จิรศุภา ปล่องทอง
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์
- เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาสื่ออารมณ์ขัน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของบริบททางการสื่อสารต่อการใช้ภาษาสื่ออารมณ์ขัน
วิธีการวิจัย
- การศึกษาลักษณะภาษาสื่ออารมณ์ขันในมุมขำขันของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ และมหาสนุก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ซึ่งเก็บข้อมูลจากหนังสือการ์ตูน 2 ฉบับ ฉบับแรกคือ หนังสือการ์ตูนขายหัวเราะรายสัปดาห์ ฉบับมีนาคม – เมษายน 2548 จำนวน 78 เรื่อง และฉบับที่สอง คือ หนังสือการ์ตูนมหาสนุกรายสัปดาห์ ฉบับเดือนมีนาคม – เมษายน 2548 จำนวน 52 เรื่อง รวม 130 เรื่อง โดยจะศึกษาในส่วนของมุมขำขันเท่านั้น
ผลการศึกษา
- พบว่ากลวิธีการสร้างอารมณ์ขันนั้นมีความสอดคล้องกับตรรกะของตลกในเรื่องของก ารเล่นตลกกับภาษา, การเล่นตลกกับสามัญสำนึก , การเล่นตลกกับอารมณ์ความรู้สึก และการเล่นตลกกับเรื่องในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้สิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องอารมณ์ขัน ก็คือ บริบททางการสื่อสารด้วย
สรุป
- ผลการศึกษาแสดงว่า การเล่นตลกกับภาษาเป็นกลวิธีที่มีความสำคัญในการทำให้เกิดอารมณ์ขันในงานวิจัยนี้
จากการประชุมวิชาการ
เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
30-31 มกราคม 2550 ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น