++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ถ้าหากเราเจอ "ธนบัตรชำรุด" แล้วเราควรจะทำอย่างไร ที่สำคัญธนบัตรชำรุดแล้ว ยังมีค่าอยู่หรือเปล่า?

เมื่อธนบัตรถูกใช้เปลี่ยนมือหลายครั้งหลายหน ย่อมมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น เปรอะเปื้อน สีซีดจาง หรือเปื่อยขาดจนบางส่วนหลุดหายไป หรือในบางกรณีที่เก็บรักษาธนบัตรอย่างไม่เหมาะสมอาจถูกสัตว์หรือแมลง เช่น หนู ปลวก กัดแทะจนเนื้อธนบัตรหลุดลุ่ยเสียหายกลายเป็นธนบัตรชำรุดที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ตามปกติ พระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๕๐๑ มาตรา ๑๘ บัญญัติไว้ว่า ธนบัตรชำรุดไม่เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และได้จำแนกลักษณะของธนบัตรชำรุดเป็น ๔ ลักษณะ ดังนี้


ธนบัตรครึ่งฉบับ


ธนบัตรต่อท่อนผิด


ธนบัตรขาดวิ่น


ธนบัตรลบเลือน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๕๐๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดไว้ ดังนี้

ข้อ ๑ ผู้ใดประสงค์จะขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด ให้ทำคำร้องเป็นหนังสือตามแบบ ยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมาย โดยแนบธนบัตรชำรุดไปกับคำร้องด้วย
ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายเห็นสมควรจะรับธนบัตรชำรุดไว้แลกเปลี่ยน โดยมิต้องให้ผู้ประสงค์จะขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดทำคำร้องเป็นหนังสือดังกล่าวในวรรคหนึ่งก็ได้

ข้อ ๒ ให้รับแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดตามข้อจำกัดและหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
ธนบัตรครึ่งฉบับ ให้รับแลกเปลี่ยนแต่ละครึ่งฉบับเพียงครึ่งราคาของราคาเต็มของธนบัตรนั้น
ธนบัตรต่อท่อนผิด ถ้าไม่เกินสองท่อน แต่ละท่อนเป็นธนบัตรแบบและชนิดราคาเดียวกัน ให้รับแลกเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น
ธนบัตรขาดวิ่น ให้รับแลกเปลี่ยนเฉพาะเมื่อเห็นได้ประจักษ์ว่าส่วนที่เหลืออยู่มีมากกว่าครึ่งฉบับ ให้รับแลกเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น
ธนบัตรลบเลือน ธนบัตรลบเลือน ให้รับแลกเปลี่ยนเฉพาะเมื่อการลบเลือนนั้น ไม่ถึงทำให้ไม่รู้ได้ว่าเป็นธนบัตรแท้จริง โดยให้รับเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น



เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของธนบัตรชำรุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อำนวยความสะดวกให้ประชาชน สามารถนำธนบัตรชำรุดมาแลกเปลี่ยนตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้

กรณีที่ ๑ เขียนคำร้องขอแลกเปลี่ยน
ได้แก่ ธนบัตรชำรุดครึ่งฉบับ ธนบัตรต่อท่อนผิด และธนบัตรขาดวิ่นที่มีเนื้อน้อยกว่า ๓ ใน ๕ ส่วน ผู้ขอแลกต้องเขียนคำร้องขอแลกเปลี่ยนตามแบบที่กำหนดพร้อมแนบธนบัตรชำรุดยื่นต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อนำส่งให้ ธปท. พิจารณาค่าแลกเปลี่ยน โดย ธปท. จะโอนเงินค่าแลกเปลี่ยนเข้าบัญชีออมทรัพย์ หรือส่งทางไปรษณีย์ธนาณัติให้กับผู้ขอแลกตามที่ระบุไว้ในคำร้องขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด
สำหรับธนบัตรชำรุดที่ถูกไฟไหม้เกรียม ถูกสัตว์หรือแมลงกัดแทะ หรือเปี่อยติดกันเป็นปึกเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจได้รับความเสียหายระหว่างจัดส่ง ผู้ขอแลกต้องนำธนบัตรไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อออกหลักฐานการติดต่อก่อนนำมาขอแลกที่สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย




ธนบัตรถูกไฟไหม้เกรียม




ถูกปลวกกัดแทะ




เปื่อยติดกันเป็นปึก
กรณีที่ ๒ แลกเปลี่ยนได้ทันที
ได้แก่ ธนบัตรชำรุดที่มีเนื้อธนบัตรเหลืออยู่เกิน ๓ ใน ๕ ส่วน ผู้ขอแลกสามารถยื่นและรับเงินค่าแลกเปลี่ยนได้เต็มราคาหน้าธนบัตร


> การขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดไม่เสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น <



ที่มา : http://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/Service/Pages/claims.aspx

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น