|
1) การจัดการระบบชลประทานทั่วประเทศ อย่างเป็นระบบ (เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง )
2) การประกาศ พรบ กำหนดาคาที่ดิน ( เพื่อดึงราคาที่ดินในเขตพื้นที่เกษตรกรรมให้ลดลงมาในระดับต่ำ ) จากนั้นต้องมี พรบ ควบคุมการใช้ที่ดิน ( เพื่อกำหนดห้ามใช้ที่ดินทางการเกษตร เพื่อการอย่างอื่น จะทำให้ราคาที่ดินไม่อาจปั่นสูงขึ้น ) จากนั้นจึงออก พรบ เวนคืนที่ดินที่เป็นพทื้นที่เกษตรกรรม เพื่อนำมาจัดสรรให้เกษตรกรใช้ทำกิน ด้วยเงื่อนไขห้ามจำหน่าย เว้นแต่โอนกันทางมรดก ( เป็นการแก้ปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร )
3) ให้กรมวิชาการเกษตร และ กรมพัฒนาที่ดิน เข้าไปให้ความรู้ต่อเกษตรกร เพื่อปรับปรุงที่ดิน และเลิกใช้เคมีทางการเกษตร หันมาใช้ปู๋ยชีวภาพ ตลอดจนยาไล่แมลงจากพืชไร่อื่น อาทิเช่น สะเดา ฯลฯ จากนั้นให้นักการเงิน การบัญชีเข้าไปให้ความรู้ในการจัดสรรงบการเงิน และการบัญชี เพื่อจัดการในการบริหารที่เหมาะสม
4) ตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาสินค้าทางการเกษตร เพื่อความเป็นธรรม โดยตั้งจากตัวแทนฝ่ายรัฐ ฝ่ายเกษตรกร ฝ่ายผู้ผลิต และผู้จำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก ( เพื่อสร้างราคาสินค้าเกษตรที่เป็นธรรม ให้อิงกับราคาตลาดเฉลี่ยในทุกภาคส่วน ( ใช้ตัวอย่างจาก คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล )
5) จัดเก็บเงินค่า premium จากสินค้าการเกษตรที่ส่งออก เพื่อนำมาเป็นกองทุนการเกษตร ( เพื่อนำมาช่วยเหลือเกษตรกร ดังตัวอย่างของ กองทุนสวนยาง )
6) จัดสรรสภาพคล่องทางการเงินของระบบ ก็จะช่วยให้วงจรสามารถขับเคลื่อนไปได้
จากขั้นตอนเหล่านี้ รัฐจะเหลือเพียงภาระในการ ร่วมกับเอกชนเพื่อขับเคลื่อนทางการตลาด และผลักดันราคาสินค้าเกษตรขึ้น ก็จะแก้ปัญหาทางการเกษตรได้อย่างครบวงจร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น