++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552

การศึกษาคาริโอไทป์ของชะนีมงกุฎ (Hylobates pileatus) ด้วยเทคนิคการย้อมสีแบบธรรมดา

A study on karyotype of pileated gibbon (Hylobates pileatus) by conventional staining and G-banding

ประวีรณ์ สุพรรณอ่วม (Praween Supanuam)*

ดร.สัมภาษณ์ คุณสุข (Dr.Sumpars Khunsook)**

อลงกลด แทนออมทอง (Alongkoad Tanomtong)****

บทคัดย่อ

การศึกษาพันธุศาสตร์เซลล์ของชะนีมงกุฎจากสวนสัตว์นครราชสีมา เตรียมโครโมโซมจากการเพาะเลี้ยงเซลล์เม็ดเลือดขาวจากชะนีมงกุฎเพศผู้และเพศเมียอย่างละ 1 ตัว เก็บเกี่ยวเซลล์ด้วยเทคนิคโคลชิซิน-ไฮโปโทนิค-ฟิกเซซั่น-แอร์ดรายอิง ย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดา และแถบสีแบบจี พบว่าชะนีมงกุฎมีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์ เท่ากับ 44 แท่ง มีจำนวนโครโมโซมพื้นฐานเท่ากับ 88 ในเพศเมียและเพศผู้ โครโมโซมร่างกายประกอบด้วยโครโมโซมชนิดเมทาเซนทริกขนาดใหญ่ 12 แท่ง เมทาเซนทริกขนาดกลาง 6 แท่ง ซับเมทาเซนทริกขนาดกลาง 2 แท่ง อะโคร เซนทริกขนาดกลาง 2 แท่ง เมทาเซนทริกขนาดเล็ก 12 แท่ง และซับเมทาเซนทริกขนาดเล็ก 8 แท่ง โครโมโซมคู่ที่ 15 จัดเป็น satellite chromosome โครโมโซมเอ็กซ์เป็นชนิดซับเมทาเซนทริกขนาดกลาง และโครโมโซมวายเป็นชนิดอะโครเซนทริกขนาดเล็กมากที่สุด และทำอิดิโอแกรมแถบโครโมโซมมาตรฐาน โครโมโซมระยะเมทาเฟสพบแถบ 239 แถบ การศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ในการช่วยในการอนุกรมวิธาน ขยายพันธุ์ การจัดการอนุรักษ์ การศึกษาวิวัฒนาการของโครโมโซม และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาพันธุศาสตร์ด้านอื่น ๆ

คำสำคัญ : ชะนีมงกุฎ พันธุศาสตร์เซลล์ โครโมโซม

Key wbrds : pileated gibbon (Hylobates pileatus), cytogenetics, chromosome


ABSTRACT

Cytogenetics of the pileated gibbon (Hylobates pileatus) Nakhon Ratchasima Zoo was studied. Blood sample were taken from male and female gibbons. After lymphocyte culture, the mitotic chromosome preparation was done by air-dry method followed by conventional staining and G-banding. The results show that diploid chromosome number was 2n=44, and the fundamental number (NF) were 88 in both female and male. The autosomes consist of 12 large metacentric, 6 medium metacentric, 2 medium submetacentric, 2 medium acrocentric, 12 small metacentric and 8 small submetacentric chromosomes. In addition, a pair of the long arm of chromosome 15 showed clearly observable satellite chromosome. The X chromosome was the medium submetacentric and the Y chromosome was a smallest acrocentric chromosome. idiogram represents banding pattern at the metaphase chromosome which are 239 bands. These results are useful for future studies of taxonomy, breeding, conservation, chromosome evolution and basic genetics information in this animal.

* นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาตรมหาบัณฑิตภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

** อาจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

1 ความคิดเห็น: