++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บทความ-สารคดี เชิญ อัญเชิญ นิมนต์ อาราธนา เผดียง อังคาส โดย กาญจนา นาคสกุล

บทความ-สารคดี
เชิญ อัญเชิญ นิมนต์ อาราธนา เผดียง
อังคาส
โดย กาญจนา นาคสกุล
ฉบับที่ 2544 ปีที่ 49 ประจำวัน อังคาร ที่
22 กรกฎาคม 2546
เชิญ
เป็นคำกริยา เป็นคำขอให้ผู้ใดผู้
หนึ่งทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ด้วยความ
เคารพ หรือด้วยความสุภาพอ่อนน้อม
เช่น มีคนมาหาคุณพ่อดิฉันได้
เชิญไปที่ห้องรับแขกแล้วค่ะ
เราจัดงานวันเกิดให้คุณแม่และได้
เชิญเพื่อนๆ ของท่านมาร่วมงานหลายคน
คำว่า เชิญ ใช้เป็นคำนำหน้ากริยาแสดง
ความสุภาพอ่อนน้อม เมื่อพูดกับผู้ใหญ่
หรือผู้ที่ควรได้รับความเคารพนับถือให้
ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เชิญแขกผู้
มีเกียรติรับประทานอาหารได้แล้วค่ะ
เชิญกรรมการทุกคนเข้าห้องประชุม
เชิญลงคะแนนได้แล้วครับ เชิญค่ะ
เชิญพักผ่อนตามสบาย เชิญท่านก่อนค่ะ
คำว่า เชิญ มีอีกความหมายหนึ่งว่า ถือ อุ้ม
ชู ยก หรือนำไป เมื่อใช้กับ
สิ่งที่ควรเคารพบูชา เช่น ในการใช้
ราชาศัพท์ว่า เชิญเครื่องเสวย
เชิญพระแสง ใช้กับสิ่งที่ควรยกย่องเชิดชู
เช่น เชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา หรือใช้กับ
สิ่งสำคัญ เช่น เชิญขันหมาก เชิญบายศรี
คำว่า เชิญ เป็นคำยืมจากภาษาเขมรว่า
อญฺเชิญ เป็นคำสุภาพที่ใช้
นำหน้ากริยาเพื่อแสดงความอ่อนน้อม
ไทยรับมาใช้ และได้แบ่งเป็นคำ ๒ คำ คือ
เชิญ กับ อัญเชิญ
อัญเชิญ
เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาเขมร เขมรใช้
เป็นคำสุภาพนำหน้ากริยาเพื่อแสดงความ
อ่อนน้อม เมื่อพูดกับผู้ใหญ่หรือผู้
ที่ควรเคารพ ในภาษาไทย อัญเชิญใช้ใน
ความหมายว่า ถือ อุ้มชู ยกไป นำไป เมื่อ
ใช้กับสิ่งที่ควรเคารพบูชา เช่น
อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานใน
โบสถ์ และใช้ในความหมายว่า เชื้อเชิญ
นำหน้าคำกริยาเพื่อแสดงความ
เคารพเชิดชู เช่นเดียวกับในภาษาเขมร
เช่น อัญเชิญเสด็จพระราชดำเนิน
อัญเชิญเทพเทวามาอำนวยพร
อัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัยและ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพร
นิมนต์
เป็นคำกริยา แปลว่า เชิญ เชิญมา เป็น
กริยาที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ เมื่อเชิญให้
รับบิณฑบาต เช่น
นิมนต์หลวงพ่อรับบิณฑบาตก่อนเจ้าค่ะ
นิมนต์ใช้เป็นคำกล่าวเมื่อเชิญพระภิกษุ
ให้มาประกอบศาสนกิจในพิธีต่างๆ เช่น
เรานิมนต์ท่านเจ้าอาวาสเทศน์ ท่านมาถึง
แล้ว นิมนต์ท่านขึ้นมาข้างบนศาลาเถอะ
ดิฉันจะทำบุญที่บ้านจึง
ขอนิมนต์พระภิกษุ ๑๐
รูปมาเจริญพระพุทธมนต์และ
ฉันภัตตาหารเพลเจ้าค่ะ คำว่า นิมนต์ เป็น
คำยืมจากภาษาบาลี ว่า นิมนฺต แปลว่า
เชื้อเชิญ ในภาษาไทยถือเป็นสมณศัพท์
ใช้เฉพาะแก่พระภิกษุ เท่านั้น
อาราธนา
แปลว่า เชื้อเชิญ อ้อนวอน ขอร้องให้
ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ก่อนทำพิธีสงฆ์ใดๆ
พุทธศาสนิกชนจะอาราธนาศีล
กล่าวคำอ้อนวอนขอให้พระภิกษุให้ศีล
บทอาราธนาศีล คือบทที่ขึ้นต้นว่า มยํ
ภนฺเต วิสํ วิสํ รกฺขนตถาย ฯลฯ เมื่อรับศีล
แล้วต้องการให้
พระสวดมนต์บทพระปริตรก็อาราธนาพระ
ปริตร กล่าวบทที่ว่า วิปตฺติ ปติพาหาย
สพฺพสมฺปตฺติ สิทฺธิยา ฯลฯ เมื่อต้อง
การฟังธรรมก็จะอาราธนาธรรม
คือกล่าวคำขอให้
พระภิกษุสอนธรรมตามที่ต้องการด้วย
บทที่กล่าวว่า พฺรหมา จ โลกา วิปตฺติ
สหมฺปตฺติ ฯลฯ คำว่า อาราธนา จึงอาจจะ
แปลว่า ขอร้องให้กระทำกิจอย่างใด
อย่างหนึ่งให้แก่ผู้ร้องขอ
การไปเชิญพระภิกษุมาที่บ้านหรือมายัง
สถานที่ที่จัดไว้สำหรับทำพิธี เรียกว่า
นิมนต์ เมื่อจะทำบุญต้องไปนิมนต์พระมา
ยังที่ที่จะทำพิธีนั้น
เมื่อพระภิกษุมาตามกำหนดแล้ว จะให้
พระภิกษุทำอะไรก็ต้องอาราธนา
คือกล่าวคำขอให้ทำสิ่งนั้นๆ โดย
มีคำกล่าวอาราธนา เป็นภาษาบาลี
ตามที่โบราณจารย์ได้แต่งไว้นั้น
เผดียง
แปลว่า เชิญ เป็นคำที่ยืมมาจาก
ภาษาเขมร ผฺฎึง แปลว่า บอกให้ทราบ ใน
ภาษาไทยใช้เป็นคำในวรรณคดี และให้
เป็นศัพท์เฉพาะพระภิกษุสงฆ์ เช่น
เผดียงสงฆ์ ๑๐
รูปทาทำพิธีสะเดาะพระเคราะห์ ฯลฯ
อังคาส
แปลว่า ปรนนิบัติดูแลพระภิกษุใน
เวลาที่ท่านฉันภัตตาหาร โดย
ปกติเมื่อทำบุญเลี้ยงพระเจ้าของงานจะ
ถวายภัตตาหาร โดยใช้ ๒ มือยกของส่ง
ให้ถึงมือพระเรียกว่า ประเคน ถ้าเป็น
หญิงจะประเคนโดยตรงไม่ได้ ต้อง
ยกของวางบนผ้าซึ่ง
พระภิกษุจับปลายข้างหนึ่งไว้ ของใดยัง
ไม่ได้รับประเคนพระภิกษุจะฉันไม่ได้
เมื่อประเคนแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพ
หรือเจ้าของงานที่จะคอยดูแลช่วยเหลือ
ให้พระภิกษุฉันภัตตาหารได้อย่างสะดวก
และฉันได้เต็มที่ สิ่งใด
ขาดตกบกพร่องเจ้าภาพจะต้อง
คอยดูแลตักเติมให้ เพราะพระภิกษุไม่
สามารถเรียกร้องอะไรได้
การดูแลพระภิกษุใน
เวลาฉันภัตตาหารอย่างนี้ เรียกว่า
อังคาสพระ คำว่า อังคาส เป็นคำยืมจาก
ภาษาเขมร องฺคาส แปลว่า ถวายพระ
ประเคนพระ ในภาษาไทยใช้ในความ
หมายที่ต่างออกไปเป็นดูแลปรนนิบัติพระ
ในเวลาฉันภัตตาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น