(วางเฉย...หมายถึง อุเบกขา)
โดยธรรมชาติของคนเรามัก...”ได้ยินที่หู...แต่รับรู้ที่ใจ...” เออนี่...(ยิ้ม..ยิ้ม..)
มันแปลกเน๊อะ มันเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ของคนเรา ที่ได้ยินที่หู...แต่รับรู้ด้วยใจ
แล้วเกิดสุข...หรือเกิดทุกข์ทันทีที่รับรู้ที่ใจ
สุข เท่ากับ ความรู้สึกพอใจ มีคนชมสวยหล่อ... (ชอบและทนได้)
ทุกข์ เท่ากับ ความรู้สึกไม่พอใจ รู้สึกอึดอัด มีคนนินทาว่าร้าย
(ไม่ชอบและทนไม่ได้)
หากว่า...เมื่อใดเราทานอาหารอิ่มมากแล้ว เรายังจะทานต่ออีกไหม...
ทั้งที่อาหารที่รสชาติดี ๆ ยังมีอีก มันอิ่ม...เมื่อมันอิ่มเราก็หยุด
เราจะรู้สึกสบายกาย รู้สึกสบายใจ...
วันนี้...วันพระ ”ใจ” มันอิ่มแล้วจากสุข...พอแล้วจากทุกข์ หันมาหา...
”สิ่งที่ไม่สุข...สิ่งที่ไม่ทุกข์”
การวางเฉย (อุเบกขา) เราวางเฉย...แต่ไม่วางทิ้งต่อหน้าที่การงาน
หมายถึง สิ่งที่ควรวางก็วาง..ไม่ใช่วางในสิ่งที่ไม่ควรวาง..วางแบบผู้ที่ใช้ปัญญา
ฉะนั้น วันนี้...วันพระ...
ขอให้เธอ...เธอ ทั้งหลาย น้อมกาย น้อมวาจา น้อมใจ ตั้งใจปฏิบัติตามที่เธอ
พอจะทำได้หรือมากกว่านี้นะเธอ...
๑.อาหารให้รับประทานแต่พอดี เพื่อให้กายไม่อึดอัด ใจจะได้ไม่ทุกข์
๒.วาจาให้แต่พอดี เพื่อให้มีสติมากขึ้น
๓.ปฏิบัติสมาธิ สำรวมใจให้เป็นกลาง ๆ คือวางเฉย เพื่อให้ใจสงบจาก
“กิเลส” ทั้งหลาย ทั้งปวง
เมื่อใจอิ่มแล้วจากสุข...พอแล้วจากทุกข์ นี่คือ "...วางเฉย...แต่ไม่เฉยเมย..."
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น