++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

ผลกระทบของการซึมได้ของเสาเข็มต่อการพัฒนากำลังของเสาเข็ม

ญฐพงษ์ จันทร์เพ็ชร และ พิสิทธิ์ ขันติวัฒนะกุล
ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการซึมได้ของเสาเข็มต่อการพัฒนากำลังเสาเข็มโดยใช้วัสดุที่ทดสอบ
คือ เสาเข็ม 2 ชนิด 1. เสาเข็มคอนกรีตพรุน
มีคุณสมบัติให้น้ำซึมผ่านได้
2.เสาเข็มคอนกรีตเรียบหล่อจากคอนกรีตแน่นปกติ
โดยจะติดตั้ง ในชั้นดินเหนียวอ่อนที่ระดับความลึก 8 เมตร
ทดสอบโดยวิธี Quick Load Test อย่างละ 2 ต้น
ที่อายุเสาเข็ม 3,5,7,15,30 และ 60 วัน
และทดสอบหากำลังแรงเฉือนของดินโดยวิธี Vane Shear Test
ทั้งก่อนการติดตั้งและหลังการติดตั้งที่อายุเสาเข็ม 60
วัน โดยห่างจากผิเสาเข็ม 0.15 เมตร

จากผลการศึกษา พบว่า
ก ารซึมได้ของเสาเข็มมีผลต่อการพัฒนากำลังรับน้ำหนักบรรทุกและส่งผลต่อการกระจ ายแรงดันน้ำส่วนเกินที่เกิดขึ้นและมีผลต่อเนื่องไปยังขบวนการยุบอัดตัวคายน้ ำด้วย
ในช่วงอายุเสาเข็ม 0 ถึง 3 วัน
เสาเข็มพรุนกำลังพัฒนาได้สูงสุดและมากกว่าเสาเข็มเรียบถึง
31.34% ที่อายุเสาเข็ม 5 วัน
กำลังเสาเข็มพรุนมากกว่าเสาเข็มเรียบ 10% ที่ 7
วันเสาเข็มพรุนมีกำลังมากกว่าเสาเข็มเรียบ 3.53% และที่
15,30,60 วัน
เสาเข็มเรียบสามารถพัฒนากำลังกลับมามากกว่าเสาเข็มพรุน
เท่ากับ 5.38% , 18.37% และ 13.98% ตามลำดับ
และจากการทดสอบ แรงต้านทานที่ปลายเข็มพบว่า
ดินที่ถูกแทนที่ จะเกิดการรบกวนอย่างไม่สมบูรณ์
ทำให้จุดเริ่มต้นของการคืนกำลังของดินรอบเข็ม
ไม่ใช่จุดที่เกิดการรบกวนอย่างสมบูรณ์


จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา
ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์
มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น