++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร (๖ ก.พ. ๕๓)

... อาทิตย์ที่แล้วอาตมาคุยกับชาวอเมริกันคนหนึ่งที่อยู่ในเมืองไทย เขามีบ้านอยู่ที่เชียงใหม่ แกเคยเป็นบาทหลวงตั้งหลายสิบปี แต่ตอนหลังเกิดเสียศรัทธาแล้วออกจากศาสนาคริสต์ ไปอยู่เชียงใหม่ บ้านก็เต็มไปด้วยพระพุทธรูป สวยงามมาก บ้านเหมือนพิพิธภัณฑ์ แกเล่าว่า นอกจากเป็นบาทหลวงแล้วแกยังเคยเป็นนักเปียโน ซึ่งในทัศนะของแก เพลงที่ถือเป็นสุดยอดก็มีเพลงของโชแปง



ประวัติพระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ

นามเดิม : ฌอน ชิเวอร์ตัน (Shaun Chiverton)

พ.ศ. 2501 : เกิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อยังเล็กมีสุขภาพไม่ดี มีอาการหอบหืด ต้องหยุดโรงเรียนบ่อย จึงใช้เวลาในการศึกษาด้วยตนเอง ท่านสนใจว่าอะไรคือสิ่งสูงสุดที่เราจะได้จากการเป็นมนุษย์ อะไรคือความจริงสากลที่ไม่ขึ้นอยู่กับสมมุติของแต่ละสังคม ทำไมคนเราอยากจะอยู่อย่างเป็นมิตรแต่กลับรบราฆ่าฟันกันอยู่เรื่อยไป

เมื่อไปโรงเรียน เป็นนักเรียนที่ช่างคิด ช่างค้นคว้า และมีผลการเรียนที่ดีเยี่ยมจนโยมบิดามีความหวังให้เข้าสอบชิงทุนเพื่อเรียน ต่อในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในประเทศอังกฤษ

เมื่อศึกษาอยู่ได้อ่านหนังสือมากมายหลากหลาย จนกระทั่งพบคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาว่าเป็น "สัจธรรมความจริง" ที่กำลังแสวงหาอยู่ จึงสนใจการฝึกจิตและศึกษาหาความรู้ทางพุทธศาสนาตั้งแต่อยู่ในวัยรุ่น

ท่านทำงานเก็บเงินระหว่างที่กำลังเรียน และออกเดินทางหาประสบการณ์ในประเทศต่างๆ ตั้งแต่อายุ 17 ปี ใช้เวลา 2 ปี จนแน่ใจว่าการศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นหนทางที่ต้องการแทนการเรียนต่อในมหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2521 : ได้พบและเริ่มปฏิบัติกับอาจารย์สุเมโธ (พระราชสุเมธาจารย์ ในปัจจุบัน และเป็นพระชาวต่างชาติรูปแรกที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อชา) ที่วิหารแฮมสเตด ประเทศอังกฤษ และได้ถือเพศเป็นอนาคาริก (ปะขาว) อยู่กับท่านอาจารย์สุเมโธ ถือศีล 10 เป็นเวลา 1 พรรษา แล้วเดินทางมายังประเทศไทย

พ.ศ. 2522 : บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. 2523 : อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดหนองป่าพง โดยมีพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. 2529-2539 : เป็นรองเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีท่านพระอาจารย์ปสันโน เป็นเจ้าอาวาส

พ.ศ. 2540-2544 : รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี แทนท่านพระอาจารย์ปสันโน ซึ่งได้รับนิมนต์ไปตั้งวัดสาขา คือ วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบัน : พำนัก ณ สถานพำนักสงฆ์ บ้านไร่ทอสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ก่อนเดินทางมาประเทศไทย ท่านได้ตั้งใจว่าจะอยู่ที่วัดหนองป่าพง ให้ครบ 5 ปี โดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อศึกษาปฏิบัติธรรม เมื่อมาพบหลวงพ่อชา ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาและความเป็นครูที่มีทั้งเมตตา และปัญญาในการสอนอย่างลึกซึ้ง จึงสามารถทนต่อความยากลำบากในการปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตแบบพระวัดป่า ที่เข้มงวดในวินัย และการฝึกปฏิบัติตามรอยพระพุทธเจ้า และการอยู่ร่วมกับคณะสงฆ์ชาวไทยจนเกิดความก้าวหน้าและเบิกบานในธรรม แนวการสอนของหลวงพ่อชาเน้นการปฏิบัติการรักษาศีล และข้อวัตร ความอดทน ความเพียร การใคร่ครวญหลักธรรม และน้อมมาสู่ใจให้เฝ้าสังเกตจนรู้ทันอารมณ์ของตนเอง และสามารถใช้สติปัญญาในการสร้างประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นพร้อมกันไป
ทีนี้ บางบทบางเพลงของโชแปง แม้แกจะมีความรู้ทางเทคนิคพร้อม รู้โน้ตทุกตัว แต่แกก็ไม่สามารถเล่นเพลงได้ เพราะอะไร ... เพราะการจะเล่นเพลงให้ได้อย่างโชแปงนั้น ผู้เล่นต้องมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงพอ ดังนั้น ด้วยประสบการณ์ในการเล่นที่ยังน้อย กล้ามเนื้อของแกยังไม่แข็งแรงพอที่จะเล่นเพลงนั้นได้ ต้องฝึกอีกหลายปี กระทั่งกล้ามเนื้อแข็งแรงพอ แกจึงสามารถเล่นเพลงของโชแปงได้

แกสรุปให้ฟังว่าแม้ความรู้ทางวิชาการหรือทางเทคนิคจะรู้หมดเลย แต่ว่าร่างกายยังไม่พร้อม ยังไม่เอื้อ ก็ทำไม่สำเร็จ

ดังนั้น ถึงแม้ว่าเรารู้วิธีการทุกอย่าง แต่ว่ามันยังไม่พร้อมในตอนนี้ เราก็ยังทำไม่ได้ เรียกว่าความรู้มันเกินกำลังของกาย หากสรุปเข้ากับเรื่องของการปฏิบัติธรรมก็ว่า บางทีความรู้ทางธรรมมันเกินกำลังของจิต

เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงสอนให้เราเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเนื่องอาศัยกันหมด อย่างเช่น เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทั้งสี่ข้อ มีข้อสังเกตว่า ธรรมะทุกหมวดต้องมีตัวแทนของปัญญาอยู่เสมอ และมักจะเป็นข้อสุดท้าย

อย่างเช่น ในอิทธิบาท ๔ ...ข้อที่ ๔ "วิมังสา" ก็เป็นชื่อหนึ่งของปัญญา

ในพรหมวิหาร ๔ ..."อุเบกขา" ก็เป็นชื่อหนึ่งของปัญญา แต่เป็นปัญญาที่เกิดจากการศึกษา การพิจารณาเรื่องกฎแห่งกรรม

เราอยากให้คนอื่นมีความสุข ไม่ต้องการให้เขาเป็นทุกข์ มีความหวังดี แต่โอกาสที่จะช่วยให้คนอื่นมีความสุข มันก็มีจำกัด แล้วเวลาคนรอบข้างเราเป็นทุกข์ โอกาสที่จะช่วยดับทุกข์ ที่จะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ มันก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเสมอ

บางที เขาไม่เชื่อเรา หรือว่าเขายังติดมากเกินไป หรือว่ามันก็มีข้อขัดข้องต่างๆ ... เมื่อเป็นเช่นนั้น

เราก็ต้องยอมรับความจริงด้วย อุเบกขา อุเบกขาเหมือนกับเป็นเกียร์ neutral (N) ในรถยนต์

ก่อนจะเข้าเกียร์ก็ต้องกลับมาอยู่ neutral ก่อน การอยู่ neutral คือ การอยู่อย่างจิตใจปกติสุข

ในขณะที่เราไม่ประสบความสำเร็จในการทำความดีหรือการช่วยคนอื่น ก็ถือว่า เวลายังไม่พร้อม

หรือว่าตัวเรายังไม่พร้อม หรือว่าคนที่กำลังเป็นทุกข์เค้าไม่พร้อม



แต่เมื่อเราพยายามจะช่วยคนอื่นแล้วไม่ได้ผล ส่วนมากก็จะน้อยใจ เสียใจ ท้อแท้ใจ บางทีเบื่อหน่าย ...ไม่เอาแล้ว !

อย่างนี้ เรียกว่า เมตตาก็ไม่พอ เพราะว่าขาดอุเบกขาหนุนหลัง ...นี้ก็ไม่ใช่เวลาที่จะใช้เมตตา ต้องอยู่ด้วยอุเบกขาก่อน



แต่ในความอุเบกขานั้น ไม่ใช่ความเฉยเมย ไม่สนใจ ไม่เอาแล้ว! หากแต่พร้อมที่จะช่วยเมื่อไหร่ที่มันเหมาะสมที่จะช่วยได้ผล ระหว่างนี้เราต้องอาศัยอุเบกขา จึงจะไม่เป็นทุกข์กับความดี ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นทุกข์



ความดีก็ทำให้เราเป็นทุกข์ได้ถ้าเราขาดปัญญา หรือว่าใจร้อนเกินไป หรือใจเย็นเกินไป เป็นต้น

ปัญญา จะเป็นตัวบอกว่า กาลใดควรวางท่าทีอย่างไร



ฉะนั้น ธรรมะก็ต้องมาเป็นชุด แม้ศีล สมาธิ และปัญญา หรืออริยมรรคมีองค์แปด ก็ต้องมาเป็นชุดเช่นกัน

(จะแยกหรือเลือกปฏิบัติเป็นบางข้อมิได้) ... "

ที่มา: luangpudu.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น