พิบูลย์ พหุลรัตน์พิทักษ์
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจถึงหน่วยประกอบที่ดีของภาพปกนิตยสารท่องเที่ยวในการรับรู้ของ นักวิชาชีพวารสารศาสตร์ นักวิชาการถ่ายภาพ และผู้รับสาร จำนวน 12 คน โดยศึกษาจากภาพปกนิตยสารท่องเที่ยวจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) อสท 2) Nature Explorer 3) เที่ยวรอบโลก 4) Travel Guide ซึ่งวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2548 โดยใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ แนวคิดการถ่ายภาพเชิงสารคดี แนวคิดเกี่ยวกับภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ และการสร้างโครงความคิดของบุคคล (Personal Construct Approaches) และแนวคิดเรื่องตะแกรงกรองการรับรู้ (The Repertory Grid) เป็นแนวทางหลักในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล
ผลจากก ารวิจัย พบว่า หน่วยประกอบที่ดีของภาพปกนิตยสารท่องเที่ยวในการรับรู้ของนักวิชาชีพวารสารศ าสตร์ นักวิชาการถ่ายภาพ และผู้รับสาร ได้แก่ ภาพปกที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1) ภาพปกมีการใช้หลักการจัดองค์ประกอบเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1.1) สีสันของภาพสามารถสื่ออารมณ์เข้ากับเรื่องราวของเหตุการณ์กิจกรรมการท่องเที ่ยว 1.2) การจับจังหวะแสดงความเคลื่อนไหวของภาพได้อย่างมีชีวิตชีวา 1.3) การจัดองค์ประกอบภาพอย่างเหมาะสมเพื่อแสดงทัศนมิติของภาพ (Perspective) 1.4) การใช้เทคนิคเพื่อเน้นรูปทรงของประธานภาพ (Silhouette) 2) เนื้อหาของภาพปกจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการท่องเที่ยว ประอบด้วย 2.1) การนำเสนอภาพความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวโดยรวม 2.2) การใช้คนเป็นองค์ประกอบในการสร้างอารมณ์และเรื่องราวของภาพ 2.3) ภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และ 3) ภาพที่เปิดพื้นที่ว่างเพื่อเอื้ออำนวยต่อการบรรณาธิกรณ์
จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น