นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) กล่าวเตือนให้ประชาชน ระวังอันตรายจากสภาวะฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนัก เพราะเกิดเหตุการฟ้าผ่าเนื่องจากการใช้มือถือขณะที่ฝนตก มีเพิ่มมากขึ้นในปี 2551 เมื่อเทียบกับปีก่อน และยังกล่าวอีกว่า หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีเหตุการฟ้าผ่าจนเสียชีวิตหลายรายจากการใช้มือถือ แต่ไม่เป็นข่าวตามสื่อต่างๆ เช่น กรณีฟ้าผ่าที่ อ.งาว จ.ลำปาง และที่เป็นข่าวที่จ.มุกดาหาร ฟ้าผ่านักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวออสเตรเลียเสียชีวิต ขณะเล่นน้ำตกตาดโตน โดยส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตจากเหตุการฟ้าผ่าเพราะการใช้มือถือนั้น จะมีลักษณะที่เหมือนกันอยู่ 2 ประการ คือ
1. ความประมาทที่จะไม่ปิดมือถือขณะที่ฝนตก โดยส่วนใหญ่จะสนใจเพียงแค่ว่า "ไม่ใช้งานก็พอแล้ว" แต่นั้นเป็นวิธีคิดที่ผิดอย่างมาก เพราะต่อให้เราไม่ใช้อย่างไรก็ยังมีโอกาสที่ผู้อื่นโทรเข้ามาได้ หรือเพียงแค่การรับข้อความ SMS,MMS หรือจะ GPRS ก็เพียงพอที่จะทำให้มือถือกลายเป็นสายล่อฟ้าได้แล้ว
เช่นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ฟ้าผ่าคนงานชาวกัมพูชาเสียชีวิต 3 ราย เพราะหนึ่งในผู้เสียชีวิตกำลังเชคข้อความในมือถือ หรือ ที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ชาวนาเข้าไปหลบฝนในกระท่อม และมีสายเรียกเข้ายังไม่ทันกดรับสาย ฟ้าก็ผ่าลงกระท่อมจนทำให้ผู้นั้นเสียชีวิต
2. ในปี 2549 สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์ได้รายงานผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์อังกฤษหรือ บริติช เมดิคอล เจอร์นัล (บีเอ็มเจ) ว่า การอยู่ในที่โล่งแจ้งและเปิดมือถือไว้ขณะเกิดพายุฝนก็อาจทำให้เกิดอันตรายจากฟ้าผ่าได้เช่นกัน พร้อมยกตัวอย่างกรณีที่หญิงสาวรายหนึ่งถูกฟ้าผ่าขณะใช้มือถือในสวนสาธารณะกลางเมืองจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนที่ประเทศจีน มีรายงานเช่นกันว่ามีผู้ถูกฟ้าผ่าขณะใช้มือถืออยู่บนท้องถนนในช่วงที่ฝนตกฟ้าคะนอง
เช่นเดียวกับที่รัสเซีย มีรายงานว่า ผู้หญิงคนหนึ่งถูกฟ้าผ่าเสียชีวิตขณะใช้มือถือในที่โล่งแจ้ง
เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง จึงควร "ปิด" โทรศัพท์มือถือในขณะที่เกิดฝนตกฟ้าร้อง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ทุ่งนา ชายหาด ลานกว้าง สนามกีฬา น้ำตก เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หรือใต้ต้นไม้สูง เสาไฟฟ้าหรือรั้วกำแพง ที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ จะเป็นการดีนะครับ
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งที่มา:
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น