โชติทัต เลื่องชัยเชวง และชื่นจิตต์ บุญเกิด
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์
- การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเชื้อจุลินทรีย์ และจุลินทรีย์ที่สำคัญในกระบวนการหมักสุราพื้นบ้าน (สาโท)
วิธีการวิจัย
- ขั้นตอนการวิจัยเริ่มจากการศึกษากระบวนการหมักสุราแบบพื้นบ้าน และนำมาประยุกต์เพื่อให้เหมาะกับการวิจัยในห้องปฏิบัติการ ดีเอ็นเอของยีน rDNA เชื้อแบคทีเรีย ราและยีสต์ของสายพันธุ์มาตรฐานจะถูกนำมาวิเคราะห์ความแตกต่าง ด้วยวิธี PCR-DGGE ซึ่งใช้หลักการแยกโดยทำให้ดีเอ็นเอเกิด denaturation นอกจากนี้ยังทดลองหาเทคนิคที่เหมาะสมในการสกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่าง
ผลการศึกษา
- จากการทดลองสามารถหมักสาโทในห้องปฏิบัติการโดยใช้ขั้นตอนประยุกต์ได้ และสามารถหาสภาวะที่เหมาะสมในการแยกความแตกต่างของจุลินทรีย์สายพันธุ์มาตรฐ านด้วยวิธี PCR-DGGE ซึ่งจะนำไปเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์จุลินทรีย์ในตัวอย่างจากกระบวนการหมัก นอกจากนี้ได้เทคนิคที่เหมาะสมในการสกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่าง
สรุป
- ได้สภาวะที่เหมาะสมในการแยกชนิดของจุลินทรีย์มาตรฐานด้วยวิธี PCR-DGGE และเทคนิคการสกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่าง การวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการความร่วมมือเทคโนโลยีชีวภาพทางการเก ษตร สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ HEDP-ABC
จากการประชุมวิชาการ
เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
สวัสดี โชติทัต นายเรียนที่อนุบาลวัดอ่างทองใช่เปล่า
ตอบลบพอดีอั้ว ค้นหาชื่อเพื่อนสมัยเรียนอนุบาลวัดอ่างทองว่ะ น่าจะปอ หก มั้ง
อั้วชื่อโอเปค คุ้นบ้างเปล่าวะ เออ หวังว่าน่าจะใช่นายนะถ้าไม่ใช้ขอโทษด้วย
opeccute@hotmail.com