ผู้เขียน: Peter
ใ นโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่นักวิชาการบางคนมองว่า การปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัวไปเรื่อยๆ โดยปราศจากการควบคุม แล้วปล่อยให้กลไกการตลาดไปเพิ่มต้นทุนให้กับผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ที่จะเพิ่มราคาไปตามส่วน ในขณะที่หาได้มองถึงอัตราการเติบโตของผู้บริโภคว่าเกิดสมดุลหรือไม่ ราคาสินค้าที่โตไปตามส่วนของราคาน้ำมันจะทำให้ผู้บริโภคในสุดท้ายไม่สามารถท ี่จะก้าวตามได้ทัน และสุดท้ายจะเกิดปัญหาการชะงักงันของเศรษฐกิจเช่นที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้ เหตุเพราะอัตราการขับเคลื่อนของวงจรพลังงานนั้นจะเป็นอัตราส่วนผกผันกับการข ับเคลื่อนของวงจรอื่น กล่าวคือ หากวงจรพลังงานเติบโต ( ขับเคลื่อนเร็วขึ้น ด้วยอัตราเร่งที่สูงเกินไป ส่งผลต่อผลผลิตมวลรวมโตขึ้นมาก ) จะส่งผลกดดันให้วงจรเศรษฐกิจภาคอื่นๆ ( อุตสาหกรรม พานิชกรรม เกษตรกรรม ฯลฯ ) ลดขนาดลงไป หากมีการฝืนโดยการให้วงจรอื่นเติบโตตามไปด้วย ด้วยการขึ้นราคาผลผลิตของตน เพื่อสร้างผลผลิตมวลรวมให้เติบโตตามกันไป ในขณะที่ไม่อาจสนองตอบต่อด้านแรงงานและการเกษตร ให้เติบโตไปในอัตราเร่งที่เสมอเหมือนกัน จะก่อให้เกิดการสะดุดหยุดลงของการบริโภค รัฐจึงมีภาระในอันที่จะต้องเข้าไปบริหารจัดการกับเรื่องของราคาน้ำมันที่จะส ่งผลกระทบต่อวงจรภาคอื่นๆ รัฐจึงไม่อาจผลักภาระที่มองว่าอาจจะสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาล เพราะมันจะส่งผลต่อส่วนอื่นๆ ในอัตราที่มากกว่า
http://www2.manager.co.th/mwebboard/listWebboard.aspx?Mbrowse=68
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น