Excellent Service for Raja Ferry company Limited
ดร.เกสรา สุขสว่าง และอภิชาติ ชโยภาส
สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการบริการที่เป็นเลิศของบริษัท ราชาเฟอร์รี่ จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเรือเฟอร์รี่ของบริษัทราชาเฟอร์รี่ จำกัด จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และประเภทลูกค้า (ชาวไทยและชาวต่างประเทศ)
2) สภาพการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการบริษัทราชาเฟอร์รี่ จำกัด จำแนกตามอายุ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประสบการณ์การทำงานกับบริษัทราชาเฟอร์รี่ จำกัด และประสบการณ์ทำงานกับองค์กรอื่น
3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาธุรกิจการให้บริการของเรือเฟอร์รี่สู่ความเป็นเลิศ
ก ลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ใช้บริการเรือเฟอร์รี่ของบริษัทราชาเฟอร์รี่ จำกัด ในเส้นทางดอนสัก-เกาะสมุย-เกาะพงัน จำนวน 400 คน และกลุ่มพนักงานผู้ให้บริการของบริษัทราชาเฟอร์รี่ จำกัด จำนวน 362 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way Analysis of variance)
ผลการวิจัย
- ข้อมูลของผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุไม่เกิน 25 ปี ประกอบธุรกิจส่วนตัว จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 15,000 บาท เป็นประเภทบุคคลทั่วไปใช้บริการเองโดยลำพัง เดินทางเพื่อประกอบธุรกิจ/ ทำงาน ส่วนใหญ่ใช้บริการมากกว่า 10 ครั้ง ใช้บริการเส้นทางดอนสัก-สมุย ผู้ใช้บริการเรือเฟอร์รี่ของบริษัทราชาเฟอร์รี่ จำกัด มีความพึงพอใจในการบริการด้านอาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความน่าเชื่อถือและคุณภาพของการบริการ ด้านความรวดเร็วในการบริการ ด้านความเชื่อมั่นในความรู้ อัธยาศัยไมตรีและความปลอดภัย ด้านความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า ในระดับปานกลาง
ข้อมูลของพนั กงานผู้ให้บริการ พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานผู้ให้บริการเป็นเพศชาย มีอายุต่ำกว่า 30 ปี จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี สถานภาพโสด มีประสบการณ์การทำงานกับบริษัทราชาเฟอร์รี่ จำกัด ต่ำกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์การทำงานกับองค์กรอื่นต่ำกว่า 5 ปี พนักงานผู้ให้บริการ มีสภาพการปฏิบัติงาน ด้านวิสัยทัศน์ในการให้บริการและด้านการตอบสนองอย่างเต็มใจและรวดเร็วในระดั บมาก ส่วนด้านทักษะในการให้บริการ การเข้าใจลูกค้า ด้านการสร้างความเข็มแข้งในงานบริการและด้านการประเมินผลการบริการ พนักงานผู้ให้บริการมีสภาพการปฏิบัติงานในระดับกลาง
จากการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา
ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น