++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ฉบับรวมหลังการปะทะครั้งใหม่ ปีพ.ศ.๒๕๕๔

ฉบับรวมหลังการปะทะครั้งใหม่ ปีพ.ศ.๒๕๕๔
(ท่านที่จะอ่าน ขอความกรุณาอ่านให้จบ หรือข้ามบทความนี้ไปได้เนื่องจากมาความยาวพอสมควร หรือจะอ่านการคาดคะเนเหตุการณ์ตอนท้ายก็ได้)
ประวัติ ศาสตร์แห่งการสูญเสียดินแดน ให้กับการล่าอาณานิคมของจักรวรรดินิยมตะวันตก เป็นเหตุการณ์ที่ยังฝังอยู่ในความรู้สึกคนร่วมสมัยจำนวนไม่น้อย โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ไทยต้องสูญเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และดินแดนอื่นๆ ให้กับฝรั่งเศส ที่คุกคามสยามถึงขั้นนำเอาเรือปืนบุกแล่นฝ่าป้อมปืนที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาประชิดถึงตัวพระราชวังได้ และทำให้รัฐบาลสยามต้องยินยอม "เสียดินแดน" บางส่วนไป เพื่อแลกกับเอกราชและอำนาจอธิปไตยของสยามเอาไว้ ดังนี้
๑. ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ เสียพื้นที่ที่เป็นประเทศเขมรส่วนใหญ่ และเกาะ ๖ เกาะ
๒. เสียแคว้นสิบสองจุไทย
๓. เสียฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
๔. เสียฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบาง และตรงข้ามปากเซ
๕. เสียจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ และต้องเสียดินแดนที่เรียกว่าหัวเมืองเงี้ยวและหัวเมืองตะวันออก รวมทั้งรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ และ พ.ศ. ๒๔๕๑

กล่าวโดยสรุป ประเทศเขมรอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศส ตั้งแต่ ปี พ.ศ.

๒๔๐๖ และฝรั่งเศสประกาศรับรองประเทศเขมรเป็นรัฐอิสระ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒

ประเทศ เขมรปกครองโดยขบวนการเขมรอิสระซึ่งต่อมาเป็นแนวร่วมเขมรได้จัดตั้งรัฐบาลพล พต (และเจ้านโรดม สีหนุ) ภายใต้การสนับสนุนของจีน แต่มีองค์การเขมรเสรีที่สหรัฐอเมริกาสนับสนุนเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลพล พต

พ.ศ.๒๕๐๖ ประเทศเขมรได้ฟ้องร้องไทยกรณีเขาพระวิหาร และศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวประสาทเขาพระวิหารตกเป็นของเขมร (เนื่องจากกฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ได้ทักท้วงก่อนหน้านั้น)

ในปีพ.ศ. ๒๕๑๓ นายพลลอน นอล เข้ายึดอำนาจการปกครองจากเจ้านโรดม สีหนุ จากนั้นเป็นต้นมา เริ่มมีปัญหาทางการเมืองในประเทศเขมรตลอดมา รัฐบาลลอน นอล ถูกโค่นล้มโดยพล พต-เอียง ซารี จนเกิดการกวาดล้างชนเผ่าเขมรกันเอง และกองทัพเฮง ซัมรินภายใต้การสนับสนุนของเวียดนามได้เข้ายึดประเทศเขมรได้ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ อันเป็นที่มาของชาวเขมรจำนวนมากต้องอพยพหนีตายเข้ามาในชายแดนประเทศไทย ที่ต้องจัดตั้งศูนย์อพยพ(ในดินแดนประเทศไทย) ให้ความช่วยเหลือชนชาวเขมรเหล่านั้น ร่วมกับยูเอ็นเฮสซีอาร์

ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๔ กรณีเขาพระวิหารและการรุกล้ำเขตชายแดนเป็นกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยและเขมร ซึ่งผลกระทบจากการปะทะทางทหาร (ที่เริ่มเกิดขึ้นในวันที่ ๔ ก.พ.๒๕๕๔) ขอให้ความเห็นดังนี้
๑. การรุกล้ำเขตชายแดนระหว่างประเทศเวียดนามและเขมร ไม่มีข่าวคราวการสู้รบทางทหาร เป็นสิ่งที่น่าคิด (หรือว่าเขมรเกรงในแสนยานุภาพเวียดนาม หรือ เป็นเพราะเหตุการณ์ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ )
๒. สถานการณ์ไทย-เขมร น่าจะเป็นที่ยินดีของประเทศที่ผลิตอุตสาหกรรมอาวุธสงคราม
๓. บรรลุเป้าหมายของฝรั่งยุคล่าอาณานิคม ในด้านก่อให้เกิดความบาดหมางระหว่างประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
๔. เป็นช่องทางให้ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ เข้าแทรกแซง เมื่อการปะทะได้บานปลายเป็นสงครามระหว่างไทย-เขมร ซึ่งความเป็นจริงแล้ว แสนยานุภาพทางการทหารเทียบกันไม่ได้
๕. ใช้มาตรการอื่น ๆ เพื่อให้นักการเมืองเขมร ตระหนักถึงความเป็นเพื่อนบ้านที่ควรมีมิตรภาพที่ดีต่อกัน ดังเช่นประเทศไทยกับลาว แต่สงวนสิทธิในการปกป้องเขตแดนไทยและใช้กำลังทหารเมื่อจำเป็นโดยจำกัดขอบเขต เพื่อปกป้องแผ่นดินไทย

เหตุการณ์ชนวน ๒๕๕๔
๑. พ.ศ.๒๕๐๖ ประเทศเขมรได้ฟ้องร้องไทยกรณีเขาพระวิหาร และศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวประสาทเขาพระวิหารตกเป็นของเขมร ( เนื่องจากกฎหมายปิดปากที่ไทยไม่ได้ทักท้วงก่อนหน้านั้น)
๒. เขมรเชิญไทย(รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ร่วมร่างเอ็มโอยู ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก การจัดทำสำเร็จและลงนามรับรอง เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓ เป็นภาษาไทย ภาษาเขมร ภาษาอังกฤษ
๓. ๑๘ มิ.ย. ๒๕๔๔ ไทย-เขมร ทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ว่าด้วยการอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันครั้งแรกที่นำมาซึ่งการตกลงแบ่งการ เจรจาออกเป็นสองส่วน คือ พื้นที่ทับซ้อนเหนือเส้นละติจูด ๑๑ องศาเหนือขึ้นไป ซึ่งไม่มีข้อขัดแย้งกันให้แบ่งเขตทางทะเลอย่างชัดเจนตามกฎหมายระหว่างประเทศ และพื้นที่ใต้เส้นละติจูด ๑๑ องศาเหนือลงมาให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกัน
๔. ในเดือน ก.ค.๒๕๕๑ เขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว
๕. ๑๗ ก.ค.๒๕๕๑ หลังการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ๑๐ วัน "ทหารชุดดำ" ของไทยเสริมกำลังเข้าวัดแก้วสิกขาคีรี (เขมรมีการเคลื่อนทหารกว่า ๑,๐๐๐ คน เผชิญหน้ากับทหารไทยอีกราว ๕๐๐ นาย)
๖. คณะกรรมการมรดกโลกได้ปิดการประชุมที่เมืองเซวิลล์ ประเทศสเปน ในวันที่ ๒๘ มิ.ย.๒๕๕๑ ที่ผ่านมา โดยไม่มีการนำข้อเสนอของไทย ที่ขอให้ทบทวนการพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และ
ประเทศไทยได้ขอร่วมขึ้นทะเบียนอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารส่วนที่อยู่ในประเทศไทยด้วย
๗. ทหารไทย-เขมร ปะทะกันครั้งแรกวันที่ ๑๕ ต.ค.๒๕๕๑ ทหารกัมพูชาเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ๒ คน อีก ๑ คน เสียชีวิตเวลาต่อมา ฝ่ายไทยได้รับบาดเจ็บประมาณ ๑๐ คน มี ๑ อาการสาหัสและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
๘. ๓๐ ก.ค. ๒๕๕๓ คณะกรรมการมรดกโลก ที่กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล มีมติให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารตามที่ กัมพูชาเสนอออกไปเป็นการประชุมครั้งหน้าที่ประเทศบาห์เรน ในปี ๒๕๕๔
๙. ๒๙ ธ.ค. ๒๕๕๓ เกิดกรณีเขมรจับ ๗ คนไทยที่เดินเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ที่ชาวบ้านอ้างว่ามีโฉนด ที่หลักเขต ๔๖ ศาลชั้นต้นของเขมรตัดสินคดี ๕ คนไทย ฐานหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยสั่งจำคุกคนละ ๙ เดือน ปรับ
เป็นเงิน ๑ ล้านเรียล โทษจำคุกให้รอลงอาญา ๘ เดือน เนื่องจากถูกจำคุกไปแล้ว ๑ เดือน และตัดสินจำคุก ๒ คนไทย (คนแรก๘ ปี ปรับ ๑.๘ แสนเรียล และจำคุกอีกหนึ่งคน ๖ ปี ปรับ ๑.๒ แสนเรียล) และเป็นกรณีที่เครือข่ายหัวใจคนไทยรักชาติตอบโต้ข้อกล่าวหาของเขมร ในขณะที่รัฐบาลไทยมีความเชื่อว่าคนไทยทั้ง ๗ รุกล้ำดินแดนเขมรจริง
๑๐. ๒๕ ม.ค.๒๕๕๔ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรียกร้องให้ชาวไทยออกมาต่อต้านให้รัฐบาลไทยยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่าง ราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรเขมรเจรจาเกี่ยวกับเขตแดนของสอง
ประเทศ
๑๑. ๒๖ ม.ค. ๒๕๕๔ -ปัจจุบัน ทหารเขมรที่เคลื่อนกำลังทหารและรถถังมาตรึงกำลังบริเวณชายแดนไทย-เขมร ทหารไทยเริ่มซ้อมรบและเตรียมพร้อม กระทรวงการต่างประเทศเขมรและไทยเริ่มออกแถลงการเกี่ยวกับอธิปไตย
เหนือ ชายแดน และเกิดการปะทะวันที่ ๔ ก.พ. ๒๕๕๔ บ้านเรือนของชาวบ้านไฟลุกไหม้ เนื่องจากโดนกระสุนปืนใหญ่จากทหารฝ่ายกัมพูชาที่ยิงปะทะกันกับทหารไทย ตั้งแต่เวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น.

ผลประโยชน์หรือคลั่งชาติ
๑. พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๖ ประเทศไทย : การเปิดรับ บีไอบีเอฟ ทำให้มีการนำเข้าเงินกันมโหฬาร เกิดการปั่นหุ้นการลงทุนในตลาดหุ้น ผลสรุป ประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ในพ.ศ.๒๕๔๐
มีผลกระทบไปทั่วโลก และไอเอ็มเอฟเข้ามาบังคับให้ไทยออกกฎหมาย ๑๑ ฉบับมีการยุบสถาบันการเงิน ขายรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ มีการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลไทยโดยกลุ่มทุนนิยมเข้ามามีบทบาททางการเมือง มากกว่าในสมัยใด ๆ ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันนี้
๒. ม.ค.๒๕๔๗ กรณีสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ของไทย เริ่มปะทุโหมความรุนแรงขึ้นจากการโจมตีค่ายทหารและปล้นอาวุธสงครามไป ความรุนแรงมีความต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน และเริ่มรุนแรงขึ้นในช่วงตรุษจีน
๒๕๕๔ (ในขณะที่สถานการณ์โลกเกิดปัญหาการปกครองของประเทศอียิปต์ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในรอบกว่า ๓๐ ปี)
๓. พ.ศ.๒๕๔๘ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเข้าไปลงทุนพัฒนาเกาะกงของเขมร ที่อยู่ติดกับเขตน่านน้ำและแดนดิน จ.ตราดของไทย มีการให้สัมปทานให้บริษัทน้ำมันต่าง ๆ ในแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยระหว่างเขมรกับไทย และก่อนหน้านั้นมีกลุ่มทุนของไทยเข้าไปลงทุนในเขมรเป็นจำนวนมาก
อันทำให้ เกิดความพะวักพะวงในการปรับความเข้าใจในเรื่องความถูกต้องของชายแดนไทย-เขมร รัฐบาลเขมรนำนโบบายเรื่องการปกป้องเขาพระวิหารรวมทั้งชายแดนสมัยเป็นศูนย์ อพยพเป็นของเขมรเรียกคะแนนเสียงประชาชนเขมร
รัฐบาลไทยนำนโยบายข้อตกลงเอ็มโอยูปรามไม่ให้ชาวไทยใช้ลัทธิคลั่งชาติเป็นศัตรูกับเขมรอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับผลประโยชน์การลงทุนในเขมร

วิกฤติการณ์ไทย-เขมร พ.ศ.๒๕๕๔ - พ.ศ.๒๕๕๕
๑. เกิดการปะทะโดยใช้กำลังทหารระหว่างไทย-เขมร เมื่อวันที่ ๔ ก.พ. ๒๕๕๔ เวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. บริเวณ“ภูมะเขือ” ประสาทพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ, วันที่ ๕ ก.พ.๒๕๕๔ เวลาประมาณ ๐๖.๐๐ น. ใกล้เคียงจุดเดิม,วันที่ ๖ ก.พ. เวลา ๑๘.๓๐ น.ได้เกิดการปะทะกันอีกครั้งที่บริเวณภูมะเขือ, วันที่ ๗ ก.พ.เวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. บริเวณปราสาทหินโดนตวล จ.ศรีสะเกษ, การปะทะ (ที่ยังไม่ใช่สงคราม) สงบลงหลังจาก ๗ ก.พ. โดยการเจรจาทางการเมือง กองกำลังทั้งสองฝ่ายยุติการยิงและรอคำสั่ง...จากรัฐบาลไทย-เขมร
เหตุการณ์สำคัญในปลายเดือน ก.พ. ...ยังมีต่อ...

เหตุการณ์ในอนาคตอันใกล้นี้
๒. มีการเจรจาระหว่างผู้บังคับบัญชาทางทหารเพื่อหยุดยั้งสถานการณ์การปะทะ, ฝ่ายการเมืองเขมรพยายามนำเรื่องเข้าสู่นานาชาติ ฝ่ายการเมืองไทยต้านความพยายามนี้อย่างพอเป็นพิธี ... ยังมีต่อ...
๓. ความกดดันภายในเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองของประเทศไทย มีผลทำให้ ..... ยังมีต่อ(สำคัญมาก)...
๔. การตัดสินจำคุก ๒ คนไทย จะเป็นคล้ายกรณีคุณสืบ นาคะเสถียร และโอกาสที่จะกลับไทยต้องใช้เวลามากกว่า ๖ เดือนขึ้นไป
๕. ปลายเดือน ก.พ.ถึงต้นเดือน มี.ค. กองกำลังฝ่ายไทยได้เริ่มควบคุม ...ยังมีต่อ...
"คนไทยคิดคำนึง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น