++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จิตOมตะ ลุงหวีด บัวเผื่อน

การปฏิบัติของคุณลุงหวีดเริ่มต้นจากการมีสติสัมปชัญญะ
ท่าน ว่าถึงจะออกมาจากการภาวนาแล้วก็ “ต้องมีสติสัมปชัญญะคุ้มครองจิตใจของตนอยู่ตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ให้ปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเผลอสติ (การลืมตัว) ก็พยายามทำความรู้สึกหรือรู้ตัวทั่วพร้อมกันใหม่ เป็นอย่างนี้อยู่ตลอดเวลาโดยมีความเพียรเป็นหลักไม่ท้อถอยอ่อนแอ ไม่ไหลไปตามอารมณ์…”




แรกๆ ก็ทำไม่ได้แต่อาศัยความมุ่งมั่นและความพยายามที่จะปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นให้จงได้ จึงมีมานะพยายามที่จะเอาชนะใจของตนเอง
ด้วย วิธีนี้ “จึงสามารถครองสติไว้ได้ยาวนานขึ้นจากนาที เป็นสองสามนาที เป็นสิบนาที เป็นครึ่งชั่วโมง เป็นชั่วโมง เป็นวันโดยใช้เวลาไม่นานปีนัก”




ที่ ทำได้เพราะท่านมุ่งมั่นโดยตั้งปฏิญาณไว้กับตนเองว่า ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ก็ควรจะต้องมีสติอยู่ด้วย แต่ถ้าขาดจากสติสัมปชัญญะเสียแล้ว ก็ขออย่าได้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกเลย เพราะถ้าเราเอาชนะตนเองไม่ได้แล้วจะเอาชนะสิ่งอื่นๆ ได้อย่างไร…คนเราถ้าอยู่อย่างขาดสติสัมปชัญญะแล้วก็เหมือนกับเรือที่ขาดหาง เสือ




ท่านคอยเตือนตัวเอง คอยควบคุมให้มีสติคุ้มครองจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน




“ให้ จิตเป็นปกติ คือ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกเป็นธาตุแห่งอารมณ์ดีหรือชั่วทั้งหลาย พยายามไม่พูดในจิต ไม่คิดในใจ เมื่อตาเห็นรูปให้สักแต่ว่าเห็น เช่น เห็นป้ายโฆษณาก็ไม่อ่านในใจ มีสติอยู่กับสมาธิให้จิตเป็นอุเบกขา วางเฉยอยู่อย่างเบาๆ ไม่เดือดร้อนในสิ่งที่มากระทบใดๆ ทั้งสิ้น
วันหนึ่งๆ ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา หากเผลอตัวไหลไปตามอารมณ์นั้นๆ เมื่อรู้ตัวก็หยุดคิด หยุดปรุงแต่ง หยุดแสวงหา ให้จิตใจอยู่อย่างสบาย ไม่กังวล หยุดโกรธ หยุดโลภ หยุดปรารถนา”




ผลของการปฏิบัติเช่นว่า ในที่สุด จิตของก็เป็นสมาธิขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์




กล่าว คือ ภายในจิตใจไม่มีสังขารความคิดหรืออารมณ์ดีชั่วใดๆ มาก่อกวนเลย…บางครั้งจะคิดเรื่องการงานบ้าง แต่จิตกลับนิ่งเฉยเสีย ไม่ออกทำงานเลย ติดว่างอยู่อย่างนั้น ถึงกับต้องบังคับให้จิตออกมาคิดเรื่องอื่นๆ บ้าง ไม่เช่นนั้นจิตจะหยุดนิ่งเป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา…”




ท่านว่าตอนนั้นนอนใจคิดว่าที่เป็นอยู่ถูกต้องแล้ว ไม่รู้ว่า นี่คือการติดสมาธิ ผลคือ ติดความว่างอยู่ถึง 2 ปีเต็มๆ




แม้ จะส่งผลเช่นนั้น แต่คุณลุงก็ยืนยันว่า “อย่างไรก็ดีการปฏิบัติให้จิตเป็นสมาธินั้นเป็นทางเดินเบื้องต้นที่ถูกต้อง ท่านให้ชี่อว่า สมถกรรมฐาน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติ”




ท่าน ว่า การปฏิบัติต้องมีความเพียรเป็นหลัก ทุ่มเทกันด้วยชีวิตจิตใจไม่ท้อถอย ปฏิบัติดังนี้แล้ว จิตจะเกิดความชุ่มชื้นสงบเย็น ความภาคภูมิใจและความปีติสุขอย่างบอกไม่ถูก




จากสมถะก็เข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน คือ การพิจารณากายที่ยาววาหนาคืบนี้ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง




ใช่ ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เพราะ “จิตที่ติดอยู่สมาธิจะเพลินอยู่ในสมาธิ ยากจะออกมาพิจารณาจึงต้องบังคับจิตให้ออกมาทำงานทางด้านปัญญาบ้าง โดยต้องฝืนและบังคับซึ่งก็ไม่เป็นผลนักในตอนแรก แต่ก็จำเป็นต้องออกมาพิจารณาดังที่กล่าวมาแล้ว…”




ท่านแก้โดย ลองเอากรรไกรตัดผมตัวเองออกมาพิจารณาดู ตัดเล็บที่ปลายนิ้วทั้งสิบออกมาวางไว้กับพื้นแล้วพิจารณาดู




“พิจารณา วนเวียนไปวนเวียนมา ก็ไม่เห็นว่ามันจะเป็นเราไปได้…หากเราลอกหนังที่ปิดบังอยู่นี้ออกมาเพื่อ เปิดเผยความจริง เหมือนเราลอกหนังเป็ดหนังไก่หรือหนังกบก็คงจะเห็นเนื้อแดงๆ เลือดไหลซึม ไม่แตกต่างอะไรกับพวกซากศพ ผีเปรต…”




ความ รู้นี้แจกแจงลงไปเป็นธาตุ 4 ค่อยๆ เห็นความจริงขึ้นว่า “…กายคือกาย จิตคือจิต ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่เป็นความไม่รู้ของจิตเองที่ไม่รู้ความจริง แล้วก็ไปยึดถือร่างกายเป็นเรา…”




ท่าน พิจารณาจนนับครั้งไม่ถ้วน “จนบางครั้งจิตเป็นคนที่เดินไปเดินมานี้เป็นกระดูกที่ไม่มีเนื้อหนังหุ้ม อยู่ เห็นเพียงกระดูกเปล่าๆ ที่เดินไปเดินมาจึงสรุปได้ว่าจิตกับกายเป็นคนละส่วนกันไม่ปะปนกัน กายเป็นเพียงที่อาศัยชั่วคราวของจิตเท่านั้น จิตก็เริ่มยอมรับตามความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ…”




ท่าน ว่า เมื่อถึงการพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไปติดอยู่ที่การพิจารณาเวทนาอยู่นานมาก แม้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสไว้ว่า เวทนาก็ไม่ใช่เรา แต่พิจารณาอย่างไร จิตก็ไม่ยอมรับ เพราะรู้สึกอยู่กับตัวว่า ความปวดเมื่อยจากการทำสมาธินั้น “เราเป็นผู้ปวดเมื่อยทุกครั้งไป” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ยังคิดว่า “เวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา เป็นเนื้อเดียวกันหมด”




บัดที่จะทะลุขึ้นนี้ไปได้จู่ๆ มันก็เกิดขึ้นดังนี้




“วัน หนึ่งขณะที่จิตกำลังสงสัยอยู่ พิจารณาใคร่ครวญวกไปเวียนมาอยู่หลายรอบ เพื่อหาความจริงว่าเวทนาเป็นเราหรือไม่ ขณะนั้นเอง คล้ายกับเกิดนิมิตขึ้นในจิต เห็นเวทนาได้ลอยออกจากจิตของข้าพเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เวทนานี้ขาดออกจากจิตโดยสิ้นเชิง รู้สึกชัดเจนมาก เหมือนเราเอามีดไปฟันต้นกล้วยขาดกระเด็นออกจากกัน เวทนาเป็นสักแต่ว่าเวทนา เวทนานั้นก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นเวทนา เพราะเวทนา ไม่มีชีวิต ไม่มีจิตใจ เวทนาจึงเป็นเพียงขันธ์ๆ หนึ่งปรากฏขึ้นมา เป็นคนละส่วนกันกับธาตุรู้หรือจิต…”




คุณ ลุงจึงเปรียบเทียบไว้ว่า ธาตุรู้หรือจิตเป็น กระจก เวลาเวทนาเกิดขึ้น กระจกจะไปเจ็บได้อย่างไร เพราะธาตุรู้หรือจิตเป็นเพียงผู้เห็น แต่ไม่ใช่ผู้เจ็บ กระจกกับเวทนามันคนละอัน




ท่าน ว่า จริงๆ แล้วเราไม่ได้เจ็บ จิตไม่ใช่ผู้เจ็บ ความเจ็บมันมาจากสัญญาจำได้ ถ้าเราเป็นกระจก หากเวทนา เหมือนเม็ดพริกขี้หนู เม็ดพริกขี้หนูไม่รู้เลยว่าตัวเองเผ็ด เพราะไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจ และไม่มีเจตนาที่จะทำให้ใครเผ็ด ความเจ็บความปวด ก็ไม่มีชีวิตจิตใจเช่นเดียวกัน จึงไม่สามารถทำให้ใครเจ็บปวดได้




“หาก ไม่เข้าใจความจริงนี้ความเจ็บความปวดนั้นก็จะเป็นเรา คือเราเจ็บ โดยไม่สามารถแยกจากกันได้ แต่หากเข้าใจความจริงนี้แล้ว เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก ก็เป็นความจริงอันหนึ่ง อาการเจ็บก็เป็นเพียงอาการและความจริงอันหนึ่ง และธาตุรู้หรือจิตก็เป็นผู้รู้ซึ่งเป็นความจริงอีกอันหนึ่งเช่นกัน ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าความเจ็บความปวดเราเป็นของเราแต่อย่างใด”




สัญญา ก็ไม่แตกต่างจากเวทนา




สัญญา ก็เป็นสิ่งถูกรู้ ไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจเหมือนกัน เป็นของตาย คือ เกิดๆ ดับๆ แล้วจะ ไปยึดมั่นถือมั่นอะไรกัน สิ่งที่ติดตาติดใจ ก็คงจำได้นานหน่อยถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ติดใจก็ดับเร็วลืมเร็ว




สัญญาจึงไม่ใช่เราเหมือนกับเวทนานั่นเอง




สังขาร ความคิดความปรุงแต่ง ก็เป็นอาการและความจริงของตนอีกอันหนึ่งเช่นกัน คือคิดแล้วดับไป ปรุงแล้วดับไป




ปัญหา ของคุณลุงในข้อนี้ก็คงเหมือนกับนักปฏิบัติทั่วไปที่เข้าวัดแล้วบางทีก็อด ตำหนิติเตียนครูบาอาจารย์อยู่ในใจ แม้จะห้ามไม่ให้คิดแล้วบางทียิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ เมื่อนำปัญหานี้ไปปรึกษาครูบาอาจารย์ ท่านก็ได้แก้ไขปัญหาด้วยประโยคเดียว




ทันที ที่ครูบาอาจารย์ตอบว่า “ไม่เป็นไรหรอกโยม เพียงแต่โยมอย่าไปคิดว่าสังขารความคิดเป็นโยมก็แล้วกัน” คุณลุงว่า “ความรู้สึกของข้าพเจ้าในขณะนั้นเหมือนยกภูเขาออกจากอกโล่งไปหมด เข้าใจได้ในทันทีว่า สังขารความคิดมีอาการและความจริงเช่นนี้ บังคับไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งถูกรู้ เป็นคนละอันกับจิต เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นไตรลักษณ์อยู่อย่างนั้น”




เรื่อง ของวิญญาณ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้รับการสัมผัส ใจสัมผัสอารมณ์ เมื่อมีการกระทบกันทางอายตนะทั้ง 6 ดังกล่าวข้างต้น อาการของวิญญาณก็จะรับทราบการกระทบนั้นเป็นครั้งๆ เป็นเรื่องๆ ไป กระทบครั้งหนึ่งรับทราบครั้งหนึ่งแล้วก็ดับไป รับทราบแล้วดับ รับทราบแล้วดับ ไม่ใช่ธาตุรู้หรือจิต เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เช่นเดียวกัน




ทั้ง หมดนี้สรุปได้ว่า “ขันธ์ 5 ทั้งหมดมิใช่เรามิใช่ของเรา เป็นเพียงอาการของจิต มีธรรมชาติเป็นไตรลักษณ์ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ขันธ์ 5 เป็นเพียงสิ่งถูกรู้ และเราเป็นผู้รู้สิ่งเหล่านี้เท่านั้น”




เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวเราของเรา ปัญหาสำคัญตามมาคือ แล้วเราคืออะไรล่ะ?




คุณลุงว่าค้นอยู่นาน ที่สุดเมื่อถามครูบาอาจารย์ก็ได้คำตอบว่า “เราคือความรู้สึกหรือธาตุรู้”




“ธาตุ รู้นี้ไม่ใช่ความรู้ทั่วไปที่เราเรียนมาจากหนังสือไม่ใช่สิ่งที่เราเห็นด้วย ตา ได้ยินด้วยหู สัมผัสด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น และสัมผัสด้วยกาย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งถูกรู้ทั้งหมด จึงไม่ใช่ธาตุรู้ ธาตุรู้นี้มีอยู่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นในสามแดนโลกธาตุนี้ สิ่งอื่นๆ ทั้งหมดไม่ใช่ธาตุรู้ แม้แต่อารมณ์ที่สัมผัสได้ด้วยใจของเรานี้ ก็ยังไม่ใช่ธาตุรู้ แต่เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เท่านั้น นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจำเป็นจะต้องพิจารณาให้เห็นธาตุรู้นี้ให้ได้ เพราะธาตุรู้นี้แหละคือเรา ไม่ใช่รูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือวิญญาณ ที่ก่อนหน้านี้เห็นว่าเป็นเรา




ธาตุ รู้หรือจิตนี้ เราเกิดมานับอสงไขยไม่ถ้วน แต่กลับไม่เคยเห็นธาตุรู้ที่เป็นธรรมธาตุนี้มาก่อนเลย ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวไว้ว่า “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ หนอนไม่เห็นอาจม”




“จาก นั้นมาข้าพเจ้าจึงพยายามอยู่กับธาตุรู้ ถึงแม้ในตอนแรกจะขาดๆ หายๆ อยู่ได้เพียงหนึ่งนาทีสองนาทีก็หายไป เมื่อได้สติก็พยายามดึงกลับมาอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาหลับ ในที่สุดด้วยความเพียรอย่างยิ่งของข้าพเจ้าทำให้สามารถอยู่กับผู้รู้ได้มาก ขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่ได้ครบ 100% และสามารถอยู่กับธาตุรู้ได้อย่างอัตโนมัติ




ท่านว่า ติดอยู่กับผู้รู้เป็นเวลาสองปีเต็มๆ ในที่สุดพระอาจารย์ของคุณลุงก็มาเทศน์โปรดให้ปล่อยธาตุรู้




“โยมจะจับไว้ทำไมกันปล่อยไปเสียนะโยม ไม่มีสิ่งใดที่จะหนักเท่ารู้อีกแล้ว โยมจะจับไว้ทำไมกัน”




พอ ว่า “ผมปล่อยไม่เป็นหรอกครับอาจารย์ ปล่อยไม่ได้ ไม่รู้จะปล่อยอย่างไร” พระอาจารย์ก็หยิบหนังสือขึ้น แล้วก็ปล่อยลงมา “ปล่อยอย่างนี้แหละโยม ปล่อยได้ไหม”




แม้ ครูบาอาจารย์จะช่วยโปรดหลายหนมาที่บ้านถึง 7 ครั้ง ไปกราบที่สำนัก 3-4 หนก็ไม่ได้ผล เพราะปรารภกับตัวเองว่า “ธาตุรู้นี้เป็นชีวิตจิตใจแล้วเราจะปล่อยวางได้อย่างไร”




ครั้ง สุดท้ายเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2536 ขณะที่คุณลุงเตรียมตัวออกจากสำนักพระอาจารย์กลับบ้านในเวลา 4 โมงเย็น โดย “คิดอย่างน้อยเนื้อต่ำใจว่าชาตินี้คงไม่มีวาสนาที่จะสามารถปล่อยรู้ได้ ทันใดนั้นอาจารย์ได้กล่าวขึ้นว่า “โยม เวลามีสิ่งกระทบโยมก็ปล่อยรู้แล้วมาจับสิ่งที่มากระทบ แต่ในขณะที่ไม่มีสิ่งกระทบ โยมก็มาอยู่กับธาตุรู้อีก เอาอย่างนี้ได้มั้ยโยม เมื่อมีสิ่งกระทบ โยมก็ปล่อยทั้งสองอย่างไปเลย เวลานี้โยมเปรียบเหมือนหนอนคืบ เมื่อมาจับที่หัวก็ปล่อยหาง เมื่อจับหางก็ปล่อยหัว ให้โยมปล่อยทั้งสองอย่างไปเลยได้มั้ย”




“เท่า นั้นเอง ข้าพเจ้าถึงกับตะลึง สะดุ้งขึ้นในใจและขณะเดียวกันนั้น ทั้งธาตุรู้และสิ่งถูกรู้เหมือนมีพลังหนึ่งมาสะบัดอย่างรุนแรงธาตุรู้ และสิ่งถูกรู้นั้นกระเด็นออกไปทันที และเกิดธาตุรู้อีกตัวหนึ่งซึ่งเป็นรู้ภายใน คือตัวที่มองธาตุรู้ตัวแรกและสิ่งถูกรู้ที่กระเด็นออกไป ปรากฏเป็นรู้ปัจจุบันขึ้นมาทันที เป็นธาตุรู้ที่ไม่ต้องประคองไม่ต้องจับ ไม่ต้องกำหนด




“ธาตุ รู้นี้ไม่มีหาย ไม่มีเกิด ไม่มีดับ ธาตุรู้ตัวใหม่นี้เป็นอิสรเสรี โดยที่ไม่มีเราเป็นเจ้าของเหมือนแต่ก่อน เป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นปัจจุบันธรรม เป็นกลางๆ ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่อาศัย ไม่กินเนื้อที่ ปราศจากการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดทั้งสิ้น ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนมาก สมมติที่ฝังจมอยู่ในจิต คือธาตุรู้ตัวแรกนั้นดับไป ภพชาติทั้งหลายที่ติดแน่นอยู่ในจิตนานแสนนานได้ดับลงพร้อมกันในขณะนั้น อวิชชาดับไปโดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งประกาศชัยชนะเหนือกิเลสทั้งหลายอย่างขาวสะอาด ในสามแดนโลกธาตุนี้ไม่มีกิเลสที่จะก่อกวนอีกต่อไป ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นกลับตัวเป็นธรรมพร้อมกันหมดทั้งภายในและภายนอก




“ความ เป็นกลาง ความสะอาด ความบริสุทธิ์นั้น ก็หมายถึงจิตดวงนี้เอง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็คือ จิตดวงนี้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ซึ่งก็คือ การเห็นจิตที่บริสุทธิ์ ณ ปัจจุบันนั่นเอง




“จิต ที่บริสุทธิ์จึงเป็นจิตที่อยู่นอกเหตุเหนือผล เหนือสมมติ เหนือบัญญัติ เหนือเกิด เรียกว่า เป็นวิมุตติ หมดภาระ หมดสิ้นการงาน หมดคำพูด จึงหยุดแล้วปล่อยคำว่าหยุดลงเสียด้วย สมกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ‘ไม่มีธรรมใดที่ไม่เป็นโมฆะ’ นั่นหมายความว่า สมมติทั้งหลายที่เคยติดแน่นในจิตเมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสมมตินั้นแล้ว สมมติก็เป็นโมฆะหรือหมดความหมายไป”




คุณ ลุงหวีด บัวเผื่อน เพิ่งละสังขารไปแล้วเมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีพิธีประชุมเพลิง ณ วัดเขากระแจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี ทิ้ง “จิตที่พ้นจากทุกข์” ไว้เป็นหลักไมล์และป้ายบอกทางให้แก่ผู้ปรารถนาจะพ้นทุกข์ไว้ข้างหลังได้ ศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น