++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีชีวิตของมุสลิมในบ้านหัวฝาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

Sufficiency economy and the way of muslims’ life in Baan Houfai, Fang District, Chiangmai Province

ภาคินวัฒนช์ สุทธิผุย (Pakinnawat Suttipui)*
สมชาย องค์ประเสริฐ (Somchai Ongprasert)**
ดร.สมคิด แก้วทิพย์ (Dr. Somkit Kaewtip)***
ดร.ปราโมช ศีตะโกเศศ (Dr.Pramot Seetakoses)***

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ของมุสลิมในบ้านหัวฝายทุกครัวเรือน จำนวน 25 ครัวเรือน รวมทั้งความสอดคล้องของวิถีชีวิตกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วิธีการศึกษา คือ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ การสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เจาะลึกแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง การสนทนาพูดคุยทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า มุสลิมบ้านหัวฝายมีวิถีชีวิตด้านสังคม และวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับมาก คือ ร้อยละ 85.57 และ 86.22 ตามลำดับ มีวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับปานกลาง คือ ร้อยละ 66.33 และมีวิถีชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับน้อย คือ ร้อยละ 49.60

ABSTRACT

The study had been done with the following objectives 1) to investigate the way of social life, culture, economy, and the environment, of muslims in Baan Houfai, every the household , 25 amounts are household 2) to find out the coincident between the way of muslims’ life in Baan Houfai with philosophy of sufficiency economy. Methodology of this study using participant observation and non-participant observation, secondary data, focus group discussion, structure and non-structure in depth interview, formal and informal conversations. Data were analysed by qualitative and quantitative analysis. Results from study showed that their the way of social and culture life coincident with sufficiency economy at high level (85.57 and 86.22%, respectively). Their the way of economic life was coincident with sufficiency economy at moderate level (66.33%). Their the way of environment life coincident with sufficiency economy at less level (49.60%).

* สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้

** ภาควิชาดินและปุ๋ย คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

*** คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

**** ภาควิชาเทคโนโลยีทางสัตว์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น