++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

บทบาทผู้นำท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

THE ROLES OF LOCAL LEADER IN PROMOTION OF ECO-TOURISM IN LAT KRABANG DISTRICT, BANGKOK METROPOLITAN AUTHORITY

ไพรัตน์ ทับทิมเทศ
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมและสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ว ัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาท คุณลักษณะทางด้านการท่องเทียวเชิงนิเวศ เปรียบเทียบบทบาทจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล เปรียบเทียบคุณลักษณะทางด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของผู้นำท้องถิ่นจำแนกตา มคุณลักษณะส่วนบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของผู้นำท้องถิ่ นกับบทบาทของผู้นำท้องถิ่น ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้นำท้องถิ่นในเขตลาดกระบัง จำนวน 297 คน ได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า ผู้นำท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 46-60 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง 1 ปี ส่วนใหญ่รับข่าวสารการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจากโทรทัศน์เดือนละครั้ง รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ในระดับน้อย การรับรู้บทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับ ปานกลาง มีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและความหมาย องค์ประกอบหลักและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศระดับปานกลาง มีแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายในในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ใ นระดับปานกลาง และเห็นว่าผู้นำมีบทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้านการให้การศึ กษา และด้านการบริหารอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้นำท้องถิ่นที่มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแตกต่างกัน ผู้นำท้องถิ่นที่มีสถานะ ตำแหน่ง ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และระดับการศึกษาแตกต่างกัน รับรู้บทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแตกต่างกัน ผู้นำท้องถิ่นที่มีสถานะตำแหน่งและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ องค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแตกต่างกัน ผู้นำท้องถิ่นที่มีสถานะตำแหน่งและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งแตกต่างกันมีแรง จูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายในในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแตกต่างกัน ผู้นำท้องถิ่นที่มีสถานะตำแหน่ง ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งและระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีบทบาทการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้านการให้การศึกษาและด้านการบริห ารแตกต่างกัน การรับรู้ข่าวสารการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับบทบาทในกา รส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของผู้นำท้องถิ่นด้านการให้การศึกษาและด้าน การบริหาร การรับรู้บทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับบทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของผู้น ำท้องถิ่นด้านการให้การศึกษาและด้านบริหาร ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้านแนวคิดและความหมายเกี ่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ด้านองค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับบทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของผู้น ำท้องถิ่นด้านการให้การศึกษา และด้านการบริหาร และแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายในในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีคว ามสัมพันธ์ในทางบวกกับบทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของผู้นำท้อ งถิ่นด้านการให้การศึกษาและด้านการบริหาร


จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น