++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

การพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วมกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน โดยการประยุกต์ใช้แบบจำลอง โครงข่ายใยประสาทเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

นลินี จำนงค์พล
สาขาวิศวกรรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
มหาวิทยาลัยรังสิต

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำโครงข่ายใยประสาทเทียมมาประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์ระดับน้ำสำหรับการวางแผนหรือการเตือนภัย
พื้นที่ศึกษา คือ ลุ่มน้ำปิง บริเวณใต้เขื่อนภูมิพล
ลุ่มน้ำน่าน บริเวณใต้เขื่อนสิริกิตต์ ลุ่มน้ำยม
และบริเวณสถานีวัดระดับน้ำ C2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์
โดยมีสถานีวัดระดับน้ำที่ศึกษารวมทั้งหมด 20 สถานี
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย
ข้อมูลระดับน้ำรายวันและข้อมูลฝนรายวันตั้งแต่ปี
พ.ศ.2535 – 2545 ส่วนข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบคือ
ข้อมูลระดับน้ำรายวันในปี พ.ศ.2547
โดยแบบจำลองโครงข่ายใยประสาทเทียมที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ได้ทำการปรับปรุงและพัฒนามาจากภาษา Java ชื่อโปรแกรม
คือ Water Level Forecasting 1.0 (WLF 1.0)
ผลการพยากรณ์ระดับน้ำ พบว่า
ค่าความผิดพลาดของช่วงการเรียนรู้และการทดสอบมีค่าเท่ากับ
0.042 และ 0.053 เมตรตามลำดับ
ส่วนค่าความผิดพลาดในการพยากรณ์ระดับน้ำในปี พ.ศ. 2544
อยู่ระหว่าง 0.040 – 0.080 เมตร นอกจากนี้
ยังพบว่า
ประสิทธิภาพในการพยากรณ์ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
โดยมีค่าดัชนีวัดประสิทธิภาพของโครงข่ายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ
95-99% แสดงให้เห็นว่า
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลและการวิเคราะห์สภาพอุทกวิทยาของพื้นที่จะทำให้การพยากรณ์มีประสิทธิภาพมากที่สุด


จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา
ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์
มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น