++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

การศึกษาเชิงภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ในบทเพลงลูกทุ่งและลูกกรุง

AN ETHNOLINUISTIC STUDY IN THE LYRICS OF THAI COUNTRY AND CITY SONGS

เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์
ปร.ด ภาษาศาสตร์

วัตถุประสงค์
- เพื่อจำแนกความแตกต่างของบทเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุงในด้านการใช้ภาษาและเน ื้อหาโดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบ 1) แก่นของเพลง 2) กลวิธีทางภาษา และ 3) ภาพสะท้อนทางสังคมวัฒนธรรมที่ปรากฏในบทเพลง

การวิเคราะห์ข้อมูล
- กระทำโดยประสานกลวิธีจากสหวิทยาการ (Multi-disciplinary approaches) ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้นำมาจากบทเพลงลูกทุ่งจำนวน 474 เพลงและบทเพลงลูกกรุงจำนวน 483 เพลง

ผลการวิเคราะห์จากงานวิจัยนี้แส ดงให้เห็นว่า ไม่สามารถจำแนกลักษณะความแตกต่างของบทเพลงลูกทุ่งและลูกกรุงได้อย่างเด่นชัด ทั้งนี้เนื่องจากบทเพลงทั้งสองมีแก่นของเพลง กลวิธีทางภาษาและภาพสะท้อนทางสังคมวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ผลการศึกษาการใช้ภาษาในบทเพลงลูกทุ่ง แสดงให้เห็นว่าบทเพลงลูกทุ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา อาทิเช่น ภาษาแสลงและภาษาปาก ส่วนการใช้ภาษาในบทเพลงลูกกรุงมีลักษณะเป็นภาษากวี ปัจจัยดังกล่าวนี้เองที่ทำให้บทเพลงลูกทุ่งยังคงเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ฟัง

เ มื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ในด้านเนื้อหาของเพลง พบว่า เนื้อหาของเพลงทั้งเพลงลูกทุ่งละเพลงลูกกรุงสามารถจำแนกได้เป็น 7 ประเภท คือ 1) การชมความงาม 2) ประเพณีและเทศกาลต่างๆ 3) ความผิดหวัง 4) ความรัก 5) คติธรรมสอนใจ 6) การปลุกใจและสดุดี และ 7) การสะท้อนภาพสังคม เนื้อหาของเพลงที่มีความถี่ 3 อันดับแรกซึ่งปรากฏทั้งในเพลงลูกทุ่งและลูกกรุง ได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับความรัก ความผิดหวัง และการสะท้อนภาพสังคมซึ่งสนับสนุนแนวคิดทางชาติพันทางดนตรีที่ว่า บทเพลงเป็นสื่อที่ใช้เพื่อปลดปล่อยความตึงเครียดและการแสดงออกทางอารมณ์ของม นุษย์ นอกจากนี้ผลการวิจัยนี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่า บทเพลงทั้งสองประเภทเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในการบันทึกความเปลี่ยนแปลงของสังค มวัฒนธรรมไทย แต่ยังให้ยังแสดงให้เห็นว่า กลวิธีทางภาษาและภาพสะท้อนทางสังคมวัฒนธรรมในบทเพลงทั้งสองประเภทมีความแตกต ่างกันขึ้นอยู่กับแก่นของเพลง

จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น