++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ฝรั่ง กินฝรั่งทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ผิวพรรณดี ดูอ่อนกว่าวัย

ฝรั่ง กินฝรั่งทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ผิวพรรณดี ดูอ่อนกว่าวัย
ฝรั่ง 1000 มิลลิกรัม (1 ขีด) มีวิตามินซีสูงถึง 180 มิลลิกรัม วิตามินซีมีบทบาทในการสร้างคอลลาเจน ที่ทำให้ใบหน้าเต่งตึงไม่แก่ก่อนวัย และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อนุมูลอิสระเป็นสารที่ทำให้คอลลาเจน และอีลาสติกเสื่อมสภาพ ผิวหนังเหี่ยวแห้ง เกิดริ้วรอยตีนกา วิตามินซีมีความสำคัญต่อการสร้างและบำรุงเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์นับล้านตัวเกาะเกี่ยวกันเป็นร่างกายได้ด้วยเนื่อเยื่อที่เรียกว่า คอลลาเจนี มันคือ คอลลาเจนตัวเดียวกับคอลลาเจน ที่ทำให้ผิวพรรณบนใบหน้าเต่งตึงนั่นเอง

สรรพคุณทางยา : ส่วนที่ใช้ : ใบ ผล ราก
- ใบ ใช้ใบสด ประมาณ 10-15 ใบ นำมาผิงไฟให้เกรียมแล้วต้ม หรือชงน้ำรับประทาน เป็นยาแก้โรคท้องเดิน โรคบิด แก้ปวดเบ่ง หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำใช้ล้างบาดแผล หรือใช้กากพอกบริเวณแผลช่วยถอนพิษบาดแผล หรือใช้ใบที่สด ประมาณ 6-7 ใบ นำมาเคี้ยวอม หรือนำมาใส่ในตู้เย็น ช่วยระงับกลิ่นเหม็น

- ใบดับกลิ่นปาก ใบฝรั่งมีน้ำหอมระเหย ช่วยกลบกลิ่นอาหารที่อยู่ในปากใบฝรั่งยังช่วยบำรุงรักษาเหงือกและฟันให้แข็งแรงด้วยดับกลิ่นปากให้เคี้ยวใบฝรั่ง 3 ใบ หรือ 3 ยอดหลังกินอาหารเสร็จใหม่ๆหรือเมื่อต้องการกลบกลิ่นปาก เคี้ยวให้ละเอียด อมไว้นานๆแล้วค่อยบ้วนทิ้ง

- ผล ใช้ผลอ่อน ประมาณ 1 ผล นำมาฝนกับน้ำปูนใสใช้รับประทานเป็นยาแก้อาการท้องเดิน

- ราก ใช้รากนำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยดูดน้ำเหลือง น้ำหนอง ทำให้แห้ง

ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ลักษณะผิวเปลือกของ ลำต้นเรียบเกลี้ยง กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม
ใบ : ลักษณะของใบเป็นใบหนา หยาบ ใต้ท้องใบเป็นริ้วเห็นเส้นใบได้ชัด และมีขนขึ้นนวลบาง ขนาดของใบยาวประมาณ 2-5 นิ้ว กว้างประมาณ 1.5-3 นิ้ว
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ในช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 3-5 ดอก ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็ก มีสีขาวอมเขียวอ่อน ๆ กลีบเลี้ยงแข็งมีความคงทนมาก
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปต่างกัน ตามลักษณะของพันธุ์ และชนิดของมัน แต่ลักษณะของผิวเกลี้ยงเรียบ ผลเมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียวแก่ หรือเขียวอ่อน แต่เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีกลิ่นเหม็น และข้างในผลหนึ่งมีเมล็ด เป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ แข็ง มีจำนวนมาก

ชื่ออื่น ๆ : มะก้วย (เชียงใหม่), มะมั่น (ลำปาง), มะก้วยกา, มะสีดา (ภาคเหนือ), มะก้วยเปา (ลำพูน), มะจีน, มะปุ่น (สุโขทัย-ตาก), มะกา (แม่ฮ่องสอน), สีดา (นครพนม), จุ่มโป่ (สุราษฎร์ธานี), มะแกว (แร่), ชมพู่ (ตานี), สีดาขาว (อุบล), ยะรัง (ละว้า-เชียงใหม่),
ย่าหมู, ย่ามู (ภาคใต้), ยะมูบุเตบันเยา, มะปุ้ม, ชมพู่ (มลายู-นราธิวาส), ปั้กเกี๊ย (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Guava
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava Linn.
วงศ์ : MYRTACEAE
********** ***********
เครดิต เรื่อง: ชีวอโรคยา เรียบเรียงจาก สมุนไพรดอทคอม /สรรพคุณผลไม้ไทย /ไทยสมุนไพรดอทเน็ต
ภาพ: ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

แบ่งปันความรู้ทั่วไป เพื่อความพอเพียง และสุขภาพที่ดี โปรดใช้วิจารณญาณ และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

ชีวอโรคยา อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีไม่พึ่งสารเคมี ไม่ต้องรอให้ป่วยไปเสียค่ารักษาพยาบาลแพงๆ

ติดตามข้อมูลข่าวสารการดูแลตัวเองวิถีธรรมชาติ ไม่พึ่งสารเคมีได้ที่ Facebook ชีวอโรคยา
www.facebook.com/pages/ชีวอโรคยา/135957369811772

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น