++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การตัดสินกรณีปราสาทพระวิหารของยูเนสโก ถือว่าผิดปกติที่สุด

Copied from Khun Araya

นับตั้งแต่มีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเมื่อปี 2515 การตัดสินกรณีปราสาทพระวิหารของยูเนสโก ถือว่าผิดปกติที่สุด

ย ูเนสโกมีองค์กรอิสระ ICOMOS (International Council on Monuments and Sites) ทำหน้าที่สำรวจและประเมินองค์ประกอบต่างๆในเชิงประวัติศาสตร์ของมรดกโลกที่ข อขึ้นทะเบียน
ในกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างประเทศเกี่ยวกับมรดกโลกที่เสนอม า การพิจารณาของยูเนสโกทำได้หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจ ัง (“active support”)

หลังจากกัมพูชาเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกต่อยู เนสโกเมื่อต้นปี 2549 ICOMOS ได้ดูแลตามภารกิจเสร็จสิ้นไปแล้วทั้ง 6 เกณฑ์ (CRITERIA) ขององค์ประกอบปราสาทเขาพระวิหารทั้ง "Site" ตั้งแต่ก่อนมีการประชุมที่นิวซีแลนด์กลางปีที่แล้ว ซึ่งที่นั่นไทยยืนยันขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกับกัมพูชา หาไม่แล้ว จะไม่สนับสนุน ตามสิทธิ์

กัมพูชาจึงหันไปจ้าง “กรรมการ 7 ชาติ” (จริงๆแล้วคือสถาบัน ANPV - Autorite Nationale pour la Protection et le Developpement du site culturel et naturel de Preah Vihear) มารับเหมาสำรวจซ้ำระหว่างเดือนกันยายน 2550 - มกราคม 2551

[ANPV มีกรรมการหลัก 4 ชาติ: Belgium, United States of America, France, India เป็นหลัก อีก 3 อยู่ในประเภทรับจ๊อบ มี จีน ญี่ปุ่น ไทย]
งานนี้ ยูเนสโกเล่นด้วย รับลูกจากกัมพูชา ICOMOS ไม่เห็นด้วยอย่างมาก ทิ้งหลักการก่อนการประชุมครั้งที่ 31 (นิวซีแลนด์) ว่า ถ้าองค์ประกอบในการขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชาไม่ครบ 3 ข้อ เป็นมรดกโลกไม่ได้(ดู http://www.nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?newsid=30077382
ICOMOS opposed to listing of Preah Vihear, July 10, 2008 : Last updated 08:24 am)

22 พฤษภาคม 2551 ที่สำนักงานมรดกโลก ยูเนสโก ปารีส มาดามฟรังซัวศ์ ริเวียเร่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ จัดให้ นาย ซก อัน รองนายกฯ หัวหน้าคณะเจรจาของกัมพูชาแจ้งนายนพดล ว่า กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกแค่ตัวปราสาทเท่านั้น(CRITERION I “อัจฉริยภาพของฝีมือมนุษย์” ) ส่วน CRITERIA II – VI ตัดทิ้งไป ดังนั้นจึงไม่มีตรงไหนเกี่ยวข้องกับพื้นที่ทับซ้อน ว่าแล้วก็ขอเป็นฝ่ายร่างแถลงการณ์ร่วม นพดลตกลง อ้อ รวมทั้งให้ไป "วาด" แผนที่ด้วย นายนพดลกลับถึงเมืองไทยวันที่ 24 พฤษภาคม 2551 ให้สัมภาษณ์ว่าทางกัมพูชา “ยอมแล้ว” เป็นนัยยะว่า ไทยไม่เสียดินแดนใดๆ ไม่เกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.

นั่นแปลว่า กระบวนการขึ้นทะเบียนทั้งหมดได้ผิดเพี้ยนออกนอกกรอบ

8 มิถุนายน 2551 มีเอกสารสำคัญ 2 ชิ้น ส่งจากกัมพูชาถึงกระทรวงการต่างประเทศไทย
1. แผนที่ที่ทางกัมพูชาเขียนใหม่และมีลายน้ำลวงว่าแนวสันปันน้ำอยู่ใต้ตัวปราสา ท เพื่อลวงว่าทั้งเขาพระวิหารอยู่ในเขตไทย แต่สเกลทุกอย่างยึดต้นแบบแผนที่ฝรั่งเศสฉบับที่ขึ้นศาลโลก ดูเผินๆก็เป็นแผนที่เฉพาะตัวปราสาทธรรมดา
2. แถลงการณ์ร่วม 6 ข้อที่มาพร้อมกับแผนที่ระบุให้จัดการทำดินแดนกันชน (ตะวันออกกับใต้ปราสาท) กับ ที่จะต้องปักปันเขตแดน(เหนือกับตก) พื้นที่ 4 ทิศของตัวปราสาทตรงนี้กินบริเวณเกินพื้นที่ทับซ้อนเดิม (4.6 ตร.กม.) เป็นร้อยๆตารางกิโลเมตร ทั้งสองประเทศจะต้องส่งผลการตกลงให้ยูเนสโกทราบผ่าน ANPV เพื่อให้ทันการประชุมเดือนกุมภาพันธ์ 2552

เอกสารสำคัญ 2 รายการนี้ ทางฝ่ายไทยไม่ทักท้วง แก้ไข แต่แช่ไว้มิดชิดจนกระทั่งมาให้ ครม. รับทราบเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551
พ อรุ่งขึ้น นายนพดลก็ลงนาม แล้วส่งไปศูนย์มรดกโลก ยูเนสโกที่ปารีส เพื่อเข้า “Nomination File” ของกัมพูชา พร้อมที่เข้าประชุมที่เมืองกีเบค คานาดาในต้นเดือนกรกฏาคม
เรียบร้อยฮุนเซน/ยูเนสโก

เป้าหมายที่คณะ กรรมการมรดกโลกแห่งประเทศไทย ที่ควรกำหนดขณะนี้คือ บอกเลิกแถลงการณ์ร่วม ลว. 18 มิถุนายน 2551 และแผนที่อุบาทว์ของฝรั่งเศส ที่ทำให้สองประเทศทะเลาะกันมาหนึ่งร้อยปี โดยจับมือ ICOMOS เพื่อกลับลำทั้งกัมพูชาและยูเนสโกเพื่อสนับสนุนข้อเสนอของไทยที่จะขึ้นทะเบี ยนอีกไม่น้อยกว่า 2 เกณฑ์องค์ประกอบ อาทิ ราบาย สะตราว บันได สถูปคู่ ฯลฯ รอบตัวปราสาททั้ง 5 Gopura จนถึงบรรไดทางขึ้น
อารยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น