++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

การวิจัยเพื่อฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่เสื่อมโทรมในเขตพื้นที่อนุรักษ

การเร่งรัดให้เกิดกระบวนการฟื้นตัว ของป่าธรรมชาติ เป็นวิธีหนึ่งที่จะฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของป่าเสื่อมโทรมในเขต พื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาและทดสอบ “วิธีการใช้พรรณไม้โครงสร้าง” เพื่อฟื้นฟูป่าซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่เสื่อมโทรมในภาคเหนือของประเทศไทย โดยการคัดเลือกพรรณไม้ยืนต้นในท้องถิ่นประมาณ 20 – 30 ชนิด ที่มีคุณสมบัติสามารถแผ่กิ่งก้านปกคลุมวัชพืชได้อย่างรวดเร็ว และดึงดูดสัตว์ป่าที่ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ให้เข้ามาในพื้นที่ปลูกป่า ในเดือนมิถุนายน 2541 วางแปลงทดลองเนื้อที่ 12 ไร่ และทำการประเมินผล เดือนกรกฎาคม, พฤศจิกายน 2541 และมีนาคม 2542 ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน พบว่า ต้นไม้ที่ปลูกมีชีวิตรอดเฉลี่ยร้อยละ 81 โดยมีค่าตั้งแต่ร้อยละ 100 ในเลือดนก (Horsefiedia amygdalina) และแคหัวหมู (Markhamia stipylata) ลงมาถึงร้อยละ 45 ในมณฑาแดง (Manglietia garrettii) จากการวัดความสูง ในเดือนมีนาคม 2542 พบว่า ไม้ที่โตเร็วที่สุด คือ ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans), นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides), เลี่ยน (Melia toosendan), และมะคำดีควาย (Spondias axillaris) ความสูงโดยเฉลี่ย 135,134,133 และ 88 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงควบคุมที่ไม่มีการปลูกพบว่ามีการทดแทนทางธรรมชาติ น้อยมาก นอกจากการทดสอบการเจริญเติบโตของพรรณไม้ต่างชนิด และการทดสอบผลของปุ๋ยและวัสดุคลุมดินแล้ว ยังมีการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงชนิดของพรรณไม้ที่ปกคลุมดินและประชากรของ นกในแปลงทดลองดังกล่าว เปรียบเทียบกับแปลงควบคุมที่ไม่ได้ปลูกด้วย เทคนิคต่างๆที่ได้ปรับปรุงและพัฒนาขึ้นในโครงการวิจัยนี้ จะได้นำไปเผยแพร่แก่ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการปลูกป่า โดยการเผยแพร่ทางการพิมพ์ การอบรม และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในปี 2542 และ 2543 ต่อไป

คณะผู้วิจัย - สตีเฟน เอลเลียต, พุฒิพงศ์ นวกิจบำรุง, เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ, สุดารัตน์ ซางคำ, เจ. เอฟ. แม็กเวล, ไพบูลย์ เศวตมาลานนท์ และ วิไลวรรณ อนุสารสุนทร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น