++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อุบาสกยอดกัลยาณมิตร

ในอดีตกาลสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มีคณะทานบดีช่วยกันรับเป็นเจ้าภาพจัดภัตตา หารถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกถึง 2 หมื่นรูป

หลังจากที่เสร็จภัตกิจแล้ว พระบรมศาสดาตรัสอนุโมทนาทานว่า

"บุคคลบางคนในโลก ทำทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นทำทาน เขาย่อมได้โภคทรัพย์สมบัติ แต่ไม่ได้บริวารสมบัติในสถานที่ที่ตนเกิด

บุคคลบางคนในโลก ไม่ทำทานด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นทำทาน เขาย่อมได้บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้โภคทรัพย์สมบัติในสถานที่ที่ตนเกิด

บุคคลบางคนในโลก ทำทานด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นทำทาน เขาย่อมได้ทั้งโภคทรัพย์สมบัติ และบริวารสมบัติในสถานที่ที่ตนเกิด

บัณฑิตคนหนึ่งได้ฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธา มีหัวใจของความเป็นกัลยาณมิตร คิดจะทำหน้าที่กัลยาณมิตร เพราะปรารถนาสมบัติทั้งสอง จึงออกทำหน้าที่กัลยาณมิตรชักชวนหมู่ญาติให้ร่วมกันรับเป็นเจ้าภาพถวาย ภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสาวก 2 หมื่นรูป หมู่ญาติทั้งหลายต่างรับบุญเต็มกำลังของตน คนละ 10 รูปบ้าง 20 รูปบ้าง 100 รูปบ้าง 500 รูปบ้าง เต็มกำลังศรัทธาของตน

บัณฑิตกัลยาณมิตรได้ทำหน้าที่ด้วยความร่าเริงมาตลอด จนได้มาพบกับมหาทุคตะผู้ยากจนเข็ญใจคนหนึ่ง ด้วยมหากรุณาจึงได้เข้าไปเชิญชวนมหาทุคตะให้ร่วมรับเป็นเจ้าภาพบ้าง มหาทุคตะก็ตอบว่า

"การถวายภัตตาหารพระเป็นเรื่องของคนมีทรัพย์ สำหรับผมแม้ข้าวจะเลี้ยงท้องให้อิ่มในวันพรุ่งนี้ยังไม่มีเลย ผมเป็นคนหาเช้ากินค่ำ จะให้ผมถวายภัตตาหารพระได้อย่างไร"

กัลยาณมิตรมีจิตใจที่เปี่ยมด้วยความปรารถนาดี และมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดในการชี้แนะ จึงได้กล่าวตอบไปว่า

"เพื่อนยาก คนทั่วไปกินอาหารอย่างดี นุ่งผ้าประณีต มีบ้านเรือนสวยงามใหญ่โต ส่วนท่าน รับจ้างทำงานตลอดทั้งวัน แม้อาหารที่พอจะประทังชีวิตยังไม่มี ท่านไม่ได้คิดเลยหรือว่า เป็นเพราะไม่ได้สะสมทานกุศลมาในอดีตนั่นเอง"

มหาทุคตะยืนนิ่งด้วยความสลดใจ จึงตัดสินใจรับเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารพระ 1 รูป แล้วรีบขวนขวายเร่งทำงาน เพื่อให้ได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นพอสำหรับเลี้ยงครอบครัวของตนเองและถวายพระอีก 1 รูป

ครั้นถึงวันรุ่งขึ้น บัณฑิตกัลยาณมิตรนิมนต์พระไปตามบัญชีเจ้าภาพที่บันทึกไว้จนหมด มหาทุคตะมาหาบัณฑิตกัลยาณมิตรเพื่อรับพระไปถวายภัตตาหาร ปรากฏว่าบัณฑิตกัลยาณมิตรลืมบันทึกการเป็นเจ้าภาพของมหาทุคตะ มหาทุคตะราวกับถูกทำร้ายที่ท้องด้วยหอก ร้องไห้สองมือปิดหน้า น้ำตาไหลพราก อุทานว่า

"ท่านชวนเราแล้วเมื่อวาน เราและภรรยารับจ้างทำงานตลอดทั้งวันเพื่อค่าจ้างวันนี้ เที่ยวจัดเตรียมภัตตาหารแต่เช้าตรู่ ขอพระให้แก่เราสักรูปเถิด"

บัณฑิตกัลยาณมิตรเกิดความละอายใจ เพราะว่าพระทั้งหมดได้นิมนต์ไปตามเจ้าภาพจนหมด แล้วนึกถึงหนทางสุดท้าย จึงแนะนำให้มหาทุคตะไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระคันธกุฎี ซึ่งรายล้อมด้วยพระราชาและราชกุมารทั้งหลาย ที่รอรับบาตรของพระบรมศาสดาอยู่ มหาทุคตะเดินไปที่พระคันธกุฎี ผ่านไปในท่ามกลางพระราชาและราชกุมาร ก็ถูกทักท้วงขึ้นว่า นี้ยังไม่ใช่เวลาที่เจ้าจะมารับเดนอาหาร เนื่องจากเคยเห็นมหาทุคตะกินเศษอาหารในวันก่อน ๆ

มหาทุคตะซบศีรษะลงที่ธรณีประตูพระคันธกุฎี กราบทูลว่า

"ผู้ที่ยากจนกว่าข้าพระองค์ในเมืองนี้ไม่มี ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"

พระบรมศาสดาทรงเปิดพระทวารพระคันธกุฎี ทรงนำบาตรประทานในมือของมหาทุคตะ เขาเหมือนได้สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าแผ่นดินและราชกุมารต่างทรงแลดูพระพักตร์ซึ่งกันและกัน แม้พระราชาจะขอซื้อบาตรด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง มหาทุคตะก็ไม่ยอมมอบบาตรของพระบรมศาสดาให้ เขาเดินนำพระบรมศาสดาไปถึงกระท่อมของตนแล้วจึงถวายภัตตาหาร

เมื่อพระบรมศาสดาเสร็จภัตกิจแล้ว ทรงทำการอนุโมทนา พอพระองค์เสด็จลุกจากอาสนะ ทันใดนั้นฝนรัตนะทั้ง 7 ประการ ได้ตกลงมาจากอากาศเต็มไปทั่วเรือนของมหาทุคตะ พระราชาตรัสสั่งให้ขนทรัพย์มากองที่ลานหน้าพระราชวัง ในที่สุดก็แต่งตั้งให้มหาทุคตะเป็นเศรษฐีประจำเมือง ตั้งแต่นั้นมาเขาทำบุญตลอดอายุ ครั้นตายแล้วได้ไปบังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติอยู่ตลอดหนึ่งพุทธันดร

ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าพระสมณโคดมของเรานี้ มหาทุคตะบังเกิดในตระกูลอุปัฏฐากของพระสารีบุตร พออายุได้ 7 ขวบมีศรัทธาออกบวช และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในกาลต่อมาไม่นาน ด้วยบุญที่ได้สั่งสมมาดีแล้ว เพราะอาศัยจิตใจที่เปี่ยมด้วยความปรารถนาดีของบัณฑิตผู้เป็นกัลยาณมิตร ที่ได้ชักชวนเขาไว้ในกาลก่อน ดังนั้นจึงมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า

การได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ก็ด้วยอานุภาพของบุญ

การเข้าถึงความเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ก็ด้วยอานุภาพของบุญ

การเข้าถึงความเป็นกษัตริย์หรือพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ด้วยอานุภาพของบุญ

แม้การเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ด้วยอำนาจของบุญ

บุญจึงเป็นต้นเหตุแห่งความสุข และความสำเร็จตามความปรารถนาทั้งปวง

ลูกสะใภ้ยอดกัลยาณมิตร

ในสมัยพุทธกาล ณ เมืองอุคคะ มีเศรษฐีท่านหนึ่งชื่อว่า อุคคะ เป็นเพื่อนสนิทของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนหนังสือด้วย กัน วันหนึ่งท่านทั้งสองได้ตกลงกันว่า ภายภาคหน้าเมื่อเราทั้งสองเจริญวัยมีครอบครัวและมีบุตรธิดาแล้ว หากผู้ใดขอลูกสาวเพื่อลูกชายตน ผู้นั้นก็ต้องให้ลูกสาว เมื่อทั้งสองเรียนจบแล้วต่างก็ได้แยกย้ายกันไปครองตำแหน่งเศรษฐีอยู่ในเมือง ของตน

ต่อมาอุคคเศรษฐีได้เดินทางไปยังเมืองสาวัตถีด้วยเกวียน 500 เล่ม เพื่อทำการค้าขาย พออนาถบิณฑิกเศรษฐีทราบข่าวการมาของสหาย จึงเรียกนางจูฬสุภัททาผู้เป็นธิดาของตนมาแล้วสั่งว่า "ลูกเอ๋ย บิดาของเจ้าชื่ออุคคเศรษฐี ได้เดินทางมายังเมืองของเราแล้ว กิจที่สมควรทำแก่เขา พ่อขอมอบให้เป็นหน้าที่ของลูกก็แล้วกัน" นางรับคำแล้วก็ได้จัดโภชนะรสเลิศด้วยมือของตนเอง แล้วยังได้ตระเตรียมสิ่งของต่าง ๆ มีพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ เป็นต้น ไว้ต้อนรับ เวลาที่ท่านเศรษฐีนั้นบริโภค ก็จัดแจงน้ำสำหรับอาบไว้คอย พอท่านเศรษฐีไปอาบน้ำ ก็ทำภารกิจทุกอย่างจนสำเร็จเรียบร้อยไม่มีที่ติเตียน

อุคคเศรษฐีได้เห็นกิริยามารยาท และการเอาใจใส่ในหน้าที่การงานของนางแล้ว ก็เกิดความพออกพอใจยิ่งนัก จึงได้นั่งสนทนากับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นสหาย ปรารภถึงความหลังครั้งยังเป็นหนุ่ม และกติกาที่ได้ตกลงกันเอาไว้ ก็เลยสู่ขอนางจูฬสุภัททาให้เป็นภรรยาของบุตรชายตน โดยปกติแล้วอุคคเศรษฐีเป็นมิจฉาทิฏฐิมีความเห็นผิด ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

ดังนั้นท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงนำเรื่องนี้เข้าไปกราบทูลให้พระสัมมาสัมพุทธ เจ้าทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งการบรรลุธรรมของอุคคเศรษฐีจึงทรงอนุญาต ท่านเศรษฐีก็กลับมาบอกภรรยา แล้วก็ได้ให้คำตอบแก่อุคคเศรษฐี ในที่สุดก็ได้จัดงานดุจงานวิวาห์ที่ธนัญชัยเศรษฐีจัดให้นางวิสาขาผู้เป็น ธิดา

ในวันที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีจะส่งลูกสาวไปนั้น ได้ถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์โดยมีพระพุทธองค์เป็นประมุขแล้วได้ส่งธิดาไปด้วย สักการะอันยิ่งใหญ่ มหาชนพร้อมกับตระกูลของสามีในเมืองอุคคนครก็ได้ทำการต้อนรับนาง เมื่อนางจูฬสุภัททาไปถึง นางก็ได้แสดงตนแก่ชาวนครทั้งสิ้นเหมือนนางวิสาขา ทำสิริสมบัติของตนให้ปรากฏต่อสายตาชาวเมือง โดย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น