++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ถาม : คนดีวัดได้อย่างไร ใครคือคนดี




ท่านชยสาโรตอบ : คำว่าดีเป็นคำสามัญมาก แต่ก็เป็นคำลึกซึ้ง เพราะเป็นคำที่เราใช้ในหลายกรณี อย่างเช่น เป็นลูกที่ดี เป็นพ่อที่ดี เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ดี เป็นคนปล้นธนาคารที่ดี หรือเป็นคอมมิวนิสต์ที่ดี
เลยไม่รู้ว่าคำว่าดีคืออะไรกันแน่ เราคิดว่าคนนั้นดีนะ แต่เขาดีอย่างไรไม่รู้ รู้แต่ว่าเราชอบเขา

... คนนั้นไม่ดีนะ เราไม่ชอบ เลยว่าเขาไม่ดี ถ้าเราชอบก็ว่าดี ถ้าเราไม่ชอบก็ว่าไม่ดี

แต่ถ้าเราต้องการคำจำกัดความที่เป็นสากล เราต้องกำหนดสิ่งสูงสุดหรือเป้าหมายสูงสุด เมื่อเราตั้งเป้าหมาย แล้วสิ่งใดที่จะเอื้อต่อการเข้าถึงเป้าหมายนั้นเรียกว่าดี ในกรณีนั้นสิ่งที่เป็นอุปสรรคและทำให้เราห่างออกจากเป้าหมายนั้นก็คือสิ่งไม่ดี

ถ้าเราต้องการเป็นผู้ปกครองที่ดี เป็นพ่อที่ดี เป็นแม่ที่ดี ก็ต้องมาตกลงกันก่อนว่าอะไรเป็นคุณธรรมหรือเป็นพ่อเป็นแม่ในอุดมการณ์ เป็นพ่อที่สมบูรณ์แบบ เป็นแม่ที่สมบูรณ์แบบตามความเชื่อของเรา เมื่อเราได้คำตอบแล้ว เราก็มีเครื่องวัดว่า ทำอย่างนั้นดีนะ ทำอย่างนี้ดีนะ คือมันสอดคล้องกับเป้าหมายหรืออุดมการณ์ หรือไม่สอดคล้องกันอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ดี

พุทธศาสนาเราถือว่าสิ่งสูงสุดคือการพ้นจากทุกข์พ้นจากกิเลส เพราะฉะนั้น การกระทำ การพูด การคิดอย่างไรที่ทำให้เกิดกิเลสหรือความทุกข์ลดน้อยลงแปลว่าดี

สิ่งไหนที่เป็นการเพิ่มความทุกข์ เพิ่มกิเลส แปลว่าไม่ดี

นี่ก็ตามหลักพุทธศาสนา เราจะเอาความคิดหรือความรู้สึกของคนอื่นมาเป็นหลักไม่ได้ เพราะถ้าเราอยู่ในสังคมมิฐฉาทิฐิ คนที่มีสัมมาทิฐิก็จะโดนคนอื่นว่าๆไม่ดีนะและเขาจะไม่ให้เกียรติ เพราะเขาจะยกย่องคนไม่ดี ว่า ดี

แต่คนดีในความหมายของพุทธศาสนาที่ยึดเอาความทุกข์และกิเลสเป็นหลักนั้น ไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของคน เพราะมีกฎตายตัว

ฉะนั้นเมื่อเราทำความดีแล้ว คนอื่นจะยอมรับหรือไม่ยอมรับก็ตาม ความดีนั้นก็ยังเป็นความดีเหมือนเดิม

หรือถ้าเราทำความชั่ว คนอื่นจะตำหนิติเตียนหรือคนอื่นจะว่าดี ก็เป็นเรื่องของเขา ความชั่วนั้นก็ยังเป็นความชั่วเหมือนเดิม นี่เป็นหลักการทางพุทธศาสนา

จากหนังสือคลายปม ท่านชยสาโร หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๖ดูเพิ่มเติม
แนะนำสถานที่ปฏิบัติธรรมและแชร์คำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์สายวัดป่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น