ โดยดำเนินการให้มีหน่วยที่บูรณาการระดับกลาง ที่อยู่ระหว่างองค์กรที่รับผิดชอบระดับลุ่มน้ำ และองค์กรรับผิดชอบระดับท้องถิ่นโดยปรับรูปแบบองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรธร รมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับลุ่มน้ำสาขาให้เป็นรูปแบบ “องค์กรเอกชนท้องถิ่น ” ดำเนินการใช้การคลังด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การมีภาษีสิ่งแวดล้อม และภาษีน้ำ การใช้พันธบัตรสิ่งแวดล้อม และนำรายได้ไปตั้งกองทุนในการจัดการดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำและค วรดำเนินการบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและสังคมเข้าไปในนโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยสนับสนุนการทำ R&D และมี Incubation center ดำเนินการให้มีกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจ เช่น กฎหมายพิจารณ์ที่เป็นธรรม
จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น