อาจารย์ มก. ศึกษาการใช้เส้นใยกาบมะพร้าวและทะลายปาล์มน้ำมัน กลายสภาพเป็นสารตัวเติมเสริมแรงเพิ่มประสิทธิภาพยางพารา คว้ารางวัลผลงานวิจัยระดับดี ในการประชุมทางวิชาการ มก.
ปัจจุบันสังคมได้ให้ความสนใจและตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมาก ขึ้น โดยหันมาใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม แต่ด้วยกระบวนการทางเคมีทางการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มีการเติมสารตัวเติม (filler) เพื่อปรับสมบัติการใช้งานของตัววัสดุนั้น ๆ ซึ่งวัสดุดังกล่าวนั้นผลิตจากพอลิเมอร์สังเคราะห์ทางเคมีที่ย่อยสลายโดย ธรรมชาติไม่ได้ และเมื่อมีกระแสรักษ์โลกจึงได้มีการศึกษาวิจัยการนำเส้นใยหรือเซลลูโลส ธรรมชาติหลายชนิดมาใช้เป็นเส้นใยเสริมแรงในพอลิเมอร์ หรือพอลิเมอร์คอมโพสิต ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นทั้งในด้านสมบัติเชิงกล มีน้ำหนักเบา ราคาถูก ความหนาแน่นต่ำ สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ ลดการสึกกร่อนของเครื่องจักรในกระบวนการขึ้นรูปและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อเทียบกับวัสดุที่เติมสารเสริมอนินทรีย์อื่น ๆ เช่น เส้นใยแก้ว เป็นต้น
ดร.รัตนา ตันฑเทอดธรรม จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร และ รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ศึกษาวิจัยเรื่องการเตรียมและสมบัติ ของวัสดุคอมโพสิตของยางธรรมชาติกับเส้นใยกาบมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเส้นใย ธรรมชาติและพลังงานทดแทน สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้ศึกษาการนำเส้นใยจากกาบมะพร้าวและทะลายปาล์มน้ำมันมาใช้เป็นสารตัว เติมในยาง เนื่องจากกาบมะพร้าวและทะลายปาล์มน้ำมันเป็นแหล่งเซลลูโลสจากธรรมชาติและ เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีจำนวนมากในประเทศไทย โดยมะพร้าวได้จากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมะพร้าวและกะทิ ส่วนปาล์มน้ำมันที่เป็นทะลายปาล์มที่ได้หลังจากการสกัดน้ำมันเพื่อใช้ใน อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันบริโภคและการผลิตไบโอดีเซลเพื่อเป็นเชื้อเพลิง ส่วนที่เหลือทิ้งจากพืชทั้งสองชนิดนี้สามารถนำมาใช้เป็นเส้นใยเซลลูโลสได้ จึงเป็นวัตถุดิบที่น่าสนใจในการนำมาเป็นสารตัวเติมและปรับสมบัติเชิงกลของ ยางพารา
“การศึกษาวิจัยได้เริ่มจากการ เตรียมคอมโพสิตยางธรรมชาติและเส้นใยจากกาบมะพร้าวและทะลายปาล์มน้ำมันเติมลง ในยางพาราธรรมชาติ โดยการนำกาบมะพร้าวมาแยกเปลือกออกและนำทะลายปาล์มน้ำมันมาต้มด้วยสารโซเดียม ไฮดรอดไซด์ 25% ของน้ำหนักวัตถุดิบอบแห้ง ต้มที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง แล้วล้างเอาสารออก นำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส จากนั้นนำไปบดละเอียดขนาด 60 mesh เพื่อเตรียมนำไปผสมในยางธรรมชาติตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
จากการศึกษาวิจัยการเติมเส้น ใยจากกาบมะพร้าวและทะลายปาล์มน้ำมันลงในยางธรรมชาติ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสมบัติเชิงกลต่าง ๆ ได้แก่ มีมอดูลัสที่ระยะยืด 300% และมีความแข็งมากขึ้น ในขณะที่ความต้านทานต่อแรงดึง และ ความต้านทานต่อการฉีกขาดลดลง คอมโพสิตยางที่มีการผสมเส้นใยจากกาบมะพร้าวและทะลายปาล์มน้ำมันนั้นใช้เวลา ในการคงรูปยางน้อยลง ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการในการผลิตที่ลดเวลาได้เป็นอย่างดี” ดร.รัตนา ตัวแทนคณะวิจัยกล่าว
ทั้งนี้ ผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับการพิจารณาให้ได้รับรางวัลระดับดี ในการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 48 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เมื่อปี 2553) และเข้ารับรางวัลจาก ศ.ดร.กำพล อดุลวิทย์ นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพิธีมอบรางวัลในการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 49 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เนื่องด้วยเป็นงานวิจัยที่ส่งเสริมการใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุ เหลือทิ้ง คือเส้นใยกาบมะพร้าวและทะลายปาล์มน้ำมัน โดยการผสมกับยางธรรมชาติเพื่อให้ได้วัสดุคอมพอสิทของยางธรรมชาติที่มีสมบัติ เชิงกลดีขึ้น และการเติมวัสดุเหลือทิ้งดังกล่าวยังช่วยลดระยะเวลาในการผลิตวัสดุคอมพอสิ ทของยางธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นงานวิจัยที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมยางของประเทศ ไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น